จดหมายถึงพระคุณเจ้า: อย่าท้อ อย่าถอย


นมัสการ พระคุณเจ้า....

อยู่ท่ามกลางโลกคือสังคม ก็ทุกข์แบบโลกคือสังคม อยู่ในบ้านก็ทุกข์แบบบ้านๆ อยู่ในวัดก็ทุกข์แบบวัดๆ ในบางช่วงของชีวิต เราอาจต้องประคับประคองใจให้มากเพื่อให้ผ่านความทุกข์ที่เรานั้นสร้างขึ้นมา เหตุผลที่บอกว่าทุกข์เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา พระคุณเจ้าอาจพิจารณาบ่อเกิดของการรับรู้ คือ "จุดเชื่อมต่อ (Āyatana)" และ "ศูนย์รวม (Khandha)" ร่วมกัน ผมเข้าใจว่า โลกคือตัวตนเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น ดังนั้น จึงมีแนวคิดเรื่อง "ความระมัดระวังในนายใหญ่ของชีวิต (Indriya samvara)" เพื่อจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น

ผู้มีศาสนาเรียนหนังสือหลักสูตรเดียวกัน คือหลักสูตรที่เน้นการฝึกฝนอบรมตน ไม่ใช่การสร้างตึกหลังใหญ่ หรือยานพาหนะที่สวยงาม ทั้งนี้แล้วแต่ใครมีการฝึกฝน อบรมตน สั่งสมมาได้ละเอียดถี่ถ้วนมากกว่ากัน (Pārami) ชาวบ้านอาจมีกิจที่ต้องกระทำมาก (Bahukicca bahukaraniyam) ความละเอียดละออในการตรวจสอบชีวิตนั้นอาจไม่สอดคล้องกันมากนัก แต่คงทำได้เท่าที่ทำได้ ผู้สละบ้านเรือนมีชีวิตผู้เดียวเที่ยวไป (Ekacaro) เพื่อแสวงหาความพ้นไปจากทุกข์ จะมีเวลาพอสมควรในการตรวจสอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

อย่าท้อ อย่าถอย กับการต้องตรวจสอบการรับรู้ที่เกิดขึ้นจากที่ตามองเห็นภาพ หูได้ยินเสียง ลิ้นได้สัมผัสรสชาติ จมูกสัมผัสกลิ่น ผิวกายได้สัมผัสสิ่งที่เข้ามาสัมผัสผิวกาย โดยเฉพาะ การรับรู้ที่เข้ามาสัมผัสความรู้สึก (อารมณ์สัมผัสจิตใจ) หวังว่าพระคุณเจ้าจะยังอดทนได้อยู่ (Khamanīyam) และสามารถจะเยียวยาชีวิต (Yapanīyam) ให้เดินไปสู่การสละทุกข์เสียได้ โดยอาจไม่จำเป็นจะต้องมีชีวิตเพื่อรับใช้สังคมอย่างที่สังคมปัจจุบันต้องการก็ได้ เพราะเพียงพระคุณเจ้าบอกกล่าวในสิ่งที่พระคุณเจ้าพบจากเกมส์ชีวิตที่พระคุณยอมคลีชีวิตออกเป็นสนามเพื่อทดลองเป็นการภายใน การบอกกล่าวจะคือการรับใช้สังคมอย่างที่สังคมปัจจุบันต้องการ

หมายเลขบันทึก: 617149เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท