​รายการ "เปลี่ยน เป็นเปลี่ยน" เป็นรายการเสวนาเพื่อสร้างสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งการ เรียนรู้ตามหลักคิด กระบวนการคิด และวิธีปฏิบัติ


รายการ "เปลี่ยน เป็นเปลี่ยน" เป็นรายการเสวนาเพื่อสร้างสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งการ

เรียนรู้ตามหลักคิด๑ กระบวนการคิด๑ และวิธีปฏิบัติ๑ ที่ถูกต้องตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘

ประการ

ตามหลัการที่ ๑ คือหลักคิด ๑.สัมมาทิฏฐิ คือเห็นชอบ หรือเห็นถูกต้อง ๒.สัมมาสังกัปปะ

คือความดำริชอบ

หลักการที่ ๒ คือกระบวนการคิด ได้แก่อริยมรรคข้อที่ (๖) สัมมาวายามะ คือความเพียร

ชอบ (๗) สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ และ (๘) สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจมั่นชอบ

และหลักการที่ ๓ คือวิธีการปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน

คือ ๑.ด้านร่างกาย วาจา ได้แก่อริยมรรคข้อที่ ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ข้อที่ ๔.

สัมมากัมมันตะ คือการงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพชอบ จัดอยู่ในองค์ศีล หรือกุศลศีล หรือ

กุศลกรรมบถ ๑๐ (ข้อ๑. คือ ไม่ฆ่า, ๒.ไม่ลัก, ๓.ไม่ประพฤติผิดประเวณี, ๔.ไม่พูดปด , ๕.ไม่

พูดส่อเสียด, ๖. ไม่พูดคำหยาบ ๗.ไม่พูเพ้อเจ้อ)

คือ ๒. ด้านจิตใจ ได้แก่ ๑.สัมมาทิฏฐิ คือเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ข้อ

๖.สัมมาวายามะ คือเพียรชอบ (ข้อเพียรชอบจะหนุนทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ทุก

ข้อตั้งแต่ข้อ ๑ - ๘ จะต้องหนุนกันและกัน จะแยกจากกันไม่ได้ เพียรชอบได้แก่ สัมมัปปธาน ๔

ได้แก่ ๑.สังวรปธาน คือ มีความเพียรระวังบาป อกุศล ไม่ให้เกิด ๒.ปหานปธาน คือ เพียรละบาป

อกุศลที่เกิดแล้ว ๓. ภาวนาปธาน คือ เพี่ยรสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิด ๔. อนุรักขนาปธาน คือ

เพียรถนอมรักษากุศลที่เกิดแล้วน้อย หรือมากก็รักษาไว้ ประคองไว้ ) ๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบ

๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจมั่นชอบ ทางด้านจิดใจก็เชื่อมต่อเนื่องจากกุศลกรรมบถ หรือละ

อกุศลกรรมบถ ข้อที่ ๘ -๙ -๑๐ คือ ไม่เพ่งอยากได้ของของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา และทำ

ความเห็นให้ตรง คือไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ตรงข้ามสัมมาทิฏฐิ

นี้เป็นรูปแบบหลักคิด กระบวนการคิด และวิธีปฏิบัติไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อพ้น

จากความทุกข์ทั้งกาย ทุกข์ใจ ที่เป็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เรียกว่า "อริยสัจจ์ ๔ " ซึ่ง

เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้เหมือนกันทุกพระองค์ แต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเท่านั้นจึง

จะใฝ่เรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 617045เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท