หลักสูตร การสอน การวัด และการประเมินผลในศตวรรษที่ 21


หลักสูตร การสอน การวัด และการประเมินผลในศตวรรษที่ 21

การให้การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เน้นการใช้ทักษะ การมีส่วนร่วม มีความเชี่ยวชาญด้านความรู้ การลงมือปฏิบัติแต่จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะใช้หลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐานซึ่งเป็นหลักสูตรให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นความจริง เกี่ยวข้องความเป็นมนุษย์ การเรียนจะไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียน และชุมชนเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ ครูจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ ให้ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติ เน้นทักษะการเรียนรู้ที่สูงขึ้น โดยการนำเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง ( life in the real world ) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต
( lifelong learning ) ด้วยวิธีการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นตามสภาพความเป็นจริง โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ผู้เรียนจะมีลักษณะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีความเป็นอิสระในการเรียนรู้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นสามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้ หลักสูตรและการสอนจะมีลักษณธท้าทายให้ผู้เรียนได้ทดลอง พิสูจน์ แต่จะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดตำรา แต่จะเน้นการบูรณาการการเรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยผู้เรียนจะมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ( learning and innovation skills ) ทักษะชีวิตและอาชีพ ( life and career skills ) ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ( information, media and technologe skills ) แต่ผู้เรียนจะต้องให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนของครูอย่างตั้งใจ ครูต้องเปลี่ยนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่โลกความเป็นจริงที่เป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ในเชิงบวก และสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมีทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกภาพส่วนบุคคลพร้อมเผชิญกับอนาคตที่มีทั้งความสำเร็จและความสุขรออยู่
การวัดการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 นิยมเรียกว่า “การวัดผลเชิงประจักษ์” ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์การแห่งการเรียนรู้ วัดประเมินตัวแปรเชิงโครงสร้างแนวใหม่ และโมเดล/ ตัวแบบการเรียนรู้ เน้นใช้หลักฐานแสดงการเรียนรู้เป็นศูนย์กลางการวัดประเมิน ใช้สถานการณ์เป็นฐานเพื่อให้บริบทการวัดประเมินเป็นสภาพจริงมากขึ้น เน้นการวัดประเมินทักษะการพูดการสนทนามากขึ้น สภาพการประเมินสอดคล้องความเป็นจริง ( Real world situation ) นำผลการวัดประเมินเป็นสารสนเทศป้อนกลับไปสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน กลยุทธ์การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินต้องไปด้วยกัน วัดประเมินว่าผู้เรียนเรียนดีอย่างไร รวมทั้งรู้และทำอะไรได้ได้บ้าง เน้นการวัดประเมินที่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริง ครูใกล้ชิดและละเอียดถี่ถ้วนในการวัดประเมินผู้เรียนมากขึ้น ครูมีสารสนเทศป้อนกลับช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนมีเทคนิคการวัดและประเมินหลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อลักษณะส่วนบุคคลของผู้เรียน (ในฐานะผู้ถูกวัดประเมิน)


แหล่งอ้างอิง
www.lripsm.wixsite.com/21st/-21
www.mbuisc.ac.th/phd/academic/khawanjai2


หมายเลขบันทึก: 618707เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท