บทที่6 ​วิวัฒนาการของการศึกษาไทย


วิวัฒนาการของการศึกษาไทย

ที่มาของภาพ: https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%...

วิวัฒนาการการจัดการศึกษาไทย ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยแต่ละยุคแต่ละสมัย การศึกษาประวัติและวิวัฒนาการศึกษาของไทยที่ผ่านมา เพื่อที่จะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการจัดศึกษาของไทยยุคสมัยโบราณ การจัดการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย การจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การจัดการศึกษาของไทยสมัยปฏิรูป ยุคแรกเริ่ม ยุคขยายงาน ยุคแสวงหา ยุคพัฒนา ยุคแห่งความหวัง การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยโบราณ

ที่มาของภาพ: https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%...

การศึกษาไทยยุคสมัยโบราณ จัดการศึกษาที่ไม่มีระบบและแบบแผน คือ ไม่มีระบบโรงเรียน และชั้นเรียน วัดเป็นแหล่งให้ความรู้ มีพระภิกษุเป็นผู้สอนเพียงเพื่อประกอบอาชีพ วิชาความรู้ส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดไม่มีการจดบันทึกไว้ ใช้ความสามารถในการท่องจำมากกว่า ซึ่งการจัดการศึกษาสมัยโบราณไม่มีแบบแผนและรูปแบบที่ชัดเจน จึงทำให้การศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากนัก


เผยแพร่เมื่อ 29 ม.ค. 2014


การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1983) การศึกษาที่สำคัญคือ การกำเนิดอักษรไทยครั้งแรกคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สถานที่เรียน 3 แห่งคือ สำนักสงฆ์ต่อมาเป็นวัด อีกแห่งหนึ่งคือ สำนักปราชญ์ราชบัณฑิต และท้ายสุดคือ ราชสำนัก และการจัดแบ่งการศึกษาเป็น 4 องค์คือ

จริยศึกษา สอนศีลธรรมจรรยา เน้นหลักพุทธศาสนาแบบหินยาน พระภิกษุเป็นผู้สอน สถานศึกษาที่สำนักสงฆ์หรือวัด เน้นการปฏิบัติ

พลศึกษา สอนผู้ชายสำหรับป้องกันตัวใช้ในเวลาศึกสงคราม

พุทธิศึกษา ศึกษาจากวัด มีพระภิกษุเป็นผู้สอน การอ่าน เขียน ภาษาไทยภาษาบาลี และวิชาความรู้เบื้องต้น

หัตถศึกษา สอนผู้หญิง พ่อแม่ที่มีความรู้ด้านอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือทำมาหากิน และสืบวงศ์ตระกูล อาทิ งานประดิษฐ์ เย็บปักถักร้อย และทอผ้า


เผยแพร่เมื่อ 25 มี.ค. 2016

  • หมวดหมู่

  • สัญญาอนุญาต

    • สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

การจัดการศึกษาไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310)มีจัตุสดมภ์ 4 คือ เวียง วัง คลัง นา มีระบบศักดินา และการจัดการศึกษาที่วัด และบ้าน มีหน้าที่อบรมเด็กนักเรียน อีกทั้งได้ติดต่อกับฝรั่งชาติตะวันตก ค้าขายและเผยแพร่ศาสนา มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาคริสต์ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกรับวิชาการแบบยุโรป และแต่งแบบเรียนคือ จินดามณี เล่มแรกของไทย


เผยแพร่เมื่อ 22 ต.ค. 2016

วีดีโอนี้จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาประวัติ การปกครอง การเปลี่ยนแปลงในสมัยกรุงศรีอยุธยาและนำมาทำสื่อเพื่อถ่ายทอดความเป็นมาให้ผู้คนในสมัยปัจจุบันได้รับรู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคนั้น การจัดทำวีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อนุญาตให้ผู้สนใจนำไป


การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การจัดการศึกษาสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-2325) มีการเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัด ชาวบ้านที่มีฐานะดีและข้าราชการ นิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาเล่าเรียนที่วัด และการจัดการศึกษาตอนต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มนำวิทยาการใหม่ ๆ จัดพิมพ์ตำราเรียน เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปการศึกษาของไทย

เผยแพร่เมื่อ 3 ส.ค. 2016

สื่อการเรียนการสอน สังคมศึกษา ป.6 ชุดนี้
เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3)

วันนี้เราจะมาเรียนรู้กัน ในหัวข้อย่อย ต่อไปนี้ จร้าาาา


แนวคิดการจัดการศึกษาไทยสมัยปฏิรูป

แนวคิดการปฏิรูปการจัดการศึกษาของไทย เกิดขึ้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และทำให้เกิดระบบโรงเรียนขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งการจัดการศึกษาเดิมอยู่วงจำกัดเฉพาะชาวบ้านที่มีฐานะดีและบุตรข้าราชการ และคนที่ได้รับการศึกษาจึงเป็นคนชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปขาดโอกาสมากและมีผลจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)


เผยแพร่เมื่อ 21 ต.ค. 2015

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอน พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา พัฒนาคน
https://www.facebook.com/Pacific-Insp...


ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย: ก้าวแรก

ยุคแรกเริ่มของการศึกษาไทย ก้าวแรก (พ.ศ. 2435-2475) การจัดการศึกษาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนคือ “โรงเรียน” และกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่จัดการศึกษา ประกอบกับมีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับสำหรับราษฎรทุกคนทุกพื้นที่ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อรับราชการและการประกอบอาชีพตามที่ตนถนัด เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นระบบสู่รูปแบบที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น

ยุคขยายงานของการศึกษาไทย : ก้าวที่สอง

ยุคขยายงานของการศึกษาไทย ก้าวที่สอง (พ.ศ. 2475-2503) การจัดการศึกษาเป็นการขยายการศึกษาภาคบังคับออกให้กว้างขวางขึ้น ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ภายหลังได้มีการเร่งรัดปรับปรุงการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

ยุคแสวงหา: เป็นการแสวงหาแนวทางใหม่ในการจัดการศึกษา

ยุคแสวงหา การจัดการศึกษาในปี พ.ศ.2503-2520 ได้ขยายการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลผลักดันให้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ มุ่งพัฒนาคนได้จัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง และขยายการศึกษาทุกระดับให้มีคุณภาพมาตรฐาน ที่ส่งเสริมด้านจริยธรรม คุณธรรม และมีวินัยรวมทั้งสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ อีกทั้งจัดตั้งมหาวิทยาลัยและ ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ยุคพัฒนา: การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

ยุคพัฒนา การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พ.ศ. 2520-2541) ยุคพัฒนา ที่มีความพยายามเพื่อที่จะนำเอาแนวคิดของนักการศึกษาไทยมาใช้ในการจัดการศึกษาของชาติ โดยนำบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนบริบทของสังคมไทยที่เหมาะสม และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 1-6 จัดให้เป็นระบบสากล ขยายโอกาสทางการศึกษาทุกกลุ่ม อุดมศึกษาขยายไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อเปิดโอกาสทุกคนทุกอาชีพได้มีความรู้กว้างมากยิ่งขึ้น และมีพระราชบัญญัติการศึกษาครั้งแรก ที่สอดรับกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

ยุคแห่งความหวัง: การปฏิรูปการศึกษา

ยุคแห่งความหวังการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) เปลี่ยนองค์กร เดิม 14 เหลือเพียง 5 องค์กรและตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิรูป 3 ระยะคือ จัดตั้งศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนสำนักปฏิรูปเป็นสำนักงานโครงการนำร่อง และประกาศเขตพื้นที่การศึกษา อีกทั้งปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา กระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระ คล่องตัวมากขึ้นประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมจัดการศึกษา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานทุกระดับ และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นตามศักยภาพ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งหวังของคนไทยในเรื่องของคุณภาพของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ ซึ่งเพื่อนำพาประเทศไปสู่สากล

การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน

การจัดการศึกษาเตรียมเข้าสู่สมาคมอาเซียน (พ.ศ.2558) การเตรียมประเทศเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่เกิดจากผู้นำ 5 ประเทศคือ ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ สร้างความตระหนัก หลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เตรียมบุคลากรครูและนักเรียนเพื่อรองรับ และขยายโอกาสทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและเศรษฐกิจของยุคโลกาภิวัฒน์


เผยแพร่เมื่อ 11 ธ.ค. 2013

ส่งอาจารย์


หมายเลขบันทึก: 618044เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2016 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2016 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท