การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism – CBT)บ้านบากันเคย ตันหยงโป สตูล..... ตำนาน ประวัติศาสตร์ชุมชน และภูมิบ้านนามเมือง


9 แนวคิดในการจัดการชุมชนของอาจารย์แผ่นดิน คือรู้ตัวตน และชุมชนมีเรื่องเล่า เราไม่ใช่นักเสกสร้าง ทุกเส้นทางมีปัญหา คลังปัญญาชุมชน เราคือคนต้นแบบอย่าแยกรับการเรียนรู้ หันกลับไปดูบ้านเกิด ก่อเกิดความรู้ใหม่

<p “=””>


แดดร่มลมตกค่ำลงนั่งมองเกาะแก่ง แหล่งท่องเที่ยวสันหลังมังกรทอดตัวยาวมองเห็นลิบ ที่เป็นจุดขายการท่องเที่ยว
ชุมชนของบ้านบากันเคย ยามเมื่อน้ำคืน 3 ค่ำ ที่น้ำลงเต็มที่ ทำให้อยากไปสัมผัสให้ถึงที่ แต่พันธกิจมากมายที่ต้องทำ
จึงได้เพียงอยู่ห่างๆ ทานอาหารเย็นซึ่งเป็นผลิตผลจากทเลหน้าบ้านของชาว บากัน ที่สดๆจากทะเล รสชาดดีเลิศ แล้ว
ชาวบ้านก็แวะมาสนทนาปราศรัย ด้วยน้ำใจที่ผูกมิตร
ท่านนายก อบต ตันหยงโปคุณ กิตติ หมัดตาหนี แวะมาให้ข้อมูล เล่าให้ฟังถึงภูมิบ้านนามเมือง “บากันเคย หรือ บากัน



บือลาจัน เดิมทีเป็นสถานที่พักชั่วคราวของคนเลสำหรับตากกุ้งเคยที่ใช้ทำกะปิ หรือในอีกความหมายคือเป็นแหลงที่
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งเคย ชาวบ้านจึงมากับสัตว์น้ำ แล้ว ยกเพิงพักชั่วคราวขึ้น ซึ่งมีผู้คนจาก 3 ตระกูลมาพักอาศัย มี
กลุ่มของโต๊ะสมาน จาเกาะ จากไทรบุรี ซึ่งเป็นต้นตระกูล มะสมัน
กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มของโต๊ะอาเจะ อพยพมาจากรัฐ อาเจะ ต้นตระกูล ยุเหล
กลุ่มที่ 3 กลุ่มของโต๊ะยาปาก ย้ายมาจาก เกาะลิบงจังหวัดตรัง ต้นตระกูล อุเส็น
ทั้งสามกลุ่ม สมัครสมานสามัคคีร่วมกัน เอื้อเฟื้อกัน กินน้ำบ่อเดียวกัน คือบ่อน้ำ โต๊ะอาซัน ซึ่งปัจจุบันยังมีร่องรอยของบ่อน้ำแต่เลิกใช้ไปแล้ว ด้วยทาง อบต มีน้ำปะปาไว้บริการ ชุมชน บากันเคย นับถือศาสนาอิสลาม 100 % และมีอาชีพทำประมง 100%


<p “=”“>ผู้สูงวัยหัวใจเกินร้อย ถกแถลง กันเรื่องการสร้างศาลหลักเมือง สตูล ก่อนมาถกแถลงการท่องเที่ยวชุมชนต่อ
</p>

ท่านนายก กิตติ หมัดตานี ได้เล่าต่อถึงตำนานการต่อสู้ของสัตว์ 2 ชนิด คือพญาอินทรีย์ กับพญานาคราช ของ
สองประเทศ คือพญาอินทรีย์ ประเทศมาเลเซีย มีชื่อบ้านนามเมืองเกียวกับอินทรย์อยู่ในประเทศมาเลเซีย และพญานาค
หรืพญางู ที่มีชื่อบ้านนามเมืองปรากฎอยู่ในฝั่งไทย คือบ้านปากงู ที่อำเภอละงู จังหวัดสูล ในการต่อสู้กันในครั้งนั้นปราก
>ฎว่าพญางู เพี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ ก่อนสิ้นใจได้อธิษฐานเอาไว้ว่า จะขอปกป้องดินแดนแห่งนี้ตลอดกาล คนธรรพ์ผ่านมา
เห็นพญางูลอยกลางทะเลก็ทักทายจนเกิดเป็นสันทรายทอดตัวยาวคดเคี้ยวไปจนถึงเกาะหัวมัน คือส่วนหัวที่โผล่มาให้
เห็น ส่วนลำตัวทอดตัวยาวเป็นสันทราย จะเห็นได้เมื่อยามน้ำลดหรือน้ำลงเกิดเป็นทะเลแหวก นักท่องเที่ยวจึงขนานนาม
สันทรายนี้ว่า “สันหลังมังกร”ดังที่เห็นในปัจจุบัน และที่มาของชื่อตันหยงโป เกิดเมื่อทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพื่อยกทัพ
ไปไทรบุรี ปรากฎว่าเรือแตก จึงนำทรัพย์มาฝังไว้ที่ชายหาด แล้วปลูกมะม่วงเป็ที่สังกัดหมาย จึงได้ชื่อว่า ตันหยงโป
>ตันหยงคือแหลม โปคือมะม่วงมัน ตันหยงโปคือแหลมมะม่วงมันในปัจจุบัน


นายก กิตติ หมัดตาหนี เล่าประวัติชุมชน บากันเคย ตันหยงโป สะโตย สูล หรือเมืองสะท้อน(กระท้อน)

ผู้เขียนเก็บประเด็นเรื่องเล่าโดยการใช้เครื่องมือ 9 แนวคิดในการจัดการชุมชนของอาจารย์แผ่นดิน
คือรู้ตัวตน
และชุมชนมีเรื่องเล่า
เราไม่ใช่นักเสกสร้าง
ทุกเส้นทางมีปัญหา
คลังปัญญาชุมชน
เราคือคนต้นแบบ
อย่าแยกรับการเรียนรู้
หันกลับไปดูบ้านเกิด
ก่อเกิดความรู้ใหม่
ยังเครื่องมืออีก 7 ที่ต้องเก็บประเด็นให้เห็นถึงความเข้มแข็งชุมชน ต้องขอบคุณอาจารย์แผ่นดิน ที่ทำให้มีเครื่องมือ
วิเคราห์ ความเข้มแข็งชุมชน แลขอบคุณ นายก กิตติ หมัดตานี นายก อบต ตันหยงโป ที่ได้มีโอกาสมาศึกษาการท่องเที่ยวชุมชน

</p> </p> </p>

หมายเลขบันทึก: 618386เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2016 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2016 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสาขาการท่องเที่ยวที่กำลังจะยกระดับขึ้นมาเป็นระบบ จะเป็นภาคบริการดาวรุ่งที่มากด้วยการใช้ทักษะฝีมือ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวเพราะต้องปรับและประยุกค์ตามบริบทภูมิสังคม เป็นการประกอบการที่มีต้นทุนต่ำแต่กำไรสูง เพราะต้นทุนใช้อัตลักษณ์ของระบบนิเวศน์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ผลิตภัณฑ์หรือหัถกรรม และสิ่งที่มีอยู่ในการนำเสนอ

-สวัสดีครับท่านวอญ่า..

-ชอบใจการเดินทาง

-แนวคิดของอาจารย์แผ่นดิน

"คือรู้ตัวตน
และชุมชนมีเรื่องเล่า
เราไม่ใช่นักเสกสร้าง
ทุกเส้นทางมีปัญหา
คลังปัญญาชุมชน
เราคือคนต้นแบบ
อย่าแยกรับการเรียนรู้
หันกลับไปดูบ้านเกิด
ก่อเกิดความรู้ใหม่..... "

-ผมได้รับหน้าที่ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ณ บ้านลานทองน้อย อำเภอพรานกระต่าย คงต้องขอคำชี้แนะแนวทางจากท่านบ้างนะครับ

-หากมีเวลามาเยี่ยมบ้านนาบ้างเน้อ...บังเน้อ..55


จากบันทึกของบังฯ ผมว่าทรงพลังอย่างที่สุดแล้วครับ เห็นตำนานเรื่องเล่าของสถานที่ผ่านสถานที่ นิเวศน์วัฒนธรรม ผ่านผู้คน ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นทั่งคลังปัญญาชุมชน และการไม่แยกส่วนการเรียนรู้...ประหนึ่งยืนยันว่าสรรพสิ่งหรือความรู้ล้วนยึดโยงสัมพันธ์กันเสมอ เหมือนมีภูเขา มีป่าไม้ มะทะเล ใต้ทะเลมีปลา มีกุ้ง บนภูเขามีสายลม แมกไม้ หมู่นก คือความหลากหลายทางชีวภาพ แถมมีผู้คนและสิงสาสัตว์ในฐานะของผู้ใช้และผู้ดูแล

การบอกเล่าเรื่องราวผ่านปากคำของผู้คนทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์วัฒนธรรม หรือตำนานปากต่อปากคือมุขปาฐะ .....บันทึกนี้ได้ส่งนัยยะสำคัญไว้อย่างน่าสนใจ และการที่ใครสักคนบอกเล่าสิ่งเหล่านี้ได้ก็คือการรู้ตัวตน (โครงการ) เสมอเหมือนการรู้รากเหง่าตัวเอง

ผมชื่นชมมากๆ ครับ ----



เป็นการทำงานที่น่าสนใจมาก

ได้บริบทครบ

เสียดายไม่ทราบว่าบังมาแถวนี้

ผมไปนิเทศโรงเรียนชัยพัฒนามา

https://www.gotoknow.org/posts/618142

เรียนอาจารย์ จำรัส

ได้ลิงค์ ข้อมูลคืนชุมชนผ่านทางท่าน นายกกิตติ หมัดตานีแล้ว

กำลังจะเขียนให้ครบจบทุกตอน

ขอบคุณที่มาเติมเต็มให้

เรียนคุณเพชร มายแมพสวยมาก

ได้เครื่องมือ อาจารย์แผ่นมาจับจับประเด็นเรื่องเล่าการท่องเที่ยวชุมชน

ง่ายขึ้นในการฟังแล้วจับประเด็น

ขอบคุณ อาจารย์แผ่นดิน ที่นำสิ่งดีๆสู่ชีวิต

ได้นำแนวทางไปปรับใช้ ให้เข้ากับบริบทชุมชนการท่องเที่ยว

ชุมชนมีเรื่องเล่า มีภูมิปัญญา มีความรู้ใหม่

เรียนอาจารย์ ขจิต หากว่างตรงกัน ครั้งต่อไปเรียนเชิญ ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้การท่องเที่ยวชุมชน

กราบขอบพระคุณ "อาจารย์ของแผ่นดิน" ท่านอาจารย์ วอญ่า...ที่ให้ข้อคิดดีๆ ให้ตัวอย่าง และให้เครื่องมือ 9 อย่าง ที่จะไปช่วยเหลือ ช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนนะคะ...ยังไงคงต้องกราบขออนุญาติ นำตัวอย่าง งานเขียน และกรณีศึกษานี้ไปสอนเด็กนักศึกษา นะคะ ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เกิดปัญญา...ร่วมด้วย ช่วยกัน สร้างสรรค์ การพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวค่ะ

กราบขอบพระคุณ "อาจารย์ของแผ่นดิน" ท่านอาจารย์ วอญ่า...ที่ให้ข้อคิดดีๆ ให้ตัวอย่าง และให้เครื่องมือ 9 อย่าง ที่จะไปช่วยเหลือ ช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนนะคะ...ยังไงคงต้องกราบขออนุญาติ นำตัวอย่าง งานเขียน และกรณีศึกษานี้ไปสอนเด็กนักศึกษา นะคะ ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เกิดปัญญา...ร่วมด้วย ช่วยกัน สร้างสรรค์ การพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวค่ะ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/618386

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท