พระบาทสมเด็จ


พระบาทสมเด็จ


I read

คลายข้อสงสัย!!! ทำไมต้องเรียก “ในหลวง” ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” (รายละเอียด) 2016-10-20 13:25:18
http://headshot.tnews.co.th/contents/209387/

...สอบถาม ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าเหตุใดจึงต้องขานพระนามเช่นนี้ เราสามารถขานพระนามเต็มดังเดิมได้หรือไม่...
...ธรรมเนียมโบราณแต่เดิมของไทย ผู้น้อยจะไม่บังอาจเอ่ยชื่อของผู้ใหญ่ หรือเอ่ยพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายออกมาเป็นอันขาด ถือว่าเป็นการล่วงเกิน ไม่เคารพ
ทั้งพระนามพระมหากษัตริย์ในอดีตก็ไม่มีการขนานพระนามเป็นการเฉพาะ คนจะเรียกกษัตริย์พระองค์ใดก็ตามใจคนเรียก เช่น พระเจ้าเสือ ขุนหลวงหาวัด อย่างนี้เป็นต้น ความรู้นี้หาอ่านได้ในพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ 5 ในหนังสือ พระราชกรัณยานุสร
ตัวอย่างสำคัญของการที่คนสมัยก่อนไม่ออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินตรงๆ อีกก็เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 คนเรียกแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ว่า “แผ่นดินต้น” เรียกแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ว่า “แผ่นดินกลาง” รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าไม่เป็นมงคล เพราะเรียกเช่นนี้ แผ่นดินของพระองค์ก็จะกลายเป็น “แผ่นดินปลาย”
...มาจนถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคต ก็เกิดปัญหาการเรียกขานนามแผ่นดินก่อนขึ้นมาอีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้แผ่นดินรัชกาลที่ 3 เรียกว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ส่วนแผ่นดินของพระองค์เอง ก็เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครๆ เรียก “ในพระบรมโกศ” เมื่อสวรรคตแล้วอีก...

I now want to know more
อยากรู้ว่า
การเรียก พระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระบาทสมเด็จ... มีความเป็นมาอย่างไร?

****
จากข้อความ …มาจนถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคต ก็เกิดปัญหาการเรียกขานนามแผ่นดินก่อนขึ้นมาอีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้แผ่นดินรัชกาลที่ 3 เรียกว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ส่วนแผ่นดินของพระองค์เอง ก็เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครๆ เรียก “ในพระบรมโกศ” เมื่อสวรรคตแล้วอีก… แสดงที่มาของการเรียก แผ่นดิน(ใต้)พระบาทสมเด็จ… ไม่ใช่ การเรียก พระเจ้าแผ่นดิน
****

It should be clear from the explanation (by ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) that the word พระบาท is used to refer to the land under สมเด็จ (the King) but not to the King (himself).
Did we get confused with the words ท้าว and เท้า or add a wrong word to the name of the King (พระเจ้าแผ่นดิน) of our Kingdom (แผ่นดิน)?

If anyone has better explanation or thought please share and enlighten me (us).
Please See also http://www.gotoknow.org/posts/617363


I looked up

สมเด็จ [RSTD2542]
น. คำยกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิด หรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
สมเด็จ [RSTD2554]
น. ยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ ใช้นำหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ. สมเด็จพระสังฆราช น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก.

บาท [Royal Society Dictionary (2542 Th-Th)]
๑ [บาด, บาดทะ-] น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส. ปาท).
๒ น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดน้ำหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.
๓ น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.
๔ น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที.


บาท [Royal Society Dictionary (2554 Th-Th)]
บาท ๑, บาท- [บาด, บาดทะ-] น. ตีน, เท้า, เช่น ทวิบาท จตุบาท, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส.ปาท). บาทบงกช [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระมหากษัตริย์. (ป., ส. ปาทปงฺกช). บาทบงสุ์ [บาดทะบง] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ). บาทบริจาริกา [บาดบอริ-] น. ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า. (ป., ส. ปาทปริจาริกา). บาทมุทรา [บาดทะมุดทฺรา] น. รอยเท้า. (ส.). บาทมูล [บาดทะมูน] น. ที่ใกล้เท้า, แทบฝ่าเท้า. (ป.). บาทมูลิกากร [บาดทะมูลิกากอน] น. หมู่คนที่อยู่แทบบาทมูล คือ ข้าราชการในพระองค์. (ป.). บาทยุคล [บาดทะยุคน, บาดยุคน] น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล). บาทรช, บาทรัช [บาดทะรด, บาดทะรัด] น. ละอองเท้า. (ส. ปาทรช). บาทวิถี [บาดวิถี] น. ทางเท้า.
บาท ๒ น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินทอง หรือนากหนัก ๑๕ กรัม.
บาท ๓ น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท. บาทบูรณ์ [บาดทะบูน] ดู บทบูรณ์.
บาท ๔ น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย).
บาทบ [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารสวารี (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
บาทภาค [บาดทะพาก] น. ๑ ใน ๔ ส่วน, เสี้ยว. (ส.).
บาทสกุณี [บาดสะกุนี] น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, เสมอตีนนก ก็เรียก.
บาทหลวง [บาดหฺลวง] น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.
บาทุกา น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).

NB. No entry for พระบาท in eith [RSTD2542] or [RSTD2554]

pāda: the foot; leg; a base; one-fourth of any measure or of a stanza. (m.; nt.) [PED]


บาท [RSTD2542]
๑ น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
๒ (กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว. (สังข์ทอง).

เท้า [RSTD2542]
น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.


ท้าว ๑ [RSTD2554]
น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล; ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุลซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาลท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว; (ถิ่น–อีสาน) คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง. ท้าวนาง น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง; นางพญา. ท้าวพญา, ท้าวพระยา (กลอน) น. กษัตริย์.
ท้าว ๒ [RSTD2554]
(กลอน) ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว (สังข์ทอง).


เท้า [RSTD2554]
น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ. เท้าแขน น. ตัวไม้สำหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกำลังทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สำหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้น ว่า นั่งเท้าแขน. เท้าคู้ น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า. เท้าสิงห์ น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลักทำเป็นรูปตีนสิงห์.
เท้าช้าง [RSTD2554]
น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีหนังหนา หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้นมักเป็นที่เท้าหรือขา สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด ทำให้ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
เท้าแชร์ [RSTD2554]
น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
เท้ายายม่อม [RSTD2554]
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Taccaleontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทำแป้งเป็นอาหารได้เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม. (๒) ดู ไม้เท้ายายม่อม.
เท้าสาน [RSTD2554]
ดู จั๋ง ๒.
จั๋ง ๑ (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จังหนับ จำหนับ หรือ จํ๋าหนับ ก็ว่า.
จั๋ง ๒ น. ชื่อปาล์มชนิด Rhapis excelsa (Thunb.) Henry ex Rehder ในวงศ์ Palmae ใบรูปพัด ปลูกเป็นไม้ประดับ, เท้าสาน ก็เรียก.

หมายเลขบันทึก: 617406เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 04:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านยังไม่จบ ติด รอ ไว้กลับมาอ่านอีกนะคะ

...มาจนถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคต ก็เกิดปัญหาการเรียกขานนามแผ่นดินก่อนขึ้นมาอีก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้แผ่นดินรัชกาลที่ 3 เรียกว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว ส่วนแผ่นดินของพระองค์เอง ก็เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครๆ เรียก “ในพระบรมโกศ” เมื่อสวรรคตแล้วอีก........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท