อภิมหาโครงการด้านอุดมศึกษาและวิจัย (11)
โปรดอ่านตอนที่ 1 (click) , ตอนที่ 2 (click) , ตอนที่ 3 (click) , ตอนที่ 4 (click) , ตอนที่ 5 (click) , ตอนที่ 6 (click) , ตอนที่ 7 (click) , ตอนที่ 8 (click) , ตอนที่ 9 (click) , และตอนที่ 10 (click) ก่อนนะครับ
ตอนที่ 11 นี้จะเป็นตอนสุดท้าย เป็นการเก็บตกประเด็นที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
1. การจัดกองทัพ "สำนักงานพัฒนาอุดมศึกษาเพชราภิเษก
(องค์การมหาชน)" มีหลักการสำคัญที่สุดคือ
ให้ได้คนใจกว้างและเรียนรู้มาเป็นผู้บริหาร และผู้บริหาร
20 -22 คน ควรมาจากทุกสาขาวิชาและหลากหลายสถาบัน
คือเน้นพลัง synergy ของความแตกต่างหลากหลาย
แต่คนเหล่านี้ต้องมีทักษะด้านการจัดการและการทำงานเป็นทีมเป็นเครือข่าย
โดยมีเครื่องยึดโยงเข้าหากันคือ shared vision/common purpose
เพื่อทำงานสร้างสรรค์ให้แก่สังคมไทย/อุดมศึกษาไทย
นี่คือหัวใจที่สำคัญที่สุด
สิ่งที่ไม่ควรทำคือ หาคนที่เป็นพรรคพวก
"พูดกันรู้เรื่อง" "เป็นลูกศิษย์"
"เป็นลูกของเพื่อน" ฯลฯ มาเป็น key person
พูดใหม่ว่าต้องหลีกเลี่ยง cronyism ต้องใช้ระบบ merit
และต้องใช้พลังของความแตกต่างหลากหลาย
2. ขอย้ำเรื่องการเป็นองค์กรเคออร์ดิค
3. เรื่องวารสารวิชาการไทยรับใช้สังคมไทย
มีคนที่เคยร่วมกันคิดมามากพอสมควรแล้ว ได้แก่ ศ. ดร.
ยอดหทัย เทพธรานนท์, ศ. ดร. วิชัย บุญแสง, ศ. ดร.
นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย เป็นต้น
สามารถเริ่มจากทีมนี้ได้เลยและคนกลุ่มนี้ก็อาจช่วยคิดเรื่องระบบตำแหน่งวิชาการสายรับใช้สังคมไทยได้
4. อย่าลืมว่า การจัดการ
"สำนักงานพัฒนาอุดมศึกษาเพชราภิเษก (องค์การมหาชน)" นี้
จะต้องเป็นแบบทำไปพัฒนาไป เรียนรู้ไป
ไม่ใช่กำหนดรูปแบบวิธีจัดการแบบตายตัวตั้งแต่ต้น
แล้วยึดถือรูปแบบนั้นตายตัว
คือคณะผู้บริหารและคณะกรรมการนโยบายต้องเรียนรู้ร่วมกัน
และช่วยกันตั้ง/แก้กฎเกณฑ์กติกาให้เหมาะสมกับงาน
ซึ่งจะต้องมีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือเพิ่มขึ้นเป็นระยะ
ๆ ยิ่งมีประสบการณ์มากขึ้น
การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก็จะยิ่งมาก
ดังนั้นสำนักงานนี้ต้องมีความยืดหยุ่นคล่องตังสูงมาก
5. คนที่เรียนมาด้าน Evaluation มักเป็นคนด้านการศึกษา
ถ้าหากจะได้คนด้านการศึกษามารับผิดชอบ Empowerment Evaluation
ก็ควรระมัดระวังว่าจะเป็นทีมที่ homogeneous เกินไป
และยึดติดหลักวิชาด้านการประเมินเกินไป ผมเองชอบที่จะให้
บวท. (บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
จัดทีมประเมินมากกว่า
จะได้คนจากหลากหลายสาขาวิชาและมีมุมมองที่กว้างและหลากหลายกว่า
โดยต้องมีเงื่อนไขให้มีทีมงานจากสายสังคมศาสตร์ -
มนุษยศาสตร์ หรือคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (เรียนมาโดยตรง)
ด้านการประเมินมาร่วมทีมด้วย
6. เรื่องระบบข้อมูลและระบบ ICT จะเห็นว่า ดร. จันทวรรณ
น้อยวัน ได้เข้ามา comment
เพิ่มส่วนที่ผมยังไม่รู้ไม่เข้าใจ
การได้คนหนุ่มสาวที่มีผลงานทำจริงแบบ ดร. จันทวรรณ
จะช่วยให้โครงการสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารงาน
ลดภาระของคนลงได้มาก
7. คณะกรรมการนโยบายโครงการ ควรประกอบด้วยผู้มีจินตนาการ มองภาพใหญ่ มีประสบการณ์ด้านการจัดการและการบริหารงานวิจัยขนาดใหญ่/การผลิตบัณฑิตปริญญาเอก และในขณะเดียวกันควรมีกรรมการที่มาจากฝ่าย "ผู้รับ" คือสถาบันอุดมศึกษาที่เพิ่งเกิดใหม่ ที่ต้องการการพัฒนาคุณวุฒิของอาจารย์ ได้แก่ มรภ., มรม. เป็นต้น สัก 2 - 3 คน หรือไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด สำหรับเป็นผู้บอกความต้องการและสะท้อนภาพจริงของสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้
ขอย้ำเป็นครั้งสุดท้ายว่า ความเห็นทั้ง 11 ตอนนี้ อาจมีหลายส่วนที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ก็ได้ ผู้อ่านและนำไปใช้โปรดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน
หากบทความส่วนใดส่วนหนึ่งไปกระทบกระเทือนผู้ใด/องค์กรใดก็โปรดให้อภัย ผู้เขียนไม่มีเจตนาร้ายใด ๆ เลย เขียนไปด้วยความปรารถนาให้โครงการดี ๆ เช่นนี้ประสบความสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย
สุดท้าย ผมผิดหวังที่มีคนเข้ามาให้ข้อคิดเห็นเชิงเพิ่มเติม, โต้แย้ง, สนับสนุน น้อยไปครับ เรามี passive readers มากไป มีคนที่ต้องการร่วมด้วยช่วยกันน้อยไป
วิจารณ์ พานิช
31 ต.ค.48
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
ผมยังไม่แน่ใจครับ ว่าอาจารย์คาดหวังความเห็นจาก
คนกลุ่มใดบ้าง (ที่ว่าเป็น passive reader)
ผมเดาว่า ผู้อ่านส่วนใหญ่ อาจจะไม่เคยชินกับวัฒนธรรม
การแสดงความเห็นอย่างเสรีผ่านเว็บ และอาจจะกลัวว่า
จะกลายเป็นพันธะผูกผัน หรืออาจกลัวว่าจะเกิดการโต้แย้ง
ในเวทีสาธารณะ (ที่ใครก็เข้ามาอ่านกันได้มากมาย)
ในวัฒนธรรมไทยนั้น ผู้ใหญ่จะไม่ถกเถียงกันใน
เวทีลักษณะนี้ครับ (ไม่รู้ผมเดาถูกไหม)