หลักการวิพากษ์เพื่อการเรียนรู้


ปัจจุบันในสังคมเรามีนักวิพากษ์เเละนักเคลื่อนไหวจำนวนมาก เพื่อเป็น Actor กระตุ้นสังคมให้เคลื่อนไปอย่างสมดุล ซึ่งในด้านการศึกษาเราก็มีนักวิพากษ์จำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะครู เพราะครูในระบบการศึกษาแบบเดิมยังเป็นครูนักวิพากษ์ เเม้กระทั่งระบบการผลิตครู ก็เป็นระบบการผลิตครูนักวิพากษ์ นั่นหมายถึง การตัดสินเพื่อเเบ่งเเยก ก็อาจมิใช่ต่อเติมเพื่อการเรียนรู้เเต่อย่างใด

“ใช่เเล้วล่ะ” เรากำลังติดบทบาทว่า “ครูจะต้องเป็นนักตัดสิน เเทนที่จะเข้าในว่าครู คือ นักเรียนรู้” โดยเฉพาะเวลาถามนักเรียน ครูจะถามเพื่อหาจุดอ่อน ข้อผิดพลาด จนลืมไปว่า เราต้องเป็นนักเรียนรู้ ที่จะถามเพื่อสร้างการเรียนรู้ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ในการถามเรื่องโปรเจคงาน ของผู้เรียนเช่นเดียวกัน ครูมักจะถามว่า ทำๆไม ทำเพื่ออะไร โดยไม่ได้ถามว่า เพราะอะไรถึงทำงานนี้ มีวิธีการทำอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้าง จัดการปัญหานั้นอย่างไร เเละได้เรียนรู้อะไรบ้างจากปัญหาเเละการลงมือทำ ซึ่งหลักวิพากษ์เพื่อการเรียนรู้ควรคำนึงถึง สิ่งต่อไปนี้

  • ประเด็นของเรื่อง คือ อะไร ขอบเขตเนื้อหากว้างเเค่ไหน เราก็ถามในขอบเขตนั้น
  • ถามเน้นให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองหรือถอดบทเรียนตนเองว่า ได้เรียนรู้อะไร พัฒนาตนเองเรื่องอะไร ตนเองเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างจากการลงมือทำ
  • ถามเน้นกระบวนการหรือวิธีการของนักเรียน ในแบบข้อค้นพบใหม่(Discovery learning) เพราะกระบวนการสำคัญกว่าผลลัพธ์
  • ถามให้เชื่อมโยงกับกระบวนทัศน์แบบองค์รวม ความเชื่อมโยง เเละการไม่แบ่งแยก เช่น จากสิ่งที่หนูทำคิดว่ามันจะนำไปสู่อะไรบ้าง คิดว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมันเกิดผลต่อตนเอง ชุมชน เเละสังคมอย่างไรบ้าง
  • ถามให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ชื่นชมในสิ่งที่เขาทำว่าเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆโดนเฉพาะมิติประโยชน์นิยม เช่น คนส่วนใหญ่ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ สิ่งเเวดล้อม เเละวัฒนธรรมเปลี่ยนอย่างไร เป็นต้น
  • ถามให้ตระหนักถึงภายในแบบปัจเจกว่า จากการลงมือทำเราได้ทักษะภายในเรื่องอะไรบ้าง เเละเป็นอย่างไร เช่น การควบคุมอารมณ์ การเข้าใจเพื่อน เข้าใจสังคม โลก เเละจิต

ข้อควรระวัง คือ เรามักพยายามถามเพื่อหาจุดอ่อน เช่น เธอทำแบบนี้มันไม่ถูกมันผิด แบบนี้มันไม่เกิดประโยชน์ เเละแบบนี้มันทำไม่ได้หรอก เป็นต้น

ครูที่โค้ช ควรเข้าใจเรื่องการวิพากษ์เพื่อการเรียนรู้อย่างเข้าใจ ยิ่งเป็นนักศึกษาครูยิ่งต้องเข้าใจ

หมายเลขบันทึก: 621364เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2017 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2017 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท