ออกชุมชน ณ ลำสนธิ จ.ลพบุรี


ในวันที่ 23-24 กันยายน 2559 พวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัดและอาจารย์ได้มีโอกาสไปลงชุมชนที่โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ในครั้งนี้นับเป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่งในการลงชุมชน ทำให้ได้เห็นการทำงานของสหวิชาชีพโดยแท้จริง

ในครั้งนี้ได้มีโอกาสลงไปเยี่ยมบ้านของผูรับบริการท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคลมชักละอาศัยอยู่กับคุณพ่อที่ไม่ดูแล

วิเคราะห์ตาม PEOP ดังนี้

P E O P
- เพศชาย

- อายุ 30 ปี

- วินิจฉัย: Epilepsy

- ไม่สามารถสื่อสารได้

- มีอาการอ่อนแรงทางซีกขวามากกว่าซีกซ้าย

- มี Deformities ของข้อเท้า และติดในท่างอ

- ชอบดื่มน้ำส้ม และไม่ชอบดื่มน้ำเปล่า

- มีแผลกดทับที่ก้น(ระดับ 3-4)

Physical

- บ้านสองชั้น ผู้รับบริการนอนอยู่ที่ชั้นล่าง

- มีสวนอยู่ด้านหลังของบ้าน

Social

- คุณพ่อ ติดสุราไม่ค่อยดูแลผู้รับบริการ

- นักบริบาล มาดูแลและช่วยเหลือผู้รับบริการ
ADLs –Dependence เป็นผู้ป่วยติดเตียง, (Eating –กลืนได้ แต่มีสำลักบ้างบางครั้ง)

IADLs –Dependence

Rest and Sleep –มักนอนในท่าตะแคง นอนตอนกลางคืนและช่วงเช้า จะตื่นเต็มที่ในช่วงเที่ยง

- ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง

- สามารถพลิกตะแคงตัวและหันศีรษะเองได้

- สามารถนั่งได้ โดยศีรษะตั้งตรงได้ (Fair neck control) และมีคนช่วยประคอง ได้นาน 5 นาที

System thinking

  • Personal mastery ผู้รับบริการต้องได้การช่วยเหลือจากนักบริบาล ในการดูแลทุกอย่าง เช่น การเช็ดตัว พลิกตะแคง ทำแผล ทำกับข้าวให้ทาน ป้อนยา เป็นต้น ส่วนคุณพ่อจะช่วยเหลือในการป้อนข้าวให้ทาน และผู้รับบริการนอนบนเตียงทั้งวัน
  • Mental models
    1. Physical rehabilitation frame of reference
      • ใช้ในการสอนวิธีการป้อนอาหาร โดยให้คุณพ่อยืนข้างเตียงทางซ้ายและขวาสลับกันในการป้อนข้าว เพื่อให้ผู้รับบริการได้ใช้ร่างกายทั้งสองซีก
      • ให้คุณพ่อป้อนคำเล็กๆ และนับ 1-5 ในใจก่อนการป้อนคำถัดไป เพื่อเว้นระยะให้ผู้รับบริการได้เคี้ยวและกลืน รวมทั้งป้องการการสำลัก
      • ให้ความรู้เมื่อผู้รับบริการเกิดการสำลัก ให้คุณพ่อเป้นผู้บอกให้ผู้รับบริการไออกมาแรงๆ
      • แนะนำวิธีการให้ผู้รับบริการดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น โดยใช้วิธีการให้ดื่มน้ำส้มที่ชอบ แล้วค่อยๆนำไปผสมน้ำให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนดื่มน้ำเปล่าได้ในที่สุด
    2. Psychosocial frame of reference ให้ Psychoeducation กับคุณพ่อของผู้รับบริการในการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้รับบริการ และการทำอาหารให้ผู้รับบริการ เช่น ให้สังเกตหรือดมข้าวก่อนว่าบูดหรือไม่ ก่อนนำมาทำอาหาร
    3. Neurodevelopmental theory (NDT)
      • ใช้ Bobath approach ในการจัดท่าผู้รับบริการขณะทานอาหารให้อยู่ในท่า Reclining position โดยปรับระดับหัวเตียงให้สูงขึ้น และนำหมอนมารองใต้เข่าและข้างตัว เพื่อให้นอนเอนได้อย่างเหมาะสมต่อการทานอาหาร (ท่าทางที่เมาะสมที่สุด ควรจะเป็นท่า Upright position แต่เนื่องด้วย Siting balance ของผู้รับบริการอยู่ในระดับ poor และผู้ดูแลไม่สามารถจัดท่าดังกล่าวได้ จึงแนะนำเป็นท่า reclining position ซึ่งผู้ดูแสามารถทำได้)

4. Cognitive disabilities model ปรับความคิดของคุณพ่อของผู้รับบริการ โดยพูดให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการติดสุราและการไม่ดูแลลูก เพื่อให้คุณ พ่อหันมาดูแลผู้รับบริการอย่างจริงจัง โดยให้คุณพ่อเขียนคำสัญญาในการดูแลลูกของตน เพื่อเป็นการช่วยเตือนถึงความรุบผิดชอบ

  • Transfer of learning and OPERA Hypothesis
  • Team learning –ได้เรียนรู้การทำงานของนักกิจกรรมบัดในการช่วยเหลือทั้งผู้รับบริการและญาติ เป็นการได้นำความรู้ในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมของสหวิชาชีพ ได้แก่ เรียนรู้วิธีการทำแผลกดทับจากแพทย์และพยาบาล การส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการนั่งจากนักกายภาพบำบัด และการดูแลผู้รับบริการจากนักบริบาล
  • Building shared vision –ในการดูแลระยะยาว (Long –term care) ให้คุณพ่อมีบทบาทในการดูแลผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอาการสำลักของผู้รับบริการจะไม่เกิดขึ้นหากคุณพ่อเป็นผู้ป้อนให้ ดังนั้นจึงส่งเสริมให้คุณพ่อเลิกสุราและมาดูแลผู้รับบริการด้วยตนเอง นอกจากนี้ดูแลผู้รับบริการโดยจัดท่าในการนั่งบนเตียง เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
  • O:Overlap –การทำงานของสหวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลลำสนธิ จะเป็นการทำงานร่วมกันของแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักโภชนาการ และช่างในการออกแบบและปรับสภาพบ้าน โดยจะมีการลงไปเยี่ยมบ้านในชุมชนอยู่เสมอ นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้เกิด “นักบริบาล” คือผู้ที่เข้าไปดูแลผู้รับบริการถึงที่บ้านอยู่เสมอๆ โดยพัฒนามาจากคนชุมชน ให้รู้จักการดูแลกันเองในชุมชน
  • P:Precision –ในทีมสหวิชาชีพนี้ แต่ละคนจะมีความชำนาญในสาวิชาชีพของตนเอง จึงนำความรู้ต่างๆมาแบ่งปันกันในการช่วยเหลือผู้รับบริการ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม จะศึกษาหาข้อมูลจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ และการแลกเปลี่ยนความรู้กันเมื่อมีผู้มาเยี่ยมชมงาน
  • E: Emotion –การทำงานลงชุมชนเป็นงานเป็นงานที่ท้าทายและเหนื่อย ทีมสหวิชาชีพจึงมีความเครียดและความท้อถอยในการทำงานบางครั้ง โดยทีมสามารถฟื้นฟูกำลังใจได้จากรอยยิ้มของชาวบ้านที่ได้รับการรักษา รวมถึงแลกเปลี่ยนหาความรู้ใหม่กับผู้เชี่ยวชาญในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
  • R: Repetitive –ทีมสหวิชาชีพมีการลงไปเยี่ยมบ้านเป็นประจำในทุกๆเดือน โดยการลงไปแต่ละครั้งจะใช้เวลาไม่เท่ากันแล้วแต่เคส
  • A: Attention –ทีมสหวิชาชีพที่ลงไปเยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง ทั้งผู้รับบริการและผู้บำบัดจะต้อใส่ใจและลงในรายละเอียดซึ่งมีความแตกต่างจำเพาะไปตามบุคคล จะต้องอาศัยความใส่ใจ สนใจ ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้รับบริการดีขึ้น

ขอบคุณนักอ่านทุกท่าน หากผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้

จัดทำโดย

น.ส. ณิชมน กาญจนนิยต

น.ส. พิมพ์ธิดา วุฒิกิตติ์กานต์กูร

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่สี่ มหาวิทยาลัยมหิดล


หมายเลขบันทึก: 617076เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2016 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท