ได้ฟังเรื่อง"กฎหมายไทยกับการวิจัยในมนุษย์"


เรื่องการเคารพในตัวบุคคลนั้นนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ในทุกคน เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้น

นับเป็นความโชคดีของตัวเองมากที่มีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารที่ใหม่ๆเกี่ยวกับงานวิจัยเสมอ เช่นในวันนี้ช่วงเช้าได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการพูดคุยจากนักกฎหมายและนิติกรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มาคแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อเรื่อง "กฎหมายไทยกับการวิจัยในมนุษย์" ซึ่งนับเป็นเรื่องที่นักวิจัยทุกท่านจำเป็นต้องมีการศึกษากันให้ดีก่อน เพื่อจะได้ไม่มีปัญหากรณีพิพาทขึ้น หรือมีก็หาทางแก้ไขได้อย่างท่วงทัน

ทำไมต้องนำเรื่องกฎหมายมาใช้กับงานวิจัยโดยเฉพาะในมนุษย์ เพราะปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าได้เกิดการวิวัฒนาการไปมาก คนเริ่มมีการศึกษาเรียนรู้กันมากขึ้น ทั้งทางเทคโนโลยีและข้อกฎหมาย บางครั้งการพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง อาจจะต้องมีการทดลองจริงกับมนุษย์ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้งานจริง และจากกรณีนี้เองทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างนักวิจัยกับผู้ที่เป็นคนถูกวิจัยในทางกฎหมาย

สิ่งแรกที่ได้นำมาพูดคุยคือเรื่องของหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐาน (Basic ethical principle)ซึ่งเขียนโดย รศ.ดร.นิมิตร มรกต ในเอกสาร "จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์" มีหลักอยู่ ๓ ข้อคือ ๑)การเคารพในบุคคล ๒) การให้คุณประโยชน์ และ ๓) การให้ความเป็นธรรม นับเป็น ๓ หัวข้อที่ครอบคลุมเรื่องของการวิจัยในมนุษย์เป็นอย่างมากหากนำแต่ละข้อนั้นมาตีความ

เรื่องการเคารพในตัวบุคคลนั้นนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ในทุกคน เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้น ทำให้เกิดในส่วนของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แม้กระทั่งในบ้านเมืองเราก็มีการกำหนดสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นกัน เมื่อมีในรัฐธรรมนูญกฎหมายย่อยอื่นๆก็ต้องมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเช่นกัน

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะมีประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา ซึ่งก็จะได้รับโทษและมีขั้นตอนการดำเนินการต่างกัน

สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยกับมนุษย์นั้นอาจจะต้องมีการขอความยินยอมก่อนเพื่อป้องกันเรื่องของการผิดกฎหมาย และผู้วิจัยต้องมีสัจจะ คือต้องรักษาความลับของผู้ถูกวิจัยไม่เช่นนั้นก็จะผิดกฎหมาย

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 62104เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท