เรื่องเล่าจาก ดร. สุเมธ (๑)


ผมคำนึงว่า สิ่งที่ ดร.สเมธ ตันติเวชกุล เขียนไว้ในหนังสือ "ใต้เบื้องพระยุคลบาท" นั้น น่าจะนำไปใส่ไว้ในบทเรียน ให้นิสิตรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกคน ได้รับรู้เข้าถึงใจว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงงานอย่างไร... จึงขอนำเรื่องเล่าที่ประทับใจของท่าน มาเล่าต่อแบบ "จับคำ นำประเด็น" ดังนี้

ขั้นตอนการทรงงานภาคสนาม

...การตามเสด็จจะเริ่มประมาณบ่าย ๓-๔ โมง ส่วนมากจะไม่เสด็จออกก่อนบ่าย ๓ โมง นอกจากจะมีลักษณะการเดินทางที่ต้องกินเวลา....

...จุดแรกหรือที่พระองค์ทำ คือ... หนีบแผนที่เสด็จไปหาประชาชนก่อนเพื่อนเลย ส่วนมากจะไปคุยกับคนแก่ ๆ ... เพื่อตรวจเช็คข้อมูลจากประชาชนกับข้อมูลที่ทรงสืบค้นเตรียมไวด้วยพระองค์เอง ...

...จังหวะ ๒ จะเข้ามาทันที คือ จะเรียกหน่วยราชการเข้ามา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ ผู้ว่าฯ มาเช็คข้อมูลซ้ำอีกที...

...จังหวะ ๓ จะทรงเรียกหน่วยปฏิบัติขึ้นมา ส่วนมากก็จะเป็นเรื่องน้ำ ... เรียกกรมชลฯ มาว่าตรงนี้ site ตรงนั้นเหมาะหรือไม่...

...ยกสุดท้ายจะเป็นผม (ดร.สุเมธ)... จะเรียกพวกเรา (หมายถึง กปร.) เข้าไปยืน ... พระองค์จะทรางวาดภาพวิสัยทัศน์ในบริเวณนั้นให้ดูทั้งหมดว่า... เมื่อมีน้ำมาแล้ว ชาวบ้านควรจะปลูกพืชพันธุ์อะไร เมื่อปลูกพืชถั่วเขียวเสร็จแล้วควรจะมีเครื่องทำวุ้นเส้นเล็ก ๆ ไหม ทรงวาดภาพโดยละเอียด....

... เมื่อวาดภาพอะไรเสร็จแล้วนั้น เอาจะเข้าไปถึง ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม แล้วก็ ๓ ทุ่ม บ่อยครั้งมากที่ต้องยืนอยู่กลางป่า ตัวแมลงบินว่อนไปหมด มาเล่นแสงไฟฉาย มาตอมพระพักตร์เต็มไปหมด

ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำที่สุด

ในหลวงจะทรงมีพระอัจฉริยะเรื่องน้ำ เชี่ยวชาญเรื่องน้ำอย่างยิ่ง ทรงสามารถใช้เวลาเพียง ๒-๓ นาที บนแผนที่ แล้วบอกได้ทันทีว่าจะสร้างเขื่อนตรงไหน และบอกได้ด้วยว่า ถ้าสร้างเสร็จน้ำจะท่วมจากตรงไหนไปถึงตรงไหน ระบายเป็นสีน้ำเงินออกมาให้ได้ทันที ....

ทรงมีพระราชดำริที่เรียบง่าย (แต่ลุ่มลึกเป็นองค์รวมที่สุด)

...เหนือน้ำขึ้นไปควรจะปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ... การปลูกป่าพวกเรามักไปปลูกแต่เชิงเขาหรือตีนเขา ทรงแนะว่า ให้ทนเหนื่อยหน่อย เอาเมล็ดปีนขึ้นไปปลูกบนยอดเขา เมื่อต้นไม้ชนิดใดมีผัก หล่นลงมา กระจายตามลมมา ก็จะไหลไปสุ่ตีนเขาได้...

...ครั้งหนึ่ง มีวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดสกลนคร มีถานพระ (ส้วมพระ) ยาวเหยียด พระท่านก็เก่ง ต่อท่อเอามาทำแก๊สใช้ในครัว... ในหลวงทรงรับสั่งว่า พระคุณเจ้าเห็นธรรมะหรือยัง? ... เห็นไหมนี่ในถานนี้เราถ่ายสิ่งสกปรกลงไป ถือว่าเป็นอธรรมใช่หรือเปล่า ... อยู่ในถังยังบูดยั่งเน่าก็ถือว่ายังเป็นอธรรม ... แต่เมื่อแปรสภาพไปเป็นแก๊สหุงต้มในครัว นี่ถือเป็นเป็นธรรมะ...

...คลองมักกะสัน พื้นที่ประมาณ ๑๐๓ ไร่ ยาว ๑ กิโลเมตร มีปัญหาน้ำเน่าเหม็น ลงไปในเรือเกือบเป็นลมคาเรือ...น้ำเสียจากบึงจะไหลลงคลองลาดพร้าวต่อไป ทรงรับสั่งว่าต้องกั้นไว้และบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะส่งไป ฝรั่งเขาว่าต้องใช้งบประมาณในการบำบัดน้ำเสียประมาณ ๒๐๐ ล้าน ทรงบอกว่าไม่กี่แสนก็บำบัดได้ "..ฉันจะเอาอธรรมสู้กับอธรรมให้มันออกมาเป็นธรรมะให้ได้.."

ทรงให้นำผักตบไมวิจัยพบว่า ทุก ๔๐ วัน ผักตบชวาจะขยายตัวเป็น ๓ เท่าตัว ทรงรับสั่งให้นำไม้ไผ่ทำเป็นคอกกั้นผักตบชวาไว้เป็นแนว ๆ แล้วดึงตนแก่ออกจำนวนหนึ่งทุก ๔๐ วัน ผักตบชวาที่งอกใหม่จะดูดซับเอาโลหะหนักซึ่งเป็นตัวการของการเน่าเสียของน้ำ ผักตบที่ดึงขึ้นให้เอาไปหมักสลายเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ยืนต้นได้ (ไม่ใส่ผัก) ....

(จบตอนที่ ๑ ครับ)

หมายเลขบันทึก: 618121เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท