สังคมคุณธรรมนำปัญญา : 1. โอกาสอันเกิดจากวิกฤต


         เรามองวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ว่าเป็นเรื่องราวของความทุกข์ยากร่วมกันของคนในสังคมไทย   เราต้องเป็นหนี้เป็นสินนับล้านล้านบาท

         แต่บัดนี้  เวลาผ่านไป 9 ปี   หลังการต่อสู้ดิ้นรนและมาตรการโครงการต่าง ๆ มากมาย  เช่น
      - โครงการบัณฑิตอาสา (2541 - 2542)
      - โครงการกองทุนเพื่อสังคม (2543 - 2545)
      - โครงการทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง
      - โครงการวิจัยเศรษฐกิจชุมชน
      - โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ - ท้องถิ่นน่าอยู่
      - โครงการถักทอเครือข่ายพลังชุมชน - พลังแผ่นดิน (ปปส.)
      - โครงการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม (สศช.)
      - โครงการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.)
      - โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (สปสช.)
      - โครงการสร้างตัวชี้วัดเมืองไทยแข็งแรง  คนไทยแข็งแรง
      - โครงการนำร่อง ศตจ. 12 จังหวัด (สศช., มท. และ สกว.)
      - และโครงการอื่น ๆ และกิจกรรมที่ริเริ่มกันเองในท้องถิ่นต่าง ๆ อีกมากมาย

         เรากลับมองเห็นว่า  การล่มสลายทางเศรษฐกิจดังกล่าว  กลายเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นพลังขับเคลื่อนขบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน - ท้องถิ่น   สร้างทุนทางสังคมเพิ่มขึ้นจากทุนเดิมที่มีอยู่แล้ว

ที่สำคัญได้เกิดพลัง
      - ผู้นำการเปลี่ยนแปลง  พัฒนาชุมชน - ท้องถิ่นขึ้นจากฐานทุนสังคม - วัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว
      - ขีดความสามารถในการต้านทานกระแสครอบงำจากภายนอก
      - ขีดความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกัน   โดยการรวมตัวกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในท้องถิ่น   เกิดความมั่นใจตนเองในการเรียนรู้จากความสำเร็จเล็ก ๆ ในการรวมตัวกันแก้ปัญหาของท้องถิ่น
      - มีนักวิชาการ  สถาบันการศึกษา  เข้าไปร่วมเรียนรู้กับชาวบ้านมากขึ้น   ร่วมกันต่อยอดความรู้จากการปฏิบัติของชาวบ้านมากขึ้น

         บัดนี้  เวลาผ่านไป 9 ปี   เศรษฐกิจฟื้นตัวและสังคมไทยมีความเข้มแข็งด้านทุนปัญญา  ทุนสังคม - วัฒนธรรมมากขึ้น   กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของสังคมไทย

วิจารณ์  พานิช
 19 พ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 62108เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเป็นบัณฑิตรุ่น  IMF คนหนึ่งครับ รู้ซึ้งดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจมันเลวร้ายขนาดไหน ปัจจุบันนี้ผมเป็นข้าราชการครูครับ ผมใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงครับ

"วิกฤตชีวิต เป็นภาวะที่คนเราเผชิญกับปัญหาที่ไม่สามารถจัดการได้ และความพยายามใช้วิธีแก้ปัญหา ที่คุ้นเคยไม่ประสบผล ทำให้ชีวิตเสียสมดุลไปชั่วขณะ" คนเราทุกคนมีโอกาสเผชิญกับวิกฤตชีวิตได้เสมอ โดยเฉพาะในสังคมยุคปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ที่นำไปสู่วิกฤตชีวิต จำแนกเป็น 2 ประการ คือ 1. เกิดจากเหตุภายนอก ได้แก่ ปัญหายุ่งยากที่อยู่นอกเหนือการควบคุม มากระทบชีวิต ก่อให้เกิดอุปสรรคในรูปแบบต่างๆ เช่น คนรักเสียชีวิต ตกงาน เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ลูกติดยาเสพติด ประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ตลอดจนวิกฤตการเมืองและสังคม เป็นต้น 2. เกิดจากตนเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงตามวัย ที่ต้องปรับตัวและจัดการชีวิตด้วยวิธีการใหม่ ที่เหมาะสมกว่าเดิม เช่น คนที่ก้าวเข้าสู่วัยรุ่น คนวัยเกษียณ เป็นต้น เสริมสุขภาพจิตในวิกฤตเศรษฐกิจ ปรับ 4 สู้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ 1. ปรับอารมณ์ ไม่ท้อแท้สิ้นหวัง 2. ปรับความคิด (+) มองด้านดี คือ ช่วยให้เราประหยัด 3. ปรับการกระทำ ลดรายจ่าย หาทางเพิ่มรายได้ 4. ปรับเป้าหมายชีวิต ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความสุขอย่างพอเพียง เติม 3 1. เติมศรัทธา เศรษฐกิจย่อมมีขึ้นมีลง 2. เติมมิตร ปรึกษาคนในครอบครัว 3. เติมจิตใจให้กว้าง คนอื่นก็ลำบากเช่นกัน

ว่างๆมาเล่นเกมส์หรือดูทีวีออนไลน์แก้เครียดกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท