​ลักษณะร่วมของระบบการศึกษาของประเทศที่มีคุณภาพสูง 4 ลักษณะ



ลักษณะที่ : เด็กทุกคนมาโรงเรียนมีความพร้อมที่จะเรียน ถ้ามีกรณีปัญหารัฐมีระบบช่วยให้เด็ก ทุกคนได้เรียนรู้ถึงระดับสูงสุด

ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง จะมีบริการช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูก และมีสวัสดิการส่งเสริมสุขภาพให้เด็ก ให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้จะได้รับความช่วยเหลือ


ลักษณะที่ ๒ : ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง จะมีระดับคุณภาพของวิชาชีพครูระดับสูง มีวิธีการสอนที่มี ประสิทธิภาพสูง นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนกับครูเก่งๆ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้เด็กทุกคนประสบ ความสำเร็จ

ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงตั้งความมุ่งมั่นว่าเด็กทุกคนจะได้เรียนรู้กับครูดี เก่ง มีคุณภาพ ประเทศเหล่านี้จึง ให้ความสาคัญกับทุกขั้นตอนของวิชาชีพครู ดังนี้

  • การคัดเลือกครู บางประเทศคัดเลือกครูจากนักเรียนชั้นมัธยมที่เก่ง
  • โปรแกรมการฝึกหัดครูและการรับใบอนุญาตประกอบวชิาชีพครูมีมาตรฐานสูงและการสอบคัดเลือก เข้าเป็นครูมีการแข่งขันสูง
  • มีระบบพัฒนาครูประจำการตลอดชีวิตแห่งการเป็นครู เมื่อเข้าเป็นครูใหม่จะมีครูพี่เลี้ยง และครูจะทำ การวิจัยรวมถึงปรับปรุงการสอนตลอดเวลา
  • ในประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง มีระบบความก้าวหน้าในอาชีพครู โรงเรียนสร้างบทบาท ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆในวิชาชีพครู เช่น ผู้เชี่ยวชาญวิชาต่างๆเป็นครูพี่เลี้ยง และอื่นๆ ทำให้ครู สามารถอยู่ในวิชาชีพครูได้นานอย่างมีวิทยฐานะสูง
  • บรรยากาศการทำงานในโรงเรียนเป็นบรรยากาศที่อบอุ่นประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงมีระ บบการทางานในโรงเรียนที่สร้างบรรยากาศแห่งกัลยาณมิตร คือครูทำงานร่วมกันเป็นทีม ในการเตรียม การสอน การศึกษาสังเกตช่วยเหลือเด็กครูร่วมกันทำแผนการสอนและประเมินผล โดยทางโรงเรียนจัด เวลาให้ครูมีเวลามาประชุมทำงานร่วมกัน ศึกษาสังเกตการสอนในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน
  • ผู้นำโรงเรียนมีคุณภาพสูงประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงมีระบบการคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียน สูงมาก เช่น ต้องมีประสบการณ์ในโรงเรียนหลายแห่ง มีความรู้ด้านหลักสูตร การสอน การบริหารโรงเรียน 

  • ระบบค่าตอบแทนสูง ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง จะมีระบบค่าตอบแทนหรือเงินเดือน ระดับเดียวกับวิศวกร นักบัญชี ฯลฯ เพราะหลายประเทศยกย่องครูเป็นผู้สร้างชาติ (Nation Builders) บางประเทศให้เงินเดือนตามความสามารถพิเศษ เช่น ผู้บริหารผู้เชี่ยวชาญการสอนวิชา ครูพี่เลี้ยง (Mentor) ฯลฯ 

  • ระบบการเรียนการสอนระดับมาตรฐานโลก ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงตั้งเกณฑ์ประเมิน มาตรฐานว่า นักเรียนในระดับใดจะต้องมีความรู้ความสามารถในวิชาต่างๆ เช่น ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิชาอื่นๆ ในหลักสูตรเพียงใด และการประเมินนี้ยังรวมทักษะชีวิต และ อุปนิสัยด้วย เช่นจริยธรรม ความขยันมุ่งมั่นในการทำงานทำงานร่วมมือกับกลุ่มได้ มีความเป็นผู้นำ ฯลฯ 
ครูชั้นนำ จะร่วมกันพัฒนาหลักสูตร และทำรายละเอียดของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร เช่น ความคิดรวบยอด (Concepts) ในวิชาต่างๆ ระดับชั้นต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ตลอดจนการประเมินผลในวิชานั้น

ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง จะให้ความสาคัญในการทดสอบความสามารถของนักเรียนเมื่อผ่านการเรียน แต่ละระดับ เช่น ระดับจบประถมศึกษา ระดับจบมัธยมศึกษา ครูชั้นนำ ของประเทศจะร่วมกันทำแบบทดสอบ ที่วัดความสามารถในการคิดระดับสูง เพราะฉะนั้น แบบทดสอบจะเป็นแบบเขียนตอบ (Essay-based) ซึ่งต้องมี ผู้อ่านตรวจข้อสอบ ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจเพราะฉะนั้นการทดสอบของประเทศเหล่านี้ จะใช้เวลานาน


ลักษณะที่ ๓ : ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง มีระบบการศึกษาสู่อาชีพ (อาชีวศึกษา) และ เทคโนโลยี (Career and Technical Education: CTE) ที่มีประสิทธิภาพ

ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง เริ่มใช้ยุทธวิธีที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยอาชีพใหม่ๆ สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ สร้างระบบอาชีวะ และ เทคโนโลยีศึกษา ให้สัมพันธ์กับอุตสาหกรรมในประเทศ สิงคโปร์ใช้โรงเรียนเป็นฐาน แต่สวิตเซอร์แลนด์ใช้โรงงาน อุตสาหกรรมเป็นฐาน และในประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจว่า การเรียนอาชีวะและเทคโนโลยีนั้น เป็นแนวทางสู่อาชีพ มิใช่เป็นแนวทางเลือกของนักเรียนที่อ่อนทางวิชาการ

โรงเรียนอาชีวะและเทคโนโลยีศึกษาในประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงเหล่านี้ ได้ร้บการพัฒนาส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพ และสัมพันธ์กับบริษัทโรงงานที่นักเรียนจะออกไปมีอาชีพ โรงเรียนอาชีวะและเทคโนโลยีการศึกษา มีวิธีสอนที้เป็นการปฏิบัติจริง อุปกรณ์เครื่องมือครบครัน และการเรียนด้านนี้ไม่ “ตัน” เพราะถ้าทำงานในอาชีพนาน ก็มีโอกาสเรียนต่อระดับอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) เพื่อฝึกระดับผู้จัดการ ผู้บริหาร


ลักษณะที่ ๔ : การปฏิรูปการศึกษาของแต่ละประเทศจะมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเดียว ซึ่งสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

กลุ่มประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูง จัดระบบปฏิรูปการศึกษาเพื่อไปสู่มาตรฐานโลก ด้วยกลุ่มก้อนเดียว เพราะประเทศเหล่านี้เข้าใจดีว่าการใช้นโยบายยุทธวิธี “กระสุนทองคำ” (Silver Bullet) ที่พัฒนาเรื่องการศึกษาแบบชิ้น เล็กชิ้นน้อย โดยใช้เงินมากแต่ไม่คุ้มค่า ประเทศเหล่านี้คิดสร้างระบบการศึกษาใหม่ และให้ทั้งระบบมีความสัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่นการปรับปรุงคุณภาพการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยแรกเกิดถึง 5 ขวบ แต่ถ้าไม่ลงทุนพัฒนาการศึกษา ในโรงเรียนระดับประถม และมัธยม ก็เป็นความสูญเปล่าและถ้าไม่ปฏิรูปการฝึกหัดครูและการพัฒนาครู มีครูที่ไม่มี ประสิทธิภาพ ก็สูญเปล่า ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาจึงจะต้องจัดทำเป็นกลุ่มก้อนเดียว ครอบคลุมทุกระดับ


หมายเหตุ

คัดลอก (และปรับปรุงเล็กน้อย) จากเอกสาร การปฏิรูปการศึกษาของอเมริกา (.. 2013 – 2017) แปลและเรียบเรียงโดย ศ. ดร. อารี สัณหฉวี ซึ่งอ่านฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0B42ywfrOYZKhQkhldDh5ZEZMZ2ZYUW05WldPOXV3RjJDMDZR/view


วิจารณ์ พานิช

๕ ก.ย. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 616863เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท