สรุปความรู้ที่ได้รับ เรื่อง Knowledge Management: KM and PLC: Professional Learning Community วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559


การบริหารสถานศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (Knowledge Management – KM)

ในระดับสถานศึกษา ความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้จะเจริญก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรในโรงเรียนและบุคคนอื่นที่เกียวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นผู้นำที่จะทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงดังนี้

1. มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

1.1 การจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาในโรงเรียน

1.2 การจัดการประเมินและนำผลการประเมินมาปรับปรุงโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

1.3 การแสวงหาความคิดและความสามารถของครู นักเรียน และผู้มีร่วมได้ส่วนเสียอื่น

1.4 การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1.5 การจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่อง

2. นำโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และให้มีความยั่งยืน

3. ปกครอง ดูและ บุคลากรด้วยคุณธรรม จริยธรรม

4. จูงใจบุคลากรให้พัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น

5. สร้างวิสัยทัศน์ ค่านิยมของโรงเรียนและสร้างพันธะผูกพันต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน

6. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของบุคลากรทุกคน

7. ทำงานโดยอาศัยกลุ่มหรือคณะบุคคลเป็นที่ตั้ง

8. มีความจริงใจ เข้าใจ และรับคำฟังความคิดเห็นทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

9. ให้รางวัล ยกย่อง ชมเชยบุคลากร นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

10. เอื้ออำนวยความสะดวกทรัพยากรทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้

องกรค์แห่งการเรียนรู้ (Learning Organization – LO) หมายถึง องค์กรที่สามารถสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ บุคลากรทุกระดับ มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา สามารถสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อให้เกิดความก้าวหน้า ดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์กร

ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

  • คิดเป็นระบบ (Systems Thinking)
  • ความสามารถในการบริหารตนเอง (Personal Mastery)
  • ความฝังใจ (Mental Modal)
  • ฝังร่วมกัน (Shared Vision)
  • เรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เป็นความรู้ในหนังสือ สื่อตำรา เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

ขั้นตอนการจัดการความรู้




เพาะจำโมเดล



KV = Knowledge Vision

M = Mind

3S = Story Telling, Show, Support

K = Knowledge

L = Learn

KA = Knowledge Asset

4 = 4 กลุ่มงาน

8 = 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

4 = 8กลุ่มช่วงชั้น

เครื่องมือที่ใช้ ในการทำ KM ของโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ได้แก่

1. เรื่องเล่าเร้าพลัง

2. การสกัดขุมความรู้

3. สังเคราะห์แก่นความรู้

4. ตารางอิสรภาพ

5. บันไดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บันทึกหน้าเดียว

7. การทบทวนหลังปฏิบัติการ

วิธีดำเนินการ ได้แก่

1. ตั้งทีมงาน

2. ให้ความรู้

3. กำหนด KV

4. ฝึกปฏิบัติ...ปฏิบัติ

5. ติดตาม...ทำต่อเนื่อง

6. เผยแพร่

PLC : Professional Learning Communityคือ เครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครูในยุคศตววษที่ 21

- ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูสอน (teacher) มาเป็น ครูฝึก (Coach) หรือครูผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน (Learning Facilitator )

- ห้องเรียนต้องเปลี่ยนจาก ห้องสอน (Class room) มาเป็น ห้องทำงาน (Studio)

PLC เป็นเครื่องมือสำหรับครูให้รวมตัวกันเป็นชุมชน (Community) ทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในการปฏิรูป การเรียนรู้ เป็นการปฏิรูปที่เกิดจากภายใน คือครูรวมตัวกันดำเนินการ และเสริมแรงกันทั้งภายในและภายนอก

กระบวนการเรียนรู้แบบ PLC (Professional Learning Community) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้เพื่อยกระดับ PBLให้ตอบสนองต่อทักษะอนาคต การพบปะแลกเปลี่ยน PBL กันอย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่า professional learning community หรือ PLC ลักษณะเด่น คือ

1. ครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้

2. ครูและนักเรียนเรียนรู้ไปด้วยกัน

3. ครูและครูเรียนรู้ไปด้วยกัน

PLC คือ

ตัว P คือคำว่า Professional หรือเกี่ยวกับเรื่องงาน เรื่องอาชีพ เรื่องปฏิบัติ นั่นคือเรื่องที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ครูหรือเรื่องเด็ก

ตัว L คือคำว่า Learning คือมีการแลกเปลี่ยนแล้วเกิดการเรียนรู้ และ

ตัว C คือคำว่า Community คือมีชุมชนนักปฏิบัติ ร่วมมือพบปะนัดคุย

สรุป PLC คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นประเด็นปัญหาในกลุ่ม เพื่อนำมาร่วมกันหาแนวทางดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ เช่น ครูกับผู้บริหาร ครูกับครู ครูกับชุมชน หรือครูกับนักเรียน เมื่อแลกเปลี่ยนแล้วจะได้ข้อสรุปออกมาว่ากลุ่มต้องการอะไร เกิดอะไรขึ้น มีผลกระทบกับใคร จะแก้ไขอย่างไร

ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 ระดับคือ

1. นักเรียน ต้องการให้นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21

2. ครู เน้น Teach less learn more

3. มีชุมชนการเรียนรู้ PLC

เป้าหมายที่นักเรียน คือ

1. ชุมชนนักสื่อสาร -> การสื่อสารและการร่วมมือ

2. ชุมชนคนชอบคิด -> ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

3. ชุมชนคนชอบแก้ปัญหา -> การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

4. ชุมชนคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยี และทักษะในศตวรรษที่ 21 -> การเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี

กระบวนการที่ใช้ ได้แก่

1. KM

2. LS

3. TLLM

4. จิตตปัญญาศึกษา

วิธีดำเนินการ คือ

1. ร่วมกันวางแผน

2. เหนี่ยวหนุนนโยบาย

3. เปิดใช้ห้องประชุมในการทำงานร่วมกัน

4. โอบอุ้มการเรียนรู้

5. มีการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายรูปแบบ

6. ศึกษาหาความรู้หรือข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

7. มีการให้โอกาสหรือเปิดโอกาสในการนำเสนอ

8. จัดการประกวดและมอบของรางวัล เพื่อเป็นกำลังใจหรือสร้างกำลังใจให้กับครูผู้สอน

ผลที่ได้รับหลังใช้ PLC

1. ได้วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน

2. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้อื่น

3. ได้มีการปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ของตนเอง

4. ได้มีการเปิดใจรับรู้พฤติกรรมการสอนของตนเองจากการสังเกตการสอนจากเพื่อน

คำสำคัญ (Tags): #true
หมายเลขบันทึก: 619955เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2016 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2016 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท