ทีมสหวิชาชีพ ณ ชุมชนลำสนธิ



เมื่อวันที่ 23-24 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา นักศึกษา อาจารย์กิจกรรมบำบัดและอาจารย์กายภาพบำบัด จากมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโอกาสเดินทางไปชุมชนลำสนธิ จ.ลพบุรี เพื่อศึกษาและให้บริการกิจกรรมบำบัดในชุมชน แก่ผู้รับบริการในชุมชน ซึ่งผุ้รับบริการส่วนมากเป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือและยากต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

ดิฉันจึงอยากนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาจากที่ได้ไปสังเกตและให้การบริการทางกิจกรรมบำบัดร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ณ ชุมชนลำสนธิ

ป้าเพียบ (นามสมมติ) อายุ 56 ปี เป็น MCA ischemic stroke(โรคหลอดเลือดในสมองตีบ) ทำให้มีอาการร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีกด้านซ้าย อาศัยอยู่กับสามีซึ่งสามีก็มีโรคประจำตัวเช่นกัน ดังนั้นคุณป้าจึงอยากจะดูแลตัวเองให้ได้มากที่สุด

วิเคราะห์ตาม PEOP


ลักษณะห้องน้ำของผู้รับบริการหลังจากปรับสภาพแล้ว


System thinking


Reference : Photo by Dr. Supalak Khemthong


Personal mastery : ผู้รับบริการยังไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ณ ตอนนี้ผู้รับบริการต้องให้ญาติช่วยอาบน้ำและแต่งตัวให้ ดังนั้นผู้รับบริการจึงอยากจะใส่เสื้อได้ด้วยตัวเองเป็นอย่างแรก

*ดังนั้น ผู้บำบัดจึงสอนวิธีการใส่เสื้อ กางเกง และสอนวิธีการลุกนั่งบนเตียงอย่างถูกวิธี ให้กับผู้รับบริการ นักบริบาล และญาติ

Mental model : MOHO(Technique: Internal and external feedback) Neurodevelopmental frame of reference (Technique: Weight bearing ,Prolong stretch) Physical rehabilitation frame of reference (Technique : Teaching and learning process , Adapted ADL)

Team learning : แพทย์- ให้ความรู้และข้อควรระวังเกี่ยวกับ Medical condition ของผู้รับบริการ นักกายภาพบำบัด - ให้ท่าออกกำลังกายทั้งในส่วนของ UE และ LE พยาบาล - ให้ข้อมูลของผู้รับบริการ นักบริบาล - ให้ข้อมูลผู้รับบริการ และหน้าที่การทำงานของนักบริการ , สถาปนิก-ออกแบบการปรับสภาพบ้าน โดยปรับผ้าม่านและออกแบบที่กันความร้อนจากหลังคาบ้านที่ทำมาจากสังกะสี

Building shared vision : ในระยะยาวผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ด้วยตัวเองทั้งหมด



Reference : Photo by Dr. Supalak Khemthong

ทีมสหวิชาชีพ

O : ร่วมกันวางแผนในการออกชุมชน และนำข้อมูลที่ได้จากผู้รับบริการในแต่ละบ้าน มาปรึกษาหาปัญหาและวิธีการรักษาร่วมกันตามแต่ละวิชาชีพ

P : ให้แต่ละวิชาชีพอธิบายข้อมูลของผู้รับบริการ และร่วมกันตรวจสอบข้อมูลว่า ได้ข้อมูลตรงกันหรือไม่ ถ้าหากไม่ตรงกัน ให้นำข้อมูลมาถกกันโดยการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

E : เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นขณะทำงาน ให้คุยกันด้วยเหตุผล และไม่ใช้อารมณ์ ถ้ามีความเครียด ให้พักงานและทำกิจกรรมที่ชอบก่อน แล้วค่อยกลับมาเริ่มทำงานต่อ

R : ความถี่ในการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งมีนักบริบาลคอยให้การดูแลติดตามผลอย่างใกล้ชิด สัปดาห์ละ 2-3 วัน

A : ความสนใจในกรณีศึกษา โดยเข้าไปเยี่ยมครั้งละ 30 นาที


เรียบเรียงข้อมูลโดย : นางสาวจีรนาถ จันทร์เสนะ และนางสาวกัญญารัตน์ เจริญกิจ



หมายเลขบันทึก: 617096เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท