ความหมายของครู


“ความหมายของครู”

ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

ครูในนิยามของดิฉัน คือ ครูคือผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ ครูคือผู้ให้วิชา ครูคือผู้ส่งศิษย์ให้ถึงฝั่ง ครูถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากอาชีพหนึ่ง เป็นอาชีพที่ทำงานให้กับผู้คนมากมาย และผู้คนเหล่านั้น คือ ศิษย์ ครูทำงานเพื่อลูกศิษย์ทุกคนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลย นอกจากอยากเห็นศิษย์ทุกคนประสบความสำเร็จไปถึงฝั่งผันทุกคน อยากให้ศิษย์เป็นคนดี เป็นคนเก่ง ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก ทุกคนเกิดมาต้องมีครู นอกเหนือไปจากบิดามารดาแล้ว ครูยังเปรียบเสมือนบิดามารดาเราเหมือนกัน ครูเป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้กับบิดามารดาเลย ครูเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทุกๆ อาชีพ

ครู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แม่พิมพ์ของชาติ” ครูต้องมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ เสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอนเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เอาใจใส่ต่อศิษย์ทุกๆ คน เป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิษย์ เพื่อให้เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รักความยุติธรรม ยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคน มีอุดมการณ์ ยึดมั่นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีคุณธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กๆ ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผลครู เป็นบุคคลที่มีบทบาทและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาของประเทศ ในอดีตที่ผ่านมาและปัจจุบัน ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญกับครูโดยถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทใน การสร้างอนาคตของชาติการสอน เป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน และเยาวชนของชาติ การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและ เยาวชนของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพของเด็ก” สะท้อน “คุณภาพของครู” ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป

จากพจนานุกรมคำว่า วิชาชีพ กำหนดว่าคือ อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ และไปดูข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 บัญญัติไว้ว่า วิชาชีพหมายความว่าวิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการ สอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐ และเอกชน และการบริหารการศึกษา นอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัด กระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ขนาดคำว่าวิชาชีพอย่างเดียว ยังต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ หากเอาคำว่าชั้นสูงไปต่อท้ายเป็น วิชาชีพชั้นสูง แปลง่ายๆ คือ ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญที่มากยิ่งขึ้นไปอีกเข้าขั้นเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ

"วิชาชีพชั้นสูง" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูง มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานสูงขึ้น มีการติดตาม ศึกษา ค้นหาความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งความรู้ทางคณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ คุณธรรม จริยธรรม เศรษฐศาสตร์ ดนตรี สุขภาพ อนามัย ฯลฯ ทั้งความรู้ที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ

ครูกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง คือ การทำให้ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริง โดยมีพันธะหน้าที่ในการสั่งสอนลูกศิษย์ให้เป็นคนดีและมีความรู้ ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่หนักหนากว่าคนธรรมดาทั่วไป ดังนั้นจึงต้องทำให้ครูยืนอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม และไม่เดือดร้อนเรื่องฐานะความเป็นอยู่ เพื่อให้พวกเขาทุ่มเทพลังทั้งหมดในการสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพและคุณธรรม


แหล่งอ้างอิง : http://www.thaigoodview.com/node/137007

หมายเลขบันทึก: 619338เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท