เยี่ยมโรงงานผลิตอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล (digital imaging system)


คุณภาพอย่างทุกที่ อยู่ที่ตัวเรา

สวัสดีครับ

วันนี้... ขอนำเสนอเรื่องราวบางส่วนเมื่อมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมดูโรงงานผลิตอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล (digital imaging system) ซึ่งมีโอกาสได้เห็นขั้นตอนการผลิต (แต่ไม่สามารถถ่ายภาพประกอบการนำเสนอได้) นำมาแลกเปลี่ยน รวมถึงเตรียมเอกสารไว้ใช้ประกอบการเรียนการสอน


อุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล (digital radiography; DR)

ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน จะเรียกแตกต่างกันตามระบบการแปลงรังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้นในชั้นสารที่รับรังสี (x-ray sensitive layer) ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบ ด้วยกัน

ระบบที่ 1 ระบบการแปลงสัญญาณทางอ้อม (Indirect conversion systems) หมายถึง การแปลงรังสีเอกซ์ให้เปลี่ยนมาเป็นประจุ มีการกระทำมากกว่า 1 รูปแบบ โดยระบบนี้ เริ่มจาก รังสีเอกซ์ที่พุ่งเข้ามากระทบชั้นสารที่มีความไวต่อรังสีเอกซ์ ซึ่งภายในชั้นสารประเภทนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงรังสีเอกซ์ให้เป็นแสง (light) จากนั้นจะมีชั้นของอุปกรณ์อีกส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงแสงสว่างดังกล่าวให้เป็นประจุไฟฟ้า ส่งเข้าสู่แผ่นแปลงสัญญาณ (TFT ; thin-film-transistor) เปลี่ยนเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่ขบวนการสร้างภาพดิจิทัลต่อไป




ระบบที่ 2 ระบบการแปลงสัญญาณทางตรง (Direct conversion systems) หมายถึง การแปลงรังสีเอกซ์ให้เปลี่ยนมาเป็นประจุ เพียง 1 รูปแบบ โดยระบบนี้ เริ่มจาก รังสีที่พุ่งเข้ามากระทบชั้นสารที่มีความไวต่อรังสีเอกซ์ ซึ่งภายในชั้นประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงรังสีเอกซ์ให้เป็นประจุไฟฟ้า แล้วส่งประจุไฟฟ้าดังกล่าวให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่ขบวนการสร้างภาพดิจิทัลต่อไป




ณ โรงงานแห่งนี้มีการผลิตอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล ที่เริ่มจาก การนำชั้นสารที่มีความไวต่อรังสีเอกซ์ มาเชื่อมต่อเข้ากับ จากนั้นจะต่อวงจรไฟฟ้า (ซึ่งมีการทำ เพื่อจำหน่าย ทั้ง 2 ระบบ) เคลือบสารป้องกัน แล้วนำบรรจุในกรอบวัสดุที่ทำด้วยแมกนีเซียมอัลลอยด์ ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรง ช่วยป้องกันแรงกระแทกที่อาจเกิดกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ขณะใช้งาน




เมื่อประกอบอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล เสร็จเรียบร้อย ก็... จะเข้าสู่ขบวนการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ซึ่งมีการทดสอบขั้นตอน หลายรายการตรวจ เช่น การประเมินตรวจสอบด้วยสายตา การทดสอบในห้องฉายรังสีเอกซ์ด้วยแบบจำลองชนิดต่างๆในห้องปฏิบัติการ การตรวจสอบแรงกดทับ เป็นต้น


การเชื่อมต่อชั้นสารที่มีความไวต่อรังสีเอกซ์และแผ่น TFT ที่ต่อสายสัญญาณนั้น ทำให้ห้องปฏิบัติการที่มิดชิด ป้องกันฝุ่นละออง




ขนาดของ TFT แต่ละชิ้นมีขนาด (pixel size) ระมาณ 100-200 ไมโครเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กมา นำมาเรียงเป็นแถวและแนว ให้มีขนาดตามขนาดที่ใช้งาน เช่น 10x12 นิ้ว หรือ 14x17 นิ้ว หรือ 17x17 นิ้ว เป็นต้น



ปัญหาการชำรุดอย่างหนึ่ง

อุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล ตกหล่น กระทบ กระเทือน กระแทก ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้

ได้มีการส่งอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล กลับมาโรงงาน เพื่อซ่อมแซมแก้ไข ตรวจสอบและประเมินซ้ำ



ตัวอย่าง การตรวจสอบแรงกดทับ

โดยใช้แผ่นกลม กดทับบริเวณต่างๆ เช่น ตรง ขอบบน-ล่าง ด้านซ้าย-ขวาของแผ่นอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล โดยใช้น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม แล้วแสดงภาพระหว่างใช้แรงกดทับ






ตัวอย่าง การตรวจการกระเทือน

โดยมีแผ่นโลหะดันอุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล ให้สูงขึ้นประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วปล่อยให้ตกกระทบพื้น ทำเป็นร้อยละครั้ง แล้วนำมาทดสอบการแสดงภาพ








ตัวอย่าง การทดสอบแรงกระแทก

โดยปล่อยให้อุปกรณ์สร้างภาพทางรังสีระบบดิจิทัล ตกจะความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วนำมาทดสอบการแสดงภาพ










นี่... เป็นบางส่วนของการผลิต การตรวจสอบประเมินคุณภาพเครื่องมือ

สำหรับ รังสีเทคนิค การตรวจสอบ การประเมินด้วยสายตา ด้วยการตรวจสอบในแบบจำลอง การควบคุมและประกันคุณภาพในแต่ละวัน เดือน ปี ก็ยังมีความจำเป็น ที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

คุณภาพอย่างทุกที่ อยู่ที่ตัวเรา ด้วยนะครับ





หมายเลขบันทึก: 620514เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2016 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2016 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีหลายประเภทมากเลยครับ

ชอบใจการเขียนอ่านง่ายมาก

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท