การทำให้เกิดความสำเร็จในการจัดการความรู้ David J. Snowden
ได้เสนอกฎสำคัญไว้ 3 ประการ คือ
1).
การจัดการความรู้ต้องเกิดจากความเต็มใจไม่ใช่กะเกณฑ์หรือบังคับ
(Knowledge can only be volunteered,it can not be conscripted).
2). การเรียนรู้เกิดเมื่ออยากรู้และต้องการใช้งาน (I only know
what I know when I need to know it.)
3). คนเราโดยส่วนใหญ่แล้วจะรู้มากกว่าที่เราพูดได้
และยังได้พูดพูดได้มากกว่าที่เราเขียนได้เขียน (We always know more
than we can say, and we will always say more than we can write
down. )
จากกฏสำคัญดังกล่าว
หัวใจแห่งความสำเร็จประการหนึ่งของการจัดการความรู้ คือ
การจัดการความรู้ต้องเกิดอยู่ในทุกส่วนขององค์การหรือเรียกว่าฉาบติดอยู่กับทุกส่วนขององค์การโดยไม่แยกออกมาเป็นส่วนเฉพาะและเริ่มต้นจากคนขององค์การเอง
เพื่อให้สามารถดึงพลังปัญญาของคนในองค์การออกมาใช้ประโยชน์แก่องค์การให้ได้มากที่สุด
ให้คิดว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องของทุกคน ทุกฝ่าย
ทุกแผนกในองค์การ Snowdenได้กล่าวไว้ว่า
การจัดการความรู้เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Connective
tissue)ที่แฝงอยู่ในทุกส่วนขององค์การแห่งการเรียนรู้ (Knowledge is a
connective tissue of a learning organization.)
มีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ
องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเสมือนที่นา
ส่วนการจัดการความรู้เป็นเสมือนต้นข้าว ถ้าที่นาแตกระแหง
แห้งแล้งไร้ปุ๋ย ต้นข้าวก็ไม่อาจเติบโตและเหี่ยวแห้งตายได้
ต้นข้าวจะไม่สามารถออกรวง (Body of Knowledge)ได้ นั่นคือ
เมื่อข้าวไม่มีรวงก็ไม่มีเมล็ดข้าวหรือข้าวเปลือก (Knowledge)
เมื่อไม่มีข้าวเปลือกก็ไม่มีข้าวสาร(Wisdom)ที่จะเอาไปแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ได้
ดังนั้นการจัดการความรู้
จึงเป็นสิ่งที่ต้องมีในองค์การแห่งการเรียนรู้
เสมือนในนาต้องมีต้นข้าวจึงจะอุดมสมบูรณ์
แต่อย่างไรก็ตามชาวนาคงไม่ต้องการแค่ที่นาที่สมบูรณ์เท่านั้นเพราะมันเป็นแค่ปัจจัยการผลิต
และคงไม่ต้องการแค่จำนวนต้นข้างเท่านั้น
ผลลัพธ์ที่ต้องการแท้จริงคือเมล็ดข้าว
ทำนองเดียวกันการจัดการความรู้คงไม่ได้ต้องการว่ามีการจัดการความรู้กันอย่างไรบ้าง
ผลลัพธ์ที่แท้จริงควรทำให้งานดีขึ้น
คนดีขึ้นและความรู้ขององค์การมากขึ้น
ไม่มีความเห็น