การนำอภิหปัจจเวกขณ์ ๕ มาใช้ในเรื่องที่ดิน หลังจาก ครม. เห็นชอบแผนที่ Onemap


การนำอภิหปัจจเวกขณ์ ๕ มาใช้ในเรื่องที่ดิน หลังจาก ครม. เห็นชอบแผนที่ Onemap

ข้อมูลจากของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ข่าวนี้
ขอนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติม และขอเสนอวิธีทำใจสำหรับเจ้าของที่ดินโดยเฉพาะ ส่วนทับซ้อนในส่วนที่เกินจาก Onemap


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เตรียมเสนอ ครม.ปลายเดือน ต.ค.ให้ความเห็นชอบแผนที่ Onemap

28 ก.ย. 2559

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุ หลังประชุมแผนที่ Onemap นัดสุดท้าย เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีปลายเดือนตุลาคมนี้ เพื่อให้ความเห็นชอบแผนที่ ก่อนให้ทุกหน่วยงานไปแก้พระราชบัญญัติแนบท้าย

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวภายหลังประชุมการจัดทำโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4,000 หรือวันแมป ว่า ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งสุดท้าย โดยที่ประชุมได้อนุมัติแผนที่ที่จัดทำโดยคณะอนุกรรมการจังหวัด อนุกรรมการภาค ซึ่งเป็นแผนที่เดียวที่จะใช้ในพระราชบัญญัติแนบท้ายของ 9 หน่วยงาน ที่มีหน้าที่ดูแลที่ดินของรัฐ ซึ่งประมวลเนื้อที่จากพื้นที่ของรัฐที่แต่ละหน่วยงานระบุว่า หน่วยงานของตนเองเป็นผู้ดูแลกว่า 500 ล้านไร่ เหลือเพียง 212 ล้านไร่ โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ มีพื้นที่ของทางราชการที่ต้องดูแลมากที่สุด หน่วยงานละกว่า 60 ล้านไร่ โดยปลายเดือนตุลาคมนี้จะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแผนที่ฉบับดังกล่าว จากนั้น จะมอบหมายให้หน่วยงานทั้งหมดที่ดูแลที่ดินของรัฐไปแก้ไขพระราชบัญญัติแนบท้ายแผนที่

ด้าน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนที่วันแมปฉบับนี้ จะทำให้ทราบว่าพื้นที่ใดอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ซึ่งทำให้รัฐสามารถกำหนดกติกาผู้ใช้พื้นที่ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ โดยที่ประชุมให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) จัดทำแอปพลิเคชั้นเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบพื้นที่ที่อยู่อาศัยของตนเองว่าอยู่ในเขตใด และจะเสนอคณะรัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการวันเเมปชุดถาวร เพื่อพิจารณาที่ดินสาธารณประโยชน์อีกจำนวนมากที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ศิริศุภา กร่างสะอาด / สวท. ศิริศุภา กร่างสะอาด / สวท.ผู้เรียบเรียง : ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท. ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท.แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/WNPOL5909280020008

นำข่าวมาวิเคราะห์ คำนวณ จะพบว่า

ประมวลเนื้อที่จากพื้นที่ของรัฐที่แต่ละหน่วยงานระบุว่า หน่วยงานของตนเองเป็นผู้ดูแล รวมแล้วกว่า 500 ล้านไร่ เหลือเพียง 212 ล้านไร่ เมื่อทำเป็น Onemap แล้วสามารถลดการทับซ้อนของที่ดินลง ทำให้ทราบถึงที่ดินที่หน่วยงานเป็นผู้ดูแลเกินความจริงไปประมาณกว่า 288 ไร่

ปลายเดือนตุลาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแผนที่ฉบับดังกล่าว จากนั้น จะมอบหมายให้หน่วยงานทั้งหมดที่ดูแลที่ดินของรัฐไปแก้ไขพระราชบัญญัติแนบท้ายแผนที่

ที่ดินที่เกินมาประมาณกว่า 288 ล้านไร่ ตัวเลขน่าจะใกล้เคียงความจริง แล้วเพราะ การทับซ้อนของที่ดินระหว่างหน่วยงาน หรือการทับซ้อนภายในหน่วยงานเอง ไม่ใช่เป็นรูป ขนมชั้นแบบที่เข้าใจกัน


การทับซ้อนเป็นรูป โพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด ดอกจิก ซ้อนกันหลายชั้น ผลของการซ้อนกันทำให้ เมื่อวัดขนาดที่ดินโดยเทคโนโลยี่ล่่าสุด แบบบูรณาการแล้ว โดยรวมแล้ว โดยทำเป็นแผนที่ขนาดเดียว 1 : 4000 ปรากฏว่าที่ดินที่ทุกหน่วยงานรวมกันแล้วเกินกว่าที่ดินที่มีอยุ่จริงกว่า 288 ล้านไร่

และในอนาคตจะตรวจสอบพิกัดที่ดินของท่าน จากแผนที่ Onemap ว่าอยู่ในหน่วยงานใดดูแล ได้โดย Application "GPS status & toolbox" ที่สามารถดาว์นโหลดฟรีได้จาก Play store ซึ่งสามารถบอกพิกัด เป็นค่า DD.DDDDDDฺ หรือ ค่า UTM หรือค่าแบบอื่น ๆ ได้มากมาย



และผู้เขียนคิดว่าเมื่อ Onemap ผ่านความเห็นชอบแล้ว ก็น่าที่จะมี Application ที่สามารถตรวจสอบว่า พิกัดที่โทรศัพท์มือถือที่เปิด Location ตัังอยู่ในขณะนั้นอยู่บนพื้นที่ที่หน่วยงานใดดูแล ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตร & สหกรณ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ กระทรวงอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถบอกได้ว่า เป็นดินแดนของประเทศไทย เมียนม่า กัมพูชา ลาว มาเลเซียได้ด้วย

ทราบเรื่องนี้แล้วก็ขอให้พิจารณา อภิณหปัจจเวกขณ์ (ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ) เพื่อให้ผู้ที่ครอบครอง ที่ดินทับซ้อนในส่วนที่เกินจาก Onemap จะได้มีจิตใจที่สงบ พร้อมส่งคืนพื้นที่เพื่อประโยชน์โดยรวมแก่บ้านเมืองต่อไป

อภิหปัจจเวกขณ์ ๕

๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามีความตายเป็นธรรม ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว



พีระพงศ์ วาระเสน
10 ตุลาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 616835เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2016 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท