กิจกรรมบำบัดกับการเรียนรู้ในการช่วยเหลือตนเอง


กิจกรรมบำบัดกับการเรียนรู้ในการช่วยเหลือตนเอง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในรายวิชากิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้เรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง Community survivors and Learning skills โดยอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปสัมภาษณ์บุคคลใกล้ชิด จำนวน 1 ท่าน ที่เคยประสบปัญหาหรือความบกพร่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือจิตใจที่เป็นประสบการณ์ในอดีต แล้วส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เมื่อเกิดปัญหาแล้วสามารถเรียนรู้ ช่วยเหลือตนเอง พึ่งพาตนเอง ให้ผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร

เมื่อได้รับมอบหมายงานนี้ บุคคลที่ข้าพเจ้านึกออกเป็นคนแรก คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คุณพ่อของข้าพเจ้าเอง เพราะคุณพ่อเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อ 30 ปีแล้ว สมัยคุณพ่อยังเป็นหนุ่ม อายุราวๆ 18 ปี คุณพ่อได้รับอุบัติเหตุจักรยานยนต์ล้ม ทำให้ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าแข้งของขาข้างขวา ทำให้กระดูกขาขวาร้าว ต้องใส่เฝือกเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้กิจวัตรประจำวันที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ กลายเป็นยากขึ้น ในช่วง 1 เดือนแรก ไม่สามารถใช้ขาขวาได้เลย ทำให้เดินได้ลำบาก และต้องอาศัยไม้ค้ำยัน (Crutches) ในการช่วยเดิน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากในการจะฝึกเดินให้คล่องแคล่วได้เหมือนเดิม แต่ยังดีที่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ปิดเทอมพอดี ไม่อย่างนั้นคงลำบากในการที่ต้องไปเรียนหนังสือ โดยในช่วงนั้น กิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ ต้องใช้การนั่งเก้าอี้อาบน้ำ และ นำเก้าอี้มารองขาให้สูง แล้วระวังไม่ให้เฝือกโดนน้ำ โดยนำเอาผ้าขนหนูมาปิดไว้บริเวณด้านบนของเฝือก เพื่อไม่ให้น้ำเข้าเฝือก การใส่เสื้อผ้า ต้องนั่งใส่เสื้อและกางเกง และปรับกางเกงให้เป็นกางเกงขาสั้น หรือกางเกงที่หลวมๆใส่สบายๆ และ เวลาเดินไม่ลงน้ำหนักบริเวณขาข้างขวา

แม้ว่าในสมัยนั้นคุณพ่อของข้าพเจ้ายังไม่รู้จักวิชาชีพกิจกรรมบำบัด แต่ทักษะที่คุณพ่อได้เรียนรู้ด้วยตนเองนั้นก็ยังมีความถูกต้อง และใช้หลักการในการรักษาทางกิจกรรมบำบัดมาใช้ในการรักษาตนเอง เช่น การวางขาสูงและระมัดระวังไม่ให้เฝือกโดนน้ำ เพื่อให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บได้รับการรักษาฟื้นฟู และ เรียนรู้ในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เพราะช่วงนั้นคุณย่า ต้องทำงานค้าขาย จึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการดูแลคุณพ่อมากนัก แต่ก็ยังได้รับการดูแลจากคุณป้า ที่คอยช่วยดูแลคุณพ่อ ในช่วงแรกๆที่ได้รับบาดเจ็บ

ได้สรุปเป็นแผนภาพง่ายๆดังนี้


อีกประเด็นที่น่าสนใจ ในการสัมภาษณ์คุณพ่อ ปัจจัยที่สามารถช่วยให้คุณพ่อสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาเดินได้อย่างปกติทุกวันนี้ นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้วนั้น ก็ยังมี การรักษาทางจิตใจ หรือเรียกง่ายๆว่า กำลังใจ นั้นเอง การที่คนเราได้รับอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะร้ายแรงหรือเล็กน้อย แต่หากได้รับกำลังใจจากบุคคลที่เรารัก บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเรา แม้ว่าจะเป็นเพียงคำพูดเล็กน้อยว่า หายไวๆนะ หรือเพียงกระเช้าผลไม้ แต่หากสิ่งนั้นได้รับมาจากบุคคลที่เรารัก หรือเพื่อนสนิท มันคงเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณพ่อ สามารถกลับไปเดินได้ กลับไปเรียนหนังสือ และทำงานได้ จนถึงทุกวันนี้

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 619976เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 02:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท