ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


น.ส.วราภรณ์ พูลสุข 5823029 เลขที่ 26

“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”

1. ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

การติดเตียงอาจเกิดจากที่ผู้รับบริการมีปัญหาหลายอย่างเข้ามารุมเร้า ทำให้ไม่มีแรงจูงใจ ไม่มีกำลังใจ จนไม่อยากลุกจากเตียง ดังนั้นควรแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นก่อน เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ และกำลังใจของผู้รับบริการ
ปัญหาการกลืนลำบาก เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความลำบากในการรับประทานอาหาร
การกลืนน้ำลาย การดื่มน้ำ ควรแก้ไขโดยเข้ารับการกระตุ้นกลืนจากนักกิจกรรมบำบัด และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานลำบาก กลืนยาก เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้รับบริการเกิดการสำลัก หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดหลอดลม
ปัญหาด้านร่างกาย ที่เกิดจากการหกล้ม จนมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ควรแก้ไขโดยการเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงเข้ารับการบำบัดจากนักกายภาพบำบัด
เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น
หลังจากที่ขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เสริมสร้างทั้งศักยภาพด้านร่างกาย และศักยภาพด้านจิตใจแล้ว ผู้รับบริการจะมีกำลังใจและแรงจูงใจที่จะลุกไปไหนมาไหนมากขึ้น ไม่ติดเตียง สามารถออกไปเจอกับโลกภายนอก มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น เพื่อนบ้าน คนในละแวกชุมชน เป็นต้น และผู้รับบริการยังสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอยู่เย็นเป็นสุข

2. วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางการแพทย์อยากหนึ่ง เกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งกรรมพันธุ์ สารเคมีในสมอง และลักษณะนิสัย ซึ่งก่อให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา
ในกรณีของผู้รับบริการมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจเกิดจากการไม่มีงานทำ หมดกำลังใจ หมดความเชื่อมันในตนเอง จึงทำให้มีภาวะนี้เกิดขึ้น
ในอนาคตหากปล่อยเอาไว้ อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นควรรีบหาทางแก้ไข
กำลังใจ และความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญกับคนที่มีภาวะซึมเศร้ามาก ซึ่งจะสร้างได้จากคนรอบข้าง คนที่ใกล้ชิดที่สุดคือครอบครัว ครอบครัวต้องเข้าใจ คอยให้กำลังใจ ไม่ควรตั้งคำถามว่าทำไม แต่ใช้การรับฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่สร้างความกดดันหรือความเครียด จนทำให้ผู้รับบริการมีภาวะซึมเศร้ามากขึ้น
ปัญหาไม่มีงานทำ ควรแก้ไขโดยดูก่อนว่าเกิดจากอะไร ตกงาน หรืออาจจะไม่ชอบงานที่เคยทำรึเปล่า แล้วจึงดูความสามารถของผู้รับบริการ
ดูว่าผู้รับบริการมีศักยภาพด้านใดบ้าง แล้วดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ให้เข้ากับงานไหนได้บ้าง เพื่อที่จะสามารถทำงานงานได้อย่างมีความสุข
อยู่กับงานนั้นได้ดี ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยที่ลดภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการได้ด้วย
เมื่อมีงานทำ มีกำลังใจที่จะก้าวเดินต่อแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้พ่อแม่ดูแล ผู้รับบริการสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง และเป็นที่พึ่งพึงของพ่อแม่ได้อีกด้วย

3. วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการความเป็นอิสระ ไวต่อความรู้สึก อารมณ์อ่อนไหว ต่อต้านผู้ใหญ่ และให้ความสำคัญกับเพื่อน
ปัญหาการไม่ไปโรงเรียน การผัดวันประกันพรุ่ง อาจจะเกิดจากการติดเกม ซึ่งต้องดูที่
ต้นตอของสาเหตุ ว่าเหตุใดถึงติดเกม เป็นที่ผู้ปกครองปล่อยลูกมากเกินไปรึเปล่า หรือว่าเกิดจากตามกระแสเพื่อน หากเกิดจากผู้ปกครอง ผู้ปกครองก็ควรให้ความสำคัญกับลูกมากขึ้น ใช้การคุยกับลูกให้เข้าใจ มากกว่าการบังคับขู่เข็ญ เพราะเขาไม่ใช่เด็กตัวเล็กๆที่สามารถทำตาม อย่างว่าง่ายอีกต่อไปแล้ว เขาเป็นวัยที่ต้องให้เหตุผล ให้ความเข้าใจมากๆ เป็นวัยที่มีความคิดเป็นของตนเอง เมื่อเขาเข้าใจก็จะประพฤติตาม หากเกิดจากเพื่อน ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถเข้าไปแทรกกลางระหว่างพวกเขาได้ ก็อาจจะลองหากิจกรรมอื่นๆ เพื่อหันเหความสนใจ เช่น การหากีฬา หรือดนตรีที่เขาชอบ ลดการเล่นเกมส์ แต่เสริมสร้างศักยภาพด้านอื่นๆในตัวเด็กแทน
ปัญหาการย้ำคิดย้ำทำ อาจจะเกิดจากความไม่มั่นใจในสิ่งที่จะทำ ควรเสริมสร้างความมั่นใจ จากบุคคลรอบข้าง เช่น พ่อแม่ชมลูกบ้างในสิ่งที่เขาทำดี คอยพูดเป็นกำลังใจให้กับลูกในสิ่งที่เขาต้องพยายาม
เมื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งก็จะเติบโตและพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ในอนาคต

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

โรคสมาธิสั้น เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม
การก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกบ้าน ก็เป็นอาการที่เกิดจากโรคสมาธิสั้น จึงควรแก้ไขโดยการรักษาที่โรคสมาธิสั้น โดยส่วนใหญ่ บุคคลรอบกายจะมีมุมมองกับเด็กว่า เป็นเด็กซน ดื้อ เกเร ลงโทษเด็กอย่างรุนแรง ทำให้เด็กคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ในอนาคตอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การดื่มสุรา ติดเกมส์ สูบบุหรี่ เป็นต้น ดังนั้น คนที่อยู่รอบตัวเขา ควรทำความเข้าใจว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากอาการของโรค เด็กไม่ได้แกล้งทำใดใด เขาไม่ได้ตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาเป็นแบบนี้ ต้องเข้าใจเขาให้มาก เป็นพลังเสริมทางบวกให้กับเด็ก หากิจกรรมที่เสริมสร้างสมาธิ ใส่ใจดูแล ควบคู่ไปกับการรักษาจากแพทย์ เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นคนที่มีศักยภาพ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และมองว่าตัวเองมีคุณค่า

Reference :

หมายเลขบันทึก: 616338เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท