การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะเป็นวิกฤติหรือโอกาส


จากผลของการพัฒนาประเทศ มีการวางแผนครอบครัวทำให้อัตราการเกิดของเด็กถูกควบคุมเพื่อลดภาระการเลี้ยงดู ประสิทธิภาพงานสาธารณสุขทำให้การตายก่อนอายุขัยลดลงมาก โครงสร้างสังคมผู้สูงวัยหรือผู้อยู่ในวัยเกษียณเพิ่ม ซึ่งประชากรในภาคส่วนผู้สูงอายุส่วนใหญ่ถือว่าควรพักผ่อนหรือไม่ทำงาน จึงไม่สร้างผลผลิตหรือ จีดีพี แต่บริโภคตามปกติ ผู้มีกำลังทรัพย์จะใช้เวลาท่องเที่ยว ส่วนผู้ไม่มีกำลังทรัพย์เป็นภาระแก่ลูกหลานหรือภาระแก่งานสวัสดิการสังคมโดยรวม


ผู้สูงวัยผ่านเหตุการณ์มาหลายยุคหลายสมัยมีเพื่อนมีฝูงมากมาย มีส่วนหนึ่งที่มีแนวคิดอุดมการณ์ตรงกัน เมื่อมีเวลาและปัจจัยอำนายพบปะชุมนุมกัน เนื้อหาประเด็นสาธารณะจะถูกหยิบยกขึ้นมาแลกเปลี่ยน พลังและสิ่งตกผลึกย่อมประณีตและรัดกุม


ผู้สูงวัยมีประสพการณ์การรู้ใจคน ทักษะสูงในการชวนพูดชวนคุยให้ในวงได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ร้อยเรียงนำไปสู่นวัตกรรม หรือเรียกว่ามีความสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการและเปี่ยมจิตอาสา


ผู้สูงวัยผ่านชึวิตทั้งในและนอกระบบ เห็นสรรพสิ่งย่อมมีทั้งคุณและโทษ เช่นพืชประกอบด้วยสรรพคุณทั้งทางอาหารและทางยาในทำนองรกหญ้าจะนำพาสู่น้ำชุ่มและดินดำ


สูงวัยเรี่ยวแรงอาจจะมีน้อยตามภาวะสังขาร การทำงานปรับบริบทให้เหมาะกับแรงกายย่อมเป็นยาอายุวัฒนะลดภาระสวัสดิการของสังคม ผลผลิตเสริมฐานะครอบครัวและเป็นต้นแบบเน้นเชิงคุณภาพ


นี้คือส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของอดีตพนักงานหลังเกษียณกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งที่บ้านที่อยู่ในตลาดปากพยูน ยังจัดที่ในบ้านให้โชว์สินค้าผลิตชุมชนที่เป็นภาคีเครือข่ายเพื่อได้เป็นที่รู้จัก และมีงานเขียนในนามปากกาวอญ่า และผู้จัดกระบวนการนามลุงวอในกิจกรรมกับเด็กๆที่จะเป็นอนาคตของชาติ

หมายเลขบันทึก: 617148เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท