​จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๖ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part II


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๖ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part II

ทีนี้ "แพทยศาสตร์" หรือ "วิชาชีพแพทย์" ควรจะมีเรื่อง values ไหม? คำถามนี้ตอบไม่ยาก เพราะลำพังระหว่างกระบวนการ ผลงาน ไปจนถึงคนที่จะ "ครองตัว" อยู่ในวิชาชีพทำงานบนคุณภาพชีวิตของคนตลอดเวลา รวมทั้งความผันผวนปรวนแปรของปัจจัยที่ควบคุมยาก ได้แก่ อารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ ความไม่แน่นอนเหล่านี้สูงมาก จนกระทั่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ "ความสำเร็จ" ในการทำงานจะมีความลุ่มๆ ดอนๆ เครียด กังวล จากแรงกดดันสารพันปัญหา จนถ้าไม่มีเรื่อง "คุณค่า" แฝงอยู่ในการทำงาน คงจะทนยาก หรือถ้าทนได้ ก็จะแฝงไปด้วยความเสี่ยงที่จะระเบิดออกมาในระหว่างทางรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง

การเรียนแพทย์จึงไม่ควรใช้เทคนิก coaching ที่มีไว้เพื่อสร้าง expert อย่างเดียว แต่เรากำลังสร้าง profession ที่มีความ professional ด้วย การใช้เทคนิกและความสัมพันธ์แบบ mentor ที่จะตอบโจทย์ข้อนี้ได้

Harden เคยเขียนไว้ในปกแรกของหนังสือ ครั้งหนึ่งนักเรียนเคยเขียนมาบอกอาจารย์แพทย์ว่า "Teachers don't realise that we are learning while you least expect it." (อะไรทำนองนี้ ไม่ได้ค้น exact words มาให้) พูดง่ายๆก็คือ เวลาเราคาดว่าเด็กเรียนตอนอยู่ในห้องเรียน ห้องแลปอะไรนั้น เป็นความคิดที่ผิดพลาด แท้ที่จริง เด็ก "อยากเป็นแบบอาจารย์" โดยเฉพาะอาจารย์คนที่ใครๆก็นับถือ เพราะเป็น model ของ successful doctor ไปไหนก็มีคนไหว้ ปีใหม่ก็มีลองกองกินจำนวนมาก แต่ประโยคนี้ก็แฝงความน่ากังวลประการหนึ่งคือ เขาจะเรียนแต่ "สิ่งดีๆ" ไปไหมเนี่ย? อาจารย์แพทย์เป็น role model ที่ดีสำหรับเด็กตลอดเวลารึเปล่า?

ใน Workshop ครั้งนี้ อาจารย์ชัชวาลย์และอาจารย์ทานตะวันเลยเน้นเรื่อง Awareness ค่อนข้างมาก เรียกว่าพยายามให้ softwear ตัวนี้ run อยู่ใน background ตลอดเวลาในทุกๆกิจกรรมก็ว่าได้

ในสามฐานของระบบชีวิต คือ ฐานกาย (body, action, deed) ฐานใจ (อารมณ์ ความรู้สึก) และฐานคิด (ตรรกะ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง vs จินตนาการ) เราสามารถใช้ awareness ได้ทั้งหมด แต่ที่ง่ายที่สุด และอาจจะเหมาะในการฝึกเพราะความง่าย ความชัดเจน ก็คือฝึกที่ "ฐานกาย"

Awareness of body ฝึกง่ายและชัดเจน แต่จะถึงระดับชำนาญนั้น จะพบว่ามีเส้นทางการฝึกที่ยาวไกลทีเดียว กายเป็นอะไรที่จับต้องได้จากผัสสะทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก ผิวหนัง ดังนั้นตอนเรานั่งเฉยๆ เราสามารถ "จับ" การนั่งของเราเอง นั่งตรงไหม ผ่อนคลายหรือขึงเกร็ง เท้าวางยังไง มือวางยังไง ตัวตรงหรือไม่ เป็นกำหนดตัวนิ่ง หรือถ้าจะไปจับตัวเคลื่อน ก็มีให้เลือก ให้ทำได้หลายอย่าง การเดิน การทำงาน ขยับแขนขา หรือแม้แต่ใจจับสำรวจลมหายใจที่มีการเคลื่อนเกือบจะตลอดเวลา

ใน WS นี้ฝึกนั่งสมาธิและ bodyscan ท่านั่งบนเก้าอี้ โดยอาจารย์ทานตะวันเป็นคนทำให้ ระยะเวลาไม่ยาว (เมื่อเทียบกับที่ผมเคยทำ แต่ในท่านอน ทำประมาณ ๑ ชั่วโมง) และใช้เสียง narrative อย่างเดียว (ผมใช้ดนตรีประกอบ) อาจจะเป็นเพราะความถนัด ผมพบว่าการใช้เพลงประกอบจะช่วยด้าน relaxation ได้ดี เปิดสมองจาก beta wave (alert, fast) ลงไป alpha (ผ่อนคลาย) ได้ง่าย เพียงแค่ harmonious tune ก็สามารถจะคลี่ brain wave เราลงได้แล้ว ที่อยากจะเพิ่ม relaxation ก็เพราะใน WS เรามักจะต่อเรื่องจินตนาการ imagination ที่การผ่อนคลายเป็นจุดสตาร์ทที่จำเป็น

มีการฝึกสมาธิในการเดินด้วยความเร็วระดับต่างๆ เริ่มมี rate of breath มาให้สังเกตเพิ่มมากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบแบบนิ่งๆ หรือคนที่ทำแบบนิ่งๆแล้วไม่ท้าทายพอ ก็จะเพิ่ม information, stimuli มากขึ้น ดูสิว่าเรายัง "ทัน" body เราอยู่ไหม

เชื่อว่าที่หลายคนเริ่มเข้า challenging zone ก็ตอนที่ฝึกพูด/ฟังแบบ dialogue ที่ห้ามพูดแซง ห้ามถาม ห้ามแทรก ซึ่งส่วนใหญ่ในการทำงานของแพทย์ บางทีด้วยความ "เร็ว" เราก็มักจะคุยแบบ check list หรือเพื่อสะสางความชัดเจนในระหว่างสัมภาษณ์ ไม่ได้ใช้เทคนิก narrative history-taking แต่เป็นการ sweep ข้อมูลไปอย่างเป็นระบบ เป็นระเบียบ มีหลายเสียงสะท้อนออกมาในทำนองว่าจะเผลอ หรือได้แทรกไปด้วยความคุ้นชิน แต่ถึงแม้ว่าจะลืมไปบางครั้ง แต่ก็จะรู้ตัวในเวลาต่อมา

การฝึกทักษะ awareness พึงทำความเข้าใจเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง

เมื่อ awareness เราดี ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีความรู้สึกลบ หรือความรู้สึกไม่ดี ฯลฯ ลดน้อยลง ตรงกันข้าม เหมือนกับที่เรามี screening test ดีๆ เราจะ "ชัดและทัน" ความรู้สึก (ทั้งบวกและลบ) เร็วขึ้น ผลก็คือ เราจะ aware ถึงอารมณ์เหล่านี้ในปริมาณมากขึ้น เพียงแต่จะเจอ "ใน early phase" ของอารมณ์ ความคิด เหล่านั้น ซึ่งง่ายต่อการจัดการกับมันมากกว่าไปเจอตอน late phase

ดังนั้น dialogue จะเล่นกับฐานคิด และฐานใจ เพิ่มเข้ามา อยากจะถาม อยากจะแปล อยากจะพยากรณ์ ฯลฯ คนเราคิดเร็วมาก วันหนึ่งเป็นหมื่นๆเรื่อง ยิ่งความรู้สึกจะยิ่งมีความชัดเจนน้อยกว่าความคิด ความรู้สึกเบื่อ ความรู้สึกกังวล กลัว ฯลฯ บทเรียน awareness ในฐานคิด และฐานใจ ต้องใช้ความทุ่มเทฝึกฝนเป็นเวลายาวนาน

ซึ่งในการเป็น mentor จะเห็นว่ามีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ตั้งไว้คือ เราจะมั่นใจได้ไหมว่านักเรียน (แอบ) เรียนสิ่งที่ดีๆไปจาก mentor หรือว่าจะเก็บอะไรที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เก็บไป?

ถ้าได้ mentor ที่มี awareness สูงมาก เมื่อมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ mentee นั้น ก็สามารถดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วย awareness ได้อย่างสบายๆ นักเรียนจะเห็นวิธีเติบโตที่เป็นธรรมชาติ ไม่ฝึกฝืน ไม่ว่าจะในหรือจะนอกห้องเรียน แต่ถ้า mentor ไม่ได้ระมัดระวัง หรือ awareness หลุดไปเมื่อไหร่ เราก็อาจจะจะ expose dark side ไปให้ลูกศิษย์โดยไม่ทันรู้ตัว พูดอะไรไปในสิ่งที่ไม่ควรพูด ทำอะไรไปในสิ่งที่ไม่ควรทำ และคิดอะไรไปในสิ่งที่ไม่ควรคิด

หมายเลขบันทึก: 620427เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2016 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2016 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท