นวนิยายของแดน บราวน์


#รักการอ่าน

นวนิยายของแดน บราวน์

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ (18 ตุลาคม 2559)


ผมอ่านหนังสือของพี่แดน บราวน์ ครบทุกเล่มแล้ว ทุกเล่มที่ออกมาตอนแรกก็ซื้ออ่านเลย หนาและหนักทุกเล่ม อ่านไปปวดแขนไป สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผมคือแรงบันดใจให้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสัญลักษณ์วิทยา เลยเถิดจนถึงวิทยานิพนธ์ของตัวเอง

สิ่งหนึ่งที่ผู้จะอ่านต้องรู้ไว้คือ หนังสือชุดของ "โรเบิร์ต แลงดอน" จะมีความเป็นประวัติศาสตร์-ศาสนา-องค์กรลับสูงมาก กว่า 50% ของเรื่องจะเป็นการเล่าประวัติที่มาที่ไป ดังนั้นหากใครไม่ชอบประวัติศาสตร์ก็อาจจะน่าเบื่อไปสักหน่อย

สนุกสุดต้องยกให้ Davinci code (ระหัสลับดาวินซี) เล่าถึงความอัจฉริยะของเลโอนาโด ดาวินซี ยำประวัติศาสนาคริสต์-คาธอลิกได้อย่างเมามัน ตอนสมัยเรียนประวัติศาสตร์ยุโรปยุคแรกไปจนถึงยุคกลางนึกภาพตามหนังสือเรียนตลอด ที่สำคัญมีการหักมุมหลายจุด ตื่นเต้นวางไม่ลง อีกทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้คนเขียนนิยายในโลกผลิตงานแนวนี้ออกมามากมาย เช่น The Templar legend (ขุมทรัพย์อัสวินเทมปร้า) The Paris Vendetta (ปริศนาขุมทรัพย์นโปเลียน) รวมถึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เช่น ภาพยนตร์ชุด National Treasure นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ

เล่มต่อมาคือ angels & demons (เทวากับซาตาน) เล่มนี้ใครชอบประวัติศาสตร์ศิลปะศาสนายุคกลางไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง เล่มนี่แลงดอนจะพาคุณมุดโพรงใต้ดินศาสนาสถานในโรม เข้ามหาวิหารโน้นออกออกมหาวิหารนี้ ใครชอบเที่ยวในโรมต้องชอบเล่มนี่ และยังอธิบายขั้นตอนการเลือกผู้นำของศาสนาคริสต์-โรมันคาธอลิกไส้อย่างเอียด อีกทั้งยังผสมผสานแนวคิดระหว่างเทววิทยาและวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัว

The lost symbol เล่าเรื่องราวภูมิหลังการสร้างชาติอเมริกา และประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่มีเบื้องหลังโดยฝรั่งเศส สมาคมลับฟรีเมสันที่มีผู้นำชาติและบุคคลสำคัญหลายคนเป็นประธาน เล่มนี้แพรวพราวไปด้วยสัญลักษณ์แบบฉบับอเมริกัน อ่านแล้วเข้าใจยากจนสำนักพิมพ์ต้องตีพิมพ์หนังสือ "ไขปริศนาล่าระหัส สาส์นลับที่สาบสูญ" เพื่อมาอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ในนิยายกันเลยทีเดียว ความสนุกเล่มนี้เบาลงมาเยอะ และไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่สร้างเป็นภาพยนตร์

เล่มสุดท้ายคือ Inferno (สู่นรกภูมิ) เล่าถึงความเป็นอัจฉริยของดังเต้ อาลีกี เอรี รัฐบุรุษ กวี และนักภาษาศาสตร์คนสำคัญของฟลอเรนซ์ ที่ชอบมากคืออ่านแล้วทำให้ผมรู้ว่าแนวคิดเรื่องนรกที่ถูกแบ่งเป็นชั้น ๆ และการลงโทษที่ต่างกันแต่ละชั้นที่ปรากฎในงานเขียนของเขา Divine Comedy หรือสุขนาฏกรรมของพระเจ้า ซึ่งก็มีแนวคิดคล้ายกับ "ไตรภูมิโลกสัญฐาน" ของไทย ที่สำคัญ ทั้งดังเต้ และ พระยาลิไท เขียนในระยะไล่เลี่ยกันอีกด้วย คือราวคริสศตวรรษที่ 13-14 กระซิบบอกหน่อยว่า เล่มนี้แดน บราวน์เขียนได้อย่างน่าเบื่อกว่าทุกเล่ม อ่านไปหลับไป นิยายเล่มนี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์กำหนดเข้าฉายที่ไทยในเดือน พฤศจิกายน 2559

อีกสองเล่มที่แปลขายในไทยซึ่งไม่เกี่ยวสัญลักษณ์หรือศาสนาเลยคือ Digital Fortress (ล่ารหัสมรณะ) เล่าความทันสมัยของเครื่องถอดรหัสของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ NSA ของสหรัฐอเมริกาที่ต้องเจอกับเลขชุดรหัสที่ยากจะถอดได้ จนเมื่อนักถอดรหัสสาวเข้ามาเกี่ยวข้องเธอจึงรู้ว่ารหัสที่ถอดจะทำลายระบบข่าวกรองทั้งหมด เรื่องนี้สนุก หักมุม และได้ความรู้เกี่ยวตัวเลขและระบบข่าวกรอกมากมาย

เล่มต่อมาคือ Deception Point เล่าถึงการค้นพบวัตถุลึกลับที่ทีอายุเก่าแก่ฝังตัวอยู่ใต้น้ำแข็งขั่วโลกเหนือ การค้นพบดังกล่าวมีผลกระทบต่อ NASA และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สำหรับเล่มนี้สนุกที่สุด เล่าเรื่องเร็ว กระชับ ตัดสลับระหว่างบทตื่นเต้น แม้จะเป็นนิยายที่หนามากแต่ก็อ่านได้อย่างรวดเร็ว ได้ความรู้เสริมด้านวิทยาศาสตร์และการทหารของสหรัฐอเมริกา และได้รู้ว่าอำนาจของโฆษณาชวนเชื่อมีอำนาจมหาศาลแค่ไหน สมกับชื่อไทย "แผนลวงสะท้านโลก"

สุดท้ายนี้ อยากเชิญชวนคนที่ชอบหนังของ "แลงดอน" ให้มาอ่านหนังสือ เพราะหนังสือละเอียดกว่า มีมุมดี ๆ ความรู้ดี ๆ ที่หนังตัดทิ้งไป และขอเตือนว่า หากไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง หรือประวัติศาสตร์อเมริกา ประวัติศาสตร์ศิลป์ยุโรปเลย จะเข้าใจเรื่องได้อยากมาก เพราะไม่อาจจินตนาการภาพตามได้ แต่หากใครมีความรู้บ้างอ่านแล้วจะสนุกตาม และอย่าเดาเรื่องให้อยากเพราะมันกักมุมตลอดเวลา

ภาพประกอบจาก http://www.e4thai.com

หมายเลขบันทึก: 617287เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท