​การใช้หลักธรรมในงานสังคมสงเคราะห์


การใช้หลักธรรมในงานสังคมสงเคราะห์

หลักธรรม แปลตามพจนานุกรม ได้ว่า หลักคำสั่งสอนในศาสนา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้มนุษย์มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างปกติสุข

ความเป็นมางานสังคมสงเคราะห์

เป็นสาขาวิชาชีพ ซึ่งมุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคล บุคคล กลุ่มหรือชุมชน โดยดำเนินการผ่านการวิจัย นโยบาย การจัดชุมชน การปฏิบัติโดยตรงและสอนในนามของผู้ประสบความยากจนหรือผู้ที่ได้รับหรือรู้เห็นความยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ปรัชญางานสังคมสงเคราะห์

เป็นความคิดในลักษณะการกุศลหรือเพื่อการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน โดยมองมนุษย์ว่าสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้เน้นการให้ความสำคัญกับศักยภาพ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปรัชญาในงานสังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเขาให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นปรัชญาพื้นฐาน ของสังคมสงเคราะห์

หลักธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานสังคมสงเคราะห์

พรหมวิหาร 4

ความหมายของพรหมวิหาร 4

- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4

1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้

และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย

ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ

ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ในงานสังคมสงเคราะห์นำหลักธรรมเข้ามาสอดแทรกในการให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบปัญหาที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อให้การทำงานดำเนินการให้ความช่วยเหลือมีความครอบคลุมมีหลักที่จะจัดการปัญหาเข้าใจและเข้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่งานสังคมสงเคราะห์ที่นำหลักธรรมเข้ามาใช้ แต่ไม่ว่าจะงานใดก็แล้วแต่ ก็สามารถที่จะนำหลักธรรมมาใช้กับงานของตนได้เช่นกัน หากทุกคนต่างรู้จักหน้าที่ของตนเอง ที่ต้องปฏิบัติกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล ให้เกียรติซึ่งกันกัน ไม่เบียดเบียนกัน สังคมก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

แหล่งอ้างอิง

เอกสารประกอบการเรียน สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html

หมายเลขบันทึก: 616870เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท