"วัดงิ้วราย" แหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในตำบลงิ้วราย


"วัดงิ้วราย"เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีสถานที่น่าสนใจหลายสิ่ง เช่น รั้วรอบมณฑปรูปทหารสร้าง พ.ศ.๒๔๙๑ สะพานข้ามคลองราวสะพานเป็นรูปคนสร้างราว พ.ศง ๒๔๗๑

แหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในตำบลงิ้วราย ที่ขอแนะนำ คือ วัดงิ้วราย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาและสถานที่น่าสนใจ ดังนี้

ประวัติวัดงิ้วราย

ในหนังสือประวัติวัดในจังหวัดนครปฐม หน้า ๒๗๙-๒๘๐ กล่าวไว้ว่า

ชื่อมาของงิ้วราย มาจากสมัยก่อนมีไม้งิ้วขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ดังปรากฎในวรรณคดีเรื่องนิราศพระประธม และนิราศพระแท่นดงรัง

วัดงิ้วราย สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (บางตำนานว่าสร้างราว พ.ศ. ๒๓๖๐) เพราะลักษณะอุโบสถเป็นแบบหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีลักษณะคล้ายเรือสำเภา มีภาพลายนูนก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีหน้าต่างด้านละ ๒ บาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถ (ปัจจุบันนี้รื้ออกแล้วก่อสร้างเป็นวิหารเรือนแก้วขึ้นแทนที่ มีเพียงประตูหน้าด้านเดียว) พระพุทธรูปอันเป็นพระประธานอุโบสถหลังเก่าสร้างด้วยศิลาแลงประทับนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย มีพระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบพระประธานอีก ๕ องค์

อุโบสถหลังใหม่เป็นทรงอุโบสถทั่วไป หลังคา ๓ ชั้น ประตู ๔ บาน หน้าต่างด้านละ ๕ บาน มีกำแพงแด้วล้อมรอบประกอบด้วยซุ้มประตู ๔ ซุ้ม เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระประธานในอุโบสถได้จำลองมาจากวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา


พระครูขันตยาภิรัต เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย ขณะรับบิณฑบาตในงานวันออกพรรษา


อุโบสถหลังที่สอง

หลวงพ่อโสธรจำลอง พระประธานในอุโบสถ


หลวงพ่อโสธรจำลอง พระประธานในอุโบสถ

ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ ซึ่งเป็นจุดน่าสนใจของวัดงิ้วราย

๑. อุโบสถหลังแรก ไม่ปรากฎปีที่สร้าง สันนิษฐานว่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

๒. อุโบสถหลังที่สอง พ.ศ. ๒๔๙๘

๓. สะพานข้ามคลอง (ข้ามคลองลัดงิ้วรายด้านข้างวัด) พ.ศ.๒๔๗๑

๔. มณฑป พ.ศ.๒๔๗๙

๕. หอฉัน พ.ศ.๒๔๙๐

๖. ศาลาการเปรียญหลังใหม่ พ.ศ.๒๕๑๗

๗. วิหารอดีตเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๒๓

มณฑปรอยพระพุทธบาท มีรั้วกำแพงเป็นรูปทหาร สร้างปี พ.ศ.๒๔๗๙


สะพานข้ามคลองข้างวัด ราวสะพานเป็นรูปคนถือดอกไม้ สร้างปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ระบุที่ราวสะพานด้านแม่น้ำ)

สะพานข้ามคลอง ๓ สะพาน ติดกัน มีรูปแบบ ๓ แบบ คือ ราวสะพานโค้ง ราวสะพานเป็นรูปคน และสะพานรถข้าม สะพานรถไฟ


บนราวสะพานระบุปีที่สร้างสะพานโค้ง พ.ศ.๒๔๗๑

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ตรวจเยี่ยมคลองลัดงิ้วราย

และเปิดโครงการคนงิ้วรายรักษ์คลองสวยน้ำใส ณ โรงเรียนวัดงิ้วราย ๓๑ พ.ค. ๒๕๖๐

โรงเจ หน้าวัดงิ้วราย

รายนามเจ้าอาวาสและอดีตเจ้าอาวาส

รูปที่ ๑ พระอาจารย์ยวง

รูปที่ ๒ พระอาจารย์ทรัพย์ พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๔๐

รูปที่ ๓ พระครุปัจฉิมทิศบริหาร (บุญเกิด รัตนสิงห์) พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๘

รูปที่ ๔ พระครูปุริมานุรักษ์ (บุญมี สุขาบูรณ์) พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๑๕

รูปที่ ๕ พระจารย์สมปอง อาทิจฺจวํโส (เรืองขจร) พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๒๑

รูปที่ ๖ พระมหาสมบัติ ยสสฺสโม (เทพโพธิ์จ้อย) พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๗

รูปที่ ๗ พระครูขันตยาภิรัต (เชื่อม ขนฺติธโร) พ.ศ.๒๕๒๗-ปัจจุบัน

ต้นงิ้ว สัญลักษณ์ที่มาของชื่อวัดงิ้วราย

ต้นงิ้ว ในวัดงิ้วราย ริมแม่น้ำท่าจีน ปัจจุบันเหลือเพียง ๕ ต้น ต้นใหญ่สุดอยู่ใกล้ปากคลองลัดงิ้วราย

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในวัดงิ้วราย ยังได้ประชาสัมพันธ์ผ่านนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ อีกเป็นระยะ

คอลัมน์ลมหายใจสีเขียว โดยกระวาน(นามแฝง) เนชั่น ฉบับ 1285 วันที่ 13 ม.ค. 2560 หน้า 39.

นั่งรถไฟ ลงเรือเมล์ ชมลิเกที่งิ้วราย


คอลัมน์นอกตำรา โดยเอนก นาวิกมูล. เนชั่น ฉบับ 691 วันที่ 29 ส.ค. 2548

เรื่องเล็กๆ บนราวรั้ว




ความเห็น (1)

เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท