แผนที่เดินดินเครื่องมือศึกษาพัฒนาสุขภาพขุมชนอำเภอเก่า (1)


อำเภอหลังแรกของปากพะยูน สัณนิษฐานว่า ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนอนุบาลปากพะยูนในปัจจุบัน ซึ่งเดิมทีเป็นที่ดินของวัดรัตนาราม ต่อมาเมื่อมีศุขศาลา มีสถานีตำตรวจ จึงได้ย้ายวัดรัตนารามออกไปตั้งที่อ่าวมายาหัวแหลมบ้านออก คนทั่วไป รู้จักเรียกชื่อวัรัตนารามว่า “วัดบ่อหมาแปะ” เมื่ออำเภอหลังเก่าทรุดโทรม ก็ย้ายอำเภอขึ้นมาบนควน และย้ายหน้าท่า ใหญ่มาอยู่ที่หน้าศุขศาลา และย้ายที่ทำการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ 3 ตำบลบางเตง เทศบาลอ่าวพะยูน ในปัจจุบัน(2559)ขณะบันที่บันทึก

<p “=””>

เทศบาลตำบลปากพะยูนแบ่งการปกครองออกเป็น 4 ชุมชน มีชุมชนบ้านออก ชุมชนบ้านกลาง ชุมชนอำเภอเก่าและ
ชุมชนหัวฝาด ตั้งชื่อตามภูมิบ้านนามเมือง สำหรับชุมชนอำเภอเก่าเป็นชุมชนดั้งเดิม มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ คือ
หน้าท่าใหญ่ และศาลอำเภอ บ่อน้ำป่าไม้ ศูนย์การแพทย์และอนามัย(นพ.ไตรวิทย์ เตมหิวงศ์นพ.คนแรกของปากพะยูน
ปี 2516)และศุขศาลา และตลาดประชาบาล(ซึ่งยังคงเปิดบริการอยู่) ซึ่งอยู่ไกล้กับท่าเรือหรือหน้าท่าใหญ่ประมาณ 300
เมตร ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น
จากการสืบค้น มีท่าเรือหลักๆของเทศบาลตำบลปากพะยูน 4 แห่ง คือ
ท่าเรือโรงสีแปะหมี
ท่าเรือโรงไม้หวาสอ
และท่าเรือโรงสีโกหิ้น หรือท่าเรือโรงน้าแข็ง
และท่าใหญ่
อำเภอหลังแรกของปากพะยูน สัณนิษฐานว่า ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนอนุบาลปากพะยูนในปัจจุบัน ซึ่งเดิมทีเป็นที่ดินของวัดรัตนาราม ต่อมาเมื่อมีศุขศาลา มีสถานีตำตรวจ จึงได้ย้ายวัดรัตนารามออกไปตั้งที่อ่าวมายาหัวแหลมบ้านออก คนทั่วไป
รู้จักเรียกชื่อวัรัตนารามว่า “วัดบ่อหมาแปะ” เมื่ออำเภอหลังเก่าทรุดโทรม ก็ย้ายอำเภอขึ้นมาบนควน และย้ายหน้าท่า
ใหญ่มาอยู่ที่หน้าศุขศาลา และย้ายที่ทำการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ 3 ตำบลบางเตง เทศบาลอ่าวพะยูน ในปัจจุบัน(2559)ขณะบันที่บันทึก
ปัจจุบันชุมชนอำเภอเก่าเป็นชุมชนที่มีประชกรหนาแน่น มีสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญหลายแห่งเช่น สหกรณ์การ
เกษตร ปากพะยูน ศูนย์การแพทย์ชุมชน และแพทย์แผนไทย วัดธรรมประยูร สำนักงานไฟฟ้า หน้าท่าใหญ่ โรงเรียน
อนุบาลบ้านปากพะยูน ท่าเรือสาธารณะ ตลาดประชาบาล สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถานีตำตวจ
ภูธร ประชากรย้ายถิ่นมีมาก ประชากรที่เป็นคนดั้งเดิม ยังยากจน และมีหนี้สิน ส่วนการเข้าบริการสาธารณะสุขค่อนข้างดี
แต่ยังขาดการดูแลตนเองและชุมชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ
ในปี 2559 ทาง สปสช จับมือกับ สช.จัดทำโครงการ ธรรมนูญสุขภาพตำบล ในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ก็เข้าร่วม
โครงการการเสนอพื้นที่ ธรรมนูญสุขภาพตำบล 18 พื้นที่ในเบื้องต้น ซึ่งมี เทศบาลปากพะยูน เป็นหนึ่งใน 18 แต่หลุด
โครงการเมื่อทางเทศบาลไม่ได้เข้าร่วมเวทีทำความเข้าและความร่วมมือ
เมื่อทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โดยอาจารย์ ดร.วรพล(อาจารย์ชาบขอบ บล็อกเกอร์โกทูโนว์) ติดต่อมา
เพื่อหาพื้นที่ให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี่ ได้ฝึกภาคปฎิบัติ ผู้เขียนก็ได้ประชุม สภาองค์กร
ชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูนและ คณะทำงาน ศวพถ(ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิน) เพื่อให้นักศึกษามาฝึกปฎิบัติการ ในพื้นที่อเภอเก่า คาดหวังว่า การฝึกปฎิบัตการภาคสนามชุมชนคงได้ข้อมูล
และชุดความคิดที่ทางชุมชนจะได้ใช้เป็นเครื่องมือต่อยอดไปสู่ธรรมนูญสุขภาพตำบลต่อไป……….

</p>

หมายเลขบันทึก: 617670เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2016 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2016 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประวัติปากพะยูน

บ้านปากพะยูนตั้งอยู่ในตำบลปากพะยูนอำเภอปากพะยูนนับเวลาย้อนหลังไปประมาณ300 ปี

ราว พ.ศ.2200ชาวมุสลิมจากปากีสถานได้เข้าถิ่นฐานเป็นพวกแรกซึ่งมีร่อยรอยจากมัสยิดเก่าบ้านออก

ต่อมาในศตรวรรษที่24ราว พ.ศ.2310ได้มีชาวมุสลิมจากไทรบุรีเข้มาตั้งรกรากเป็นชุมชนเล็กๆขึ้นอีก

พวกหนึ่งที่บริเวณริมฝั่งทะเลสาบ เนื่องจากทะเลสาบตอนในเป็นทีตั้งชุมชนปากพะยูนอุดมสมบูรณ์

ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิดชาวบ้านจึงมีอาชีพจับปลาเป็นหลักชุมชนแห่งนี้ค่อยๆเจริญเติบโตจนเป็น

ชุมชนใหญ่ในแถบริมฝั่งรอบๆทะเลสาบสงขลาตอนใน

คำว่าปากพะยูนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมใช้ ปากพะยูน ( ไม่มีะ) เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น ปากพะยูน

เมื่อ พ.ศ.2515และก่อนที่จะเป็น ปากพะยูนก็เคยใช้เขียน “ปากพยูร”มาก่อน

ความเป็นมารขอชื่อนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้เพียงสันนิษฐานว่าปากพะยูนหมายถึงบริเวณปากน้ำ

เป็นที่อยู่ หรือมีปาลาพะยูนมากส่วนชื่อปากพะยูนบางท่านบอกว่าหมายถึงปากน้ำที่ออกสู่ทะเล

บ้านปากพะยูนในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตัวอำเภอปากพะยูนจากการเริ่มตั้งชุมชนชาวประมง

อิสลามอาชีพดั้งเดิมของปากพะยูน คือการประมงปัจจุบันในสภาพธรรมชาติทางนิเวศได้เปลี่ยนไป สัตว์น้ำ

จากธรรมชาติลดน้อยลงชาวปากพะยูนจึงหันประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำเช่น เลี้ยงปลากะพงขาว ทั้งในกระชัง

และในบ่อดินและมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นอาชีพที่ทำเงินให้ผู้ประกอบการเป็นจำนวนมหาศาล

เนื่องจากในปากพะยูนเป็นชุมชนชาวไทยมุสลิมเกินกว่า70 เปอร์เซ็นต์ขนบธรรมเนียมประเพณี

ส่วนใหญ่เป็นแบบชาวมุสลิมส่วนชุมชนไทยพุทธซึ่งกระจายปะปนอยู่ในหมู่ชาวมุสลิมก็ยังคงมีขนบธรรม

เนียมชาวพุทธในท้องที่อื่นๆ ของจังหวัดพัทลุงทั่วไป

ปากพะยูนเป็นหนึ่งในชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความลงตัวด้านสังคม การเดินไปข้างหน้าในยุคต่อไปน่าจะพร้อมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจากปัจจัยพื้นฐานความเป็นเลิศประมงรายย่อย การเพาะปลูกที่หลากหลายตามความเหมะสมของพื้นที่ที่ปลอดสารพิษตามหลักชีวะอนามัย เริ่มต้นด้วยระบบที่ง่ายๆใช้ภูมิป้ญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เมื่อครัวเรือนมีอยู่มีกินการพัฒนาด้านสุขอนามัยสู่คุณภาพชีวิต

สวัสดีครับอาจารย์ จำรัส

ว่างๆแวะมานอนคาที่ปากพะยูน ถกแถลงคน วปชฺกันอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท