808. Appreciative Inquiry 2017 (ตอนที่ 7)


ผมขอยกตัวอย่างการทำ Appreciative Inquiry เพื่อการพัฒนาองค์กร อย่างเป็นระบบ

แน่นอน AI ไม่ได้มองปัญหาครับ แต่เราเริ่มจากปัญหา ปัญหาแปลว่าอะไร ปัญหาคือสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้เรา และเราอยากให้มันหมดไป

เราอาจเริ่มต้นด้วยว่าเขาอยากความรำคาญใจอะไรหมดไป ผมคนในองค์กรขนาดใหญ่ชื่อดังแห่งหนึ่ง คืออยากให้คนในองค์กรเก่ง ทำงานได้ผล

มาเริ่มที่วงจร 4 D กันครับ


  1. มาค้นหา Affirmative Choice ก่อน นั่นคือเอาปัญหาที่น่ารำคาญ มาแปลงเป็นชื่อโครงการที่น่าดึงดูดใจ จินตนาการสิครับ ถ้าเราตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรพนักงานจะหายโง่สักที กับตั้งโจทย์ว่า สร้างองค์กรที่มีพนักงานที่เป็นมือชีพที่สุดในวงการ คุณว่าโครงการแบบไหนจะดึงการมีส่วนร่วมได้มากกว่า การทำ AI นี่เราว่ากันมาตั้งแต่ชื่อเลยครับ อย่างกรณีนี้เราตั้งโจทย์ว่า เป็น “ร่วมสร้างสรรค์องค์กรที่เต็มไปด้วย Professional Workers”
  2. เราจับคำว่ามืออาชีพ มาค้นหาว่าตอนที่เขารู้สึกเป็นมืออาชีพนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร
  3. จาก Affirmative Action เราก็มาออกแบบสอบถามกัน อย่างนี้ก็ใช้โครงสร้างคำถามง่ายๆ “ให้นึกถึงตอนที่ทำรู้สึกว่าเก่งขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ตอนนั้นเกิดอะไรขั้น ไปทำอะไรมา จุดเปลี่ยนอยู่ตรงไหน
  4. ตั้งทีมค้นหาคำตอบจากคนในองค์กร อย่าแจกแบบสอบถาม ให้ถามแล้วจดออกมา เพราะคนไทยไม่ชอบพูดอะไรชัดๆ ไม่ชินกับอะไรที่ชัดเจน คุณอาจต้องซักเพิ่มครับ ขั้นนี้จะเรียนว่าขั้นตอน Discovery
  5. เราก็จดมาคำต่อคำเลย
  6. ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ผมก็ลองยกตัวอย่างของผมก็ได้ ตอนที่ผมทำ AI เก่งขึ้นเป็นตอนที่ผมเริ่มแกะวิธีการทำ AI จากตำรามาดู แล้วมาชวนลูกศิษย์ทำครับ เป็นตอนนั้นชัดมากๆ คือมีลูกศิษย์ที่เป็นพยาบาลสามคนและวิศวกรหนึ่งคนมาทำวิจัยกับผม ผมก็แปลตำราไปให้เขาทำตาม ปรากฏว่าคั้งแรกไปถามไม่ Work คนตอบงงไปหมด เขาเขียน Mail มา ผมรีบตอบเดี๋ยวนั้น โดยปรับคำถามนิด แล้วให้คนลองตอบสี่ห้าคน ผลคือ Work ครับ นั่นเองที่ผมเริ่มทำ AI เป็น จุดเปลี่ยนมาจากไหน มาจากการนำเอาทฤษฎีไปลองทำจริง และที่สำคัญเวลาลูกศิษย์มีปัญหาก็รีบวางแผนแก้ แล้วตอบกลับเร็วๆ ปรับกลยุทธ์เร็ว นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นใจในอาชีพ หลังจากนั้นผมเติบโตในอาชีพมาตลอด”
  7. เท่าที่ผมสำรวจมาผมจำ Positive Cores ที่นั่นตัวหนึ่งได้คือ “ค้นคว้า ทดลอง ลุย ถาม” ทำนองนี้
  8. ผมมองๆแล้วมันหลักการทางวิทยาศาสตร์ชัดๆ แต่ที่ผมอยากเน้นมากๆ เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวคนเมาหมั่นไส้เด็กหนุ่มที่ให้ tip พนักงานในห้องน้ำมากกว่า เลยเอาขาดหล้าฟาดหัวเด็กหนุ่มตาย นี่เป็นเรื่องน่าคิด แสดงว่าคนเราคิดว่า เราจะสำเร็จได้ หรือมีความสุขได้ ต้องกินเหล้า จะได้เห็นคนอื่นตอนเมาว่าคิดอย่างไร ...ผมก็เคยคิด ผมเลยลองถามพนักงานที่ไม่ว่าระดับใดในโรงงานชื่อดังนั้นว่า ความสำเร็จของเขาเป็นคนโดยตรงหรือทางอ้อมจากวงเหล้าหรือไม่ ทำมาหลายรุ่น ในโรงงานที่ขึ้นชื่อว่าช่างเมาเป็นนิจศีล ช่างมีค่านิยมกินเหล้าเยอะ ...แต่กลับตอบว่าความสำเร็จไม่เกี่ยวกับเหล้าเลย ไม่เกี่ยว... แล้วกินไปทำไม
  9. ไม่พอครับ ต่อมาอยากทำ Workshop เพราะอยากให้ความจนหมดไป... มีบางคนกำลังจะเกษียณในสามปีข้างหน้า แต่บ้านยังผ่อนไม่หมด ลูกก็ยังเรียนม.ต้นอยู่ ..หนี้เพียบ เราเลยมาคุยกัน หาต้นแบบ ลองไปหาคนที่ช่างทุกคนเคารพ แล้วเกษียณไปมีเงิน เรามานักกันว่าสมัยทำงาน เขาใช้ชีวิตอย่างไร มีคนเอ่ยชื่อรุ่นพี่ที่เข้าเงื่อนไขนี้สามคน เรามาเล่ากันว่าเชาใช้ชีวิตอย่างไร พบ Positive Cores คือ พวกนี้ไม่ตามใจสังคม คือไม่กินเหล้าครับ อ้าว แล้วจะรู้ใจคนอื่นเหรอ ไม่กินคนก็ไม่เคารพสิ ...ไม่ใช่ เขาเป็นคนมีน้ำใจ ช่วยเหลือคนนอกแผนก ไม่ใช่ทำแต่งานตนเอง
  10. และถ้าคุณจะถามอีก เอ๊า มันต้อง Relax ครับ เหล้ามัน Relax เราต้องแบ่งเวลาไปสถานที่อโคจรบ้าง ...ใจเย็นครับ ผมก็เคยทำ Workshop เรื่องการผ่อนคลาย พนักงานเขาบอกเครียด ... ก็ทำ Discovery กัน ...ในบริษัทที่กินเหล้าหนักที่สุดที่เอง.. มันจะออกมาแนวนี้ๆ ...กลับบ้านเครียดก็พาลูกไปทำสวน ... เสาร์อาทิตย์อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน พากันไปทำบุญใส่บาตร แล้วทำกับข้าวกินกัน... น่าแปลก ที่ผมเจอมา ภาวพผ่อนคลายที่สุด ไม่มีคำว่าเหล้า อ้ออีกเรื่องดู TV หรือดู Internet นานๆ ไม่หลุดมาครับ ..
  11. สรุปได้ว่าคนเราเก่งขึ้นจากการพัฒนาตนเองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เหล้าไม่เกี่ยวทั้งการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ การผ่อนคลาย ... อยากมีอนาคต หยุดเหล้า แล้วทำงาน ลุย ทดลอง ค้นคว้า ปรับแต่งงงานของคุณไปเรื่อยๆ คุณจะสร้างอนาคน สร้างครอบครัวได้แน่นอน
  12. เมื่อได้ Positive Cores แล้ว เราก็มา Dream กันก็จะได้ “เป็นองค์กรที่ขึ้นชื่อว่าพัฒนางานมีความเป็นนักคิดค้น เป็นโรงงานที่ทุกคนมีสุขภาพจิตดี ไม่มีอบายมุข เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง”
  13. Design เราก็เอาที่ค้นพบ Discovery, Positive Cores, Dream มาระดมสมองหากิจกรรมทำเยอะๆ เอาสัก 20-30 ideas แต่คัดมาทำสัก 5 ทำให้จบในสามเดือน เช่นอาจจะมีการเอารุ่นพี่มาสร้างแรงบันดาลใจเรื่องการใช้ชีวิต โครงการอาสาสมัครเลิกเหล้า โครงการ Mentor เป็นต้น เผยแพร่ Story ของรุ่นพี่ ที่เคารพ จัดกระบวนการ KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิด
  14. Destiny หาแม่งานแต่ละโครงการ ดูงบประมาณ วัดผล ขอ Sponsor ถ้าไม่มีงบก็เลือกโครงการที่ไม่ใช้งบ ก็ได้ ทำสักสามเดือนมาประเมินก็ได้
  15. เท่านี้ก็เรียก AI แล้วครับ

และถ้ามามองจากหลักทรงงาน 23 ประการ ผมเห็นสองข้อครับที่อธิบายการทำ AI ในหัวข้อเรื่องการพัฒนา Talent รวมทั้งการเชื่อมโยงปัญหาเรื่องเหล้าเข้ามาก็คือเรื่อง หลักทรงงานที่ว่า

“ทำให้ง่าย” ทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

คุณลองมองสิครับ จริงๆ แล้วการพัฒนาคน การใช้ชีวิตของคนที่ดูแล้วการเจริญเติบโตในอาชีพ การเงิน แะความสุข เป็นเรื่องเรียบง่ายกว่าที่คิด

คนในองค์กรสามารถค้นหาจุดที่ตัวเองเก่ง เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องมาคิดต่อได้

พวกเขาไม่จำเป็นต้องทำชีวิตให้ซับซ้อนด้วยการกินเหล้า การพาตัวเองไปสถานที่อโคจร สร้างความเสี่ยงให้กับคนที่อยู่ข้างหลังโดยไม่จำเป็น

คนเก่ง มีอนาคต เกษียณไม่อด ทำอะไรเรียบง่ายกว่าเยอะเขาเพียงทดลอง ค้นคว้า ลุย ที่สำคัญอย่าอยู่ใน Silo เป็นคนมีนำ้ใจ อยากพักผ่อนก็ง่ายๆ สถานที่ก็มักเป็นบ้าน (แทบไม่มีใครพูดถึงการท่องเที่ยวไกลๆ)

เขาเพียงทดลอง ค้นคว้า ลุย ที่สำคัญอย่าอยู่ใน Silo เป็นคนมีนำ้ใจ อยากพักผ่อนก็ง่ายๆ สถานที่ก็มักเป็นบ้าน (แทยไม่มีใครพูดถึงการท่องเที่ยวไกลๆ)

ที่สำคัญอยากประโยคในเรื่องพระมหาชนก ความอดทนครับ ชีวิตต้องอดทน อย่าปล่อยตัวเองไปทางอบายมุข และสถานที่อโคจร ไม่คุ้มครับ



จะว่าไปนี่คือสุข สำเร็จแบบพอเพียงด้วยซ้ำไป เข้าหลักเศรษฐกิจพอเพียง คุณจะเห็นความพอประมาณ เอาเป็นไว่าแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม มีเหตุผล สร้าสมดุลทั้งที่บ้านที่ทำงาน ได้ภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่ทำงานไปแล้วล้มละลายตอนแก่ ด้วยใช้ทั้งสองเงื่อนไข ทั้งความรู้ นี่ก็ต้องค้นคว้า คุณธรรม ชัดมากๆ คุณจะโต ต้องไปด้วยตนเอง..อ้อชัดมากๆ ไม่เจอคำว่าเส้นสายครับ มันโตไปด้วยตัวเอง ด้วยปัญญาตนเอง

ผมอยากบอกว่ากรณีบริษัทนี้อาจสร้างวิสัยทัศน์เป็น “บริษัทแห่งมืออาชีพแบบพอเพียง Sufficiency Professionals” ได้เลย

แผนการเพิ่มเติมคือเผยแพร่หลักทรงงาน 23 ประการและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผมว่าจะยั่งยืนและเป็นแบบอย่างแก่โลกเลยครับ

บทความนี้ขออุทิศให้น้องที่ถูกทุบหัวเสียชีวิตในร้านเหล้า ขอให้บุญกุศลจากบทความนี้ ส่งผลให้น้องไปสู่ภพภูมิที่ดี

และขอให้สังคมไทยหันมาทบทวนเรื่องอบายมุขอย่างจริงจัง เมาแล้วขับนี่น่าจะไม่มีอีกแล้ว ถ้ามีก็ถือว่าขับเมื่อไรห่เป็นฆาตรกรทันที ไม่ Work แล้วครับ ขอให้เปลี่ยนซะที


คุณล่ะคิดอย่างไร


หมายเลขบันทึก: 620200เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท