สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

จุดประกายความคิดคนรุ่นใหม่...ด้วยเครื่องมือประเมินแบบเสริมพลัง (EE : Empowerment Evaluation)



















การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการทำงานโครงการพัฒนาเยาวชนระดับจังหวัดเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ในการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ฝึกอบรมไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จ.ชลบุรี นับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่โครงการในการบริหารจัดการโครงการ และประเมินผลโครงการ โดย ใช้เครื่องมือการประเมินแบบเสริมพลัง (Empowerment Evaluation : EE)




















สำหรับภาคีที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย 1.ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม (องค์กรสาธารณประโยชน์) ผู้ดำเนินโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก นำโดยนายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ 2.มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ ผู้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน นำโดย นายอภิสิทธิ์ ลัมยศ 3.ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ นำโดยนายรุ่งวิชิต คำงาม และ 4.สงขลาฟอรั่ม ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชน นำโดยนางพรรณิภาโสตถิพันธุ์
















<<Check in>>





วันที่ 1

เมื่อทุกคนต่างได้ Check in ความรู้สึกของการเข้าร่วมเวทีแล้ว นายกิตติรัตน์ ปลื้มจิตร เจ้าหน้าที่โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อการพัฒนาเยาวชน ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในเวทีครั้งนี้โดยมีใจความว่า "....เวทีครั้งนี้ทางมูลนิธิฯ ได้จัดขึ้นเพื่อ 1. เป็นการทบทวนเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้ในสองปีที่ผ่านมาได้มีการขับเคลื่อนกันไปแล้ว เกิดผลอย่างไรบ้าง ตัวชี้วัดที่ออกมามีอะไรบ้าง จุดอ่อน จุดแข็ง อยู่ตรงไหน 2.เป็นการทบทวนกิจกรรมที่ออกแบบนั้นได้ทำอะไรบ้าง แต่ละกิจกรรมที่ทำนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อที่ 3.การปรับการทำงาน กระบวนการ ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านการเรียนรู้ของแต่ละทีม และเทกองความคิดร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการทั้งสองวันนี้ จะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปทบทวนแล้วนำไปสู่แผนปีที่ 3 ต่อไป "


<<โจทย์สำหรับการขับเคลื่อนงานตลอด 2 วัน>>

­

จากนั้นแต่ละพื้นที่ต่างได้ระดมความคิดและทบทวนการออกแบบกิจกรรมของโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จากโจทย์ใหญ่ที่ได้รับ ดังนี้

1.เป้าหมายที่เราต้องการบรรลุของโครงการคืออะไร มาลองทบทวนวิสัยทัศน์ (vision) ร่วมกัน

2. นิยามเป้าหมายให้ชัดเจนที่จับต้องได้ ทำให้เห็นร่วมกัน สิ่งที่เราอยากไปให้ถึง คืออะไร

3.ทบทวนดูว่าเป้าหมายอะไรที่เราทำสำเร็จ และไม่สำเร็จ

4.อะไร คือเรื่องหลักที่เราจะผลักดันให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น เพื่อการพัฒนางานในปีต่อไป

­

เมื่อได้รับโจทย์แล้ว แต่ละพื้นที่จึงแยกย้ายกันไปขบคิด "ทบทวนงานที่ผ่านมา และนำมาตั้งหลักกับงานที่ทำอยู่ เพื่อหาคำตอบในพัฒนางานสู่อนาคตให้เป็นรูปธรรม"


เริ่มกระบวนการ >>>

EE 1 ทบทวน Vision ( Vision เดิมคืออะไร) ทบทวนKRA/KPI

กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • เพื่อให้ทีมตั้งหลักให้เห็น เป้าหมายและยุทธศาสตร์การ เคลื่อนงานร่วมกันในทีม
  • ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อ นำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจน ร่วมกัน เรื่อง Vision KRA KPI
  • เพื่อให้ได้ KRA KPI ที่ชัดเจนผ่านการวิเคราะห์และนิยามร่วมกันในทีม

โดยให้ผู้ร่วมเวทีแต่ละคนเขียน เป้าหมายที่อยากเห็น และทบทวน vision ตามความเข้าใจขององค์กร และให้ภาคีทบทวน KRA KPI ในแต่ละด้านของตนเอง

­












­





<ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงครามฯ>>



<ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ>>



<<สงขลาฟอรั่ม>>



<<มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ>>

­

­

­

เมื่อภาคีทั้ง 4 พื้นที่ได้ทบทวนงานในปีที่ผ่านมาแล้ว จึงได้สรุปนิยามวิสัยทัศน์ในการทำงานของตนเอง ดังนี้

เริ่มจากศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม(องค์กรสาธารณประโยชน์) ผู้ดำเนินโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนงานในปีที่ 3 ว่าโครงการฯเป็นกระบวนการเรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่น เพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นผู้นำที่มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเติบโตเป็น "พลเมือง" ที่มีคุณภาพ


ทางด้านมูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ ผู้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน มองว่าวิสัยทัศน์ในการกำหนดทิศทางเพื่อขับเคลื่อนงานในปีหน้านั้น ควรให้พลังเยาวชนน่านตระหนักรู้สถานการณ์ปัญหา ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเป็นกลไกในการทำงานพัฒนาเมืองน่าน และเกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบ ที่สามารถถ่ายทอดชุดความรู้ให้กับพื้นที่อื่นได้


ในฝั่งของทางศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ได้นิยามวิสัยเพื่อขับเคลื่อนงานต่อว่า พลังเครือข่ายเยาวชนเป็นพลังแห่งการตื่นรู้ ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบ้านเกิด บนฐานความรู้ภูมิปัญญา จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย จ.ศรีสะเกษ


ส่วนของสงขลาฟอรั่ม ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชน ได้แจงว่า โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือในการสร้าง "พลเมืองเยาวชน" ให้รู้สิทธิ หน้าที่ สิทธิชุมชน มีทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกัน โดยใช้พื้นที่เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในโลกยุคใหม่




เพื่อความต่อเนื่องในการค้นหาคำตอบการทำงานในปีหน้า ทั้งหมดไม่รีรอจึงดำเนินการต่อในSectionของ EE 2 ประเมินความสำเร็จตาม KRA/KPI (vision เดิมที่สำเร็จมีอะไรบ้าง)

มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • เพื่อให้ผลลัพธ์ความสำเร็จ การทำงานในแต่ละด้านอย่าง ชัดเจนบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์
  • เพื่อให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อนของการทำงาน
  • ได้เห็นแนวทางในการพัฒนา งานระยะต่อไป

กระบวนการนี้ได้ให้ผู้เข้าร่วม แต่ละองค์กรร่วม ประเมินผลลัพธ์ตาม KRA แต่ละตัว โดยแบ่งกลุ่มย่อยแต่ละจังหวัด โดยมีขั้นตอน (1) ให้โจทย์ทบทวน ผลลัพธ์ทีละ KRA โดยให้ ผู้เข้าร่วมคิดว่า ในมุมมอง ของตัวเอง จากการดำเนินงาน 2 ปี และ KRA แต่ละตัวได้ผลมากน้อย เพียงใด (1-10 คะแนน) เพราะอะไร และมุ่งเน้นการพูดคุยและวิเคราะห์ผลลัพธ์จาก มุมมองความเห็นที่แตกต่างกัน (2) สรุปค่าเฉลี่ย KRA แต่ละด้าน และจบด้วยการ (3) ทำผังใยแมงมุม

­

ต่อจากวันแรก สู่....

วันที่ 2

โดยเริ่มจาก การแลกเปลี่ยนผลประเมินระหว่าง 4 จังหวัด

กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • ต้องการให้แต่ละพื้นที่ได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ผลลัพธ์ความสำเร็จ ปัจจัย เงื่อนไขความสำเร็จของงานแต่ละจังหวัด
  • เห็นช่องทางในการพัฒนางานของตนเอง
  • ได้เห็นแนวทางใหม่ไปปรับ ใช้ในการพัฒนางานของตนเอง

ต่างได้นำผลลัพธ์จากวิเคราะห์มานำเสนอข้ามกลุ่ม รวมถึงการเชื่อมโยงประเด็นร่วมกับกลุ่ม(ที่ทำงานและผู้เกี่ยวข้อง)ในจังหวัด เพื่อการขับเคลื่อนงานได้อย่างยั่งยืน

เมื่อภาคีทั้ง 4 พื้นที่ (สงขลา , ภาคตะวันตก,ศรีสะเกษ , น่าน)ได้วิเคราะห์ ทบทวน Vision , KRA ,KPI สรุปและวิเคราะห์เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนางาน ปีที่ 3 กันเรียบร้ อยแล้ว ก็ได้นำเสนองานของตนเอง ทั้งการเรียนรู้ จุดอ่อน จุดแข็ง และประเด็นที่จะยกระดับการทำงานในปีถัดไปได้อย่างน่าสนใจ เช่น

สงขลาฟอรั่ม - "ในปีที่ 3 เราต้องการยกระดับการพัฒนาโคช ให้สู่การเป็นครูพลเมือง"

ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ - "การเรียนรู้โซนพื้นที ทั้งระดับโซนและระดับจังหวัด ใช้ประเด็นร่วม มีความรู้เป็นรูปธรรม ดึงหน่วยงานในพื้นที่หนุนเสริมงานเยาวชน"

มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ - "เกิดกลไกการขับเคลื่อนเยาวชน สร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนใน จ.น่าน เพื่อสานต่อประเด็นเยาวชนสู่ประเด็นจังหวัด"

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม - "แนวคิด การทำงานของกลไก เพื่อให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนรวม มีความยืดหยุนมีพลวัตร สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่ต้องประกอบด้วน 4 ส่วน คือ เครือข่ายเยาวชน , ชุมชนและพื้นที่,หน่วยงานองค์กร (ระดับจังหวัด,เอกชน) และกลไกระดับภาค (ใน 4จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี) " เป็นต้น

­















<<แลกเปลี่ยนผลประเมิน 4 จังหวัด>>



<<แลกเปลี่ยนผลประเมิน 4 จังหวัด>>



เมื่อการนำเสนองานทั้ง 4 พื้นที่ได้จบลง และให้เวทีครั้งนี้มีความเข้มข้นขึ้น จึงได้มีการเพิ่มเติมเสริมพลังกันต่อ ใน Section

ครุ่นคิดเพื่อเดินต่อ และแลกเปลี่ยนร่วมกัน - Section นี้ เป็นการมองหาโอกาสในการเชื่อมโยงงานโครงการกับสถานการณ์ หรือเครือข่ายในจังหวัด รวมทั้งการมองเห็นประเด็นที่จะยกระดับ การทำงานในปี 2560 โดย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า "โจทย์ท้าทาย (Challenge) ใน 4 พื้นที่ เพื่อพัฒนาโครงการในปีต่อไป ประเด็นแรก-เราต้องเชื่อมโยงงานที่ทำกับโจทย์ในพื้นที่ว่าจะเชื่อมโยงในมุมมองแบบไหน จะเป็นเชิงประเด็นที่มองเห็นการเคลื่อนงาน และเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งเมื่อทำแล้วผลที่ได้จะต้องทำให้จังหวัดของเรามีความแข็งแรงขึ้นด้วย...

ประเด็นที่สอง - ความยั่งยืนของโครงการ อยากให้เราทุกคนมองภาพเลยกว่าความเป็นโครงการ แต่เป็นสิ่งที่ต้องคงอยู่ในบ้านเมือง หรือจังหวัดของเรา คำถามที่ตามมาคือ ทำอย่างไร ให้สิ่งที่เราทำจะเชื่อมโยงให้กลุ่มต่างๆ เข้ามาสัมพันธ์กับเราได้ ให้เขามาร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ มารับรู้ เข้าใจและสนับสนุน มาร่วมเป็นทีมเดียวกันและนำความรู้ความสามารถมาทำตามศักยภาพของแต่ละคน ประเด็นสุดท้าย - การพัฒนาเยาวชนให้ครบลูป คือ สนับสนุนเยาวชนให้มีการเรียนรู้ตนเอง ชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีความศักยภาพในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ อย่างเข้าใจ "







จากนั้นต่อด้วย กระบวนการ...

EE 3 Revise KRA/KPI และกำหนด KRA/KPI และ ACT ที่ท้าทาย

กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์

  • เพื่อกำหนดผลลัพธ์ที่ท้าทาย เพื่อยกระดับการทำงานในปี ถัดไป พร้อมนิยามตัวชี้วัด และแผนกิจกรรมที่ชัดเจน
  • ได้ยุทธศาสตร์ในการทำงาน ปีที่ 3
  • ได้แผนการทำงานในปีที่ 3 (Timeline)

­




­

­























­

­



<< วางแผนงานในปีที่ 3 >>

­

ก่อนเสร็จสิ้นการประชุม ภาคีทั้ง 4 จังหวัดได้ร่วมสะท้อนการเรียรู้ หรือ AAR (After Action Review) จากเวทีการประชุมประเมินแบบเสร ิมพลัง (Empowerment Evalution : EE) ในสองวันที่ผ่านมา ว่า......

> จูนความเข้าใจทีม เกิดความเข้าใจร่วมในการทำงาน
> มั่นใจว่าตนจะสามารถไปได้ถึงความท้าทายที่วางไว้
> เป็นการเริ่มต้น และเตรียมพร้อมการทำงานที่ดี รวมทั้งเห็นแผนการทำงานชัดเจน
> ได้เติม-สร้างพลังใจ กับความท้าทาย ทำให้อยากทำต่อ
> ทบทวนจุดอ่อน จุดแข็งของทีม - ตนเอง มองจุดแข็งเพื่อน แก้จุดอ่อนตนเอง และพัฒนาตนเอง
> ทบทวนงานทำให้เห็นว่างานตนมีคุณค่า และตื่นเต้นกับการทำงาน
> เรียนรู้ มองออกนอกโครงการ มองไปข้างหน้า 10-20 ปี ในการพัฒนางาน และได้แนว
คิดใหม่ๆ ในการพัฒนางาน
> ได้ไอเดีย"ปิ๊งแว่บ!!" เยอะมาก ในสิ่งที่จะต้อง ไปทำต่อให้ได้ดีขึ้น
> ได้เรียนรู้ การยกระดับงาน - การเชื่อมงานภายนอก
> ฯลฯ

** (นี่เป็นเพียงบางส่วนที่ร่วมสะท้อนการเรียนรู้)

­

­

เพราะ...ทุกคน คือ คนทำงาน "พัฒนาเยาวชน พัฒนากำลังคนของชาติ" ดังนั้น ...
การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลเสริมพลัง โครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ในครั้งนี้ เรียกได้ว่า...ได้ทั้งทบทวนการทำงาน มองเห็นความสำเร็จ ข้อควรปรับปรุง และยังช่วยจุดประกายความคิด และเติมพลังใจคนทำงานก่อนที่จะกลับไปพัฒนางานของตนเองกันต่อในปีถัดไป แล้วพบกันใหม่ในปีที่ 3 เร็วๆนี้...กับ "งานพัฒนาเยาวชน งานพัฒนากำลังคนของชาติ"




สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย

1. สงขลาฟอรั่ม ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชน ได้แก่

พรรณิภา โสตถิพันธุ์

นูรอามีนี สาและ

อาอีเซาะ ดือเระ

กมลา รัตนอุบล

กรกช มณีสว่าง

มนต์กานต์ เพชรฤทธิ์

­

2 .มูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนวัดโป่งคำ ผู้ดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน ได้แก่

อภิสิทธิ์ ลัมยศ

วรการณ์ จันอ้น

สุทธิรา อุดใจ

ฐิติรัตน์ สุทธเขต

ดวงพร ยังรักษ์


3. ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม (องค์กรสาธารณประโยชน์) ผู้ดำเนินโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ได้แก่

ชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ

พวงทอง เม้งเกร็ด

คำรณ นิ่มอนงค์

อรรถชัย ณ บางช้าง

สราวุฒิ ปิ่นแก้ว

สถาพร โพธิชัยศิริ

­

­

4.ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ได้แก่

รุ่งวิชิต คำงาม

ประมวล ดวงนิล

เบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์

ปราณี ระงับภัย

เอกณรงค์ บุญทัน

เพ็ญศรี ชิตบุตร



ความเห็น (2)

เป็นบันทึกที่มีความรู้และน่าอ่านมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท