​การใช้ "พระวินัย" ในชีวิตจริงๆ


การใช้ "พระวินัย" ในชีวิตจริงๆ

--------------------------------------
พระวินัย (ในพระไตรปิฎก) มีไว้ให้ผู้ "เห็นภัย" (ภิกขุ) ในวัฏฏสงสาร นำไปปฏิบัติ เพื่อการหลีกไกลจากกิเลส ให้มากที่สุด
..............................................
แม้ยังไม่เป็นบรรพชิต (ผู้เว้นทั่ว ทุกด้าน เป็นผู้พ้นจาก "กิเลส" ทั้งปวง)
ก็สามารถเป็นผู้เห็นภัย (ภิกขุ) ได้ และใช้พระวินัยในการพัฒนาชีวิตได้
**********************************
แต่ก่อน เมื่อเริ่มศึกษาพระธรรม เฉพาะในส่วน "ปริยัติ" นั้น ผมเน้นศึกษาพระอภิธรรม เนื่องจากผมเข้าใจว่า พระอภิธรรมนั้น เป็น "แก่น" ความรู้ ของพระพุทธศาสนา

แต่...แล้ว เมื่อถึงขั้นปฏิบัติตามหลักพระอภิธรรม ก็เลยต้อง..ค่อยๆถอยกลับมาศึกษา "พระสูตร" ที่ผมเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การปฏิบัติจริงๆ ตามหลักพระอภิธรรม นั้นเป็นไปได้อย่างชัดเจน ราบรื่น และก้าวหน้าได้ดี

และ ต่อมา.....
ช่วงหลังๆนี้ ผมก็ได้ขยายกรอบความสนใจการศึกษา มาที่ "พระวินัย" เพราะเข้าใจว่า เป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการเข้าหาพระสูตร และ พระอภิธรรม
เพราะเป็นการนำออกสิ่งที่ไม่ดี ออกไปเสียก่อน จึงจะสามารถทำความดีได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น สะดวกขึ้น
และ เมื่อละเว้นสิ่งที่ไม่ดี และเน้นทำความดีได้มากขึ้นแล้ว จึงจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาปัญญา

ลดละกิเลส รู้เห็นไปตามความเป็นจริง ที่สูงกว่า "ความดี" ตามหลัก "พระอภิธรรม" ไปสู่ "ปัญญา" ได้ดียิ่งๆขึ้นไป
-------------------------------------------
ดังนั้น ณ วันนี้ ผมได้ศึกษาธรรมะ ผ่านมานานพอสมควร และเข้าใจว่า

ในขั้นการเรียนรู้เชิง "ปริยัติ" นั้น ผมถนัดที่จะเรียนรู้ เริ่มต้นจากพระอภิธรรม แล้วจึงมาศึกษาพระสูตร และ พระวินัย ตามลำดับ
........................................................
แต่เมื่อจะนำไปสู่ขั้นตอนของการปฏิบัติ นั้น
ผมต้องเริ่มจาก พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ตามลำดับ อย่างผสมผสานกลมกลืนกัน แบบเป็นเนื้อเดียวกัน เกิดขึ้นเกือบจะพร้อมๆกัน ยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ ที่ต้องมีเปลือก มีเนื้อไม้ และ มีแก่น ตามลำดับ อย่างสอดคล้องกัน

จึงจะเป็นต้นไม้ที่แข็งแรง สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่จะทำได้ .......ฉะนั้น
+++++++++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 617791เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2016 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2016 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท