“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”


“ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข”

1.ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

ตอบ ปัญหาการติดเตียง : เนื่องจากไม่มีญาติดูแล จึงควรติดต่อหาบ้านพักคนชราหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาดูแลในเรื่องนี้ แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆจึงจำเป็นที่จะต้องให้คนที่มีจิตอาสาที่อยู่ในระแวกเดียวกัน ช่วยหมั่นมาพลิกตัว หรือทำกิจกรรมต่างๆที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ ผู้ป่วยจะได้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่เหงา มีความรู้สึกที่อยากจะพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆนอกสถานที่กับเพื่อนๆหรือลูกหลานในชุมชนได้ ในส่วนของความยากจนนั้น ควรให้รัฐมาช่วยดูแลในเรื่องนี้

ปัญหาการกลืนลำบาก : เริ่มต้นด้วยการฝึกกล้ามเนื้อบริเวณปากในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยให้ฝึกการควบคุมขากรรไกร ในท่าต่างๆเช่น อ้าปาก แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแล้วคลายออก ทำปากจู๋ต่อด้วยยิ้มกว้างๆ และดูแลด้านโภชนาการ เริ่มแรกของการฝึกการกลืนอาจให้อาหารอ่อนๆคล้ายอาหารเด็ก เมื่อฝึกกลืนได้ระยะหนึ่งคือเริ่มเคี้ยวได้ก็เปลี่ยนมาให้อาหารที่ต้องใช้การเคี้ยวเล็กน้อย เช่น ข้าวต้มข้น ไข่ลวก นอกจากนั้นการปรับท่าทางก็เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการรักษา ควรทดสอบหาท่าทางให้ผู้ป่วยกลืนง่ายที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการกลืนของผู้ป่วย

ปัญหาการหกล้มจนปวดหลังรุนแรง : ในกรณีผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถลุกไปไหนได้ ควรให้หมออาสา หรือโรงพยาบาลรัฐที่อยู่ในละแวก มาตรวจดูอาการ เมื่อตรวจดูอาการและมีแนวทางการรักษาก็อาจจะให้นักกายภาพหรือคนในชุมชนช่วยกันดูแลต่อไป

เมื่อเรามีวิธีแก้ปัญหาต่างๆของผู้ป่วยและให้คนละแวกใกล้เคียงช่วยกันหมั่นมามีปฎิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้เห็นคุณค่าในตัวเอง และอยากที่จะดีขึ้น สุขภาพจิตก็จะดีขึ้นตามมา และมีความสุขกับชีวิตที่ไม่ต้องนอนติดเตียงโดยไม่พบผู้คนหรือทำกิจกรรมใดๆไม่ได้เลยอีกต่อไป

2.วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

ตอบ ปัญหาการมีภาวะซึมเศร้า : ควรเข้าไปพูดคุยกับเขา พยายามให้เขาเปลี่ยนทัศนคติเปลี่ยนความคิด ให้เขาได้นึกย้อนกลับไปว่าสิ่งที่คิดนั้นถูกต้องเพียงใด สมเหตุสมผลหรือไม่ ทำไมต้องใส่ใจกับเรื่องที่ไม่ดีนั้น ยังมีสิ่งดีๆรอบตัวเราอีกมากมาย ชี้ให้เขาเห็นว่ายังมีคนหลายคนที่ยังรักและคอยเป็นห่วงอยู่ หมั่นให้คนในครอบครัวพาไปทำกิจกรรรมต่างๆร่วมกัน สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว เมื่ออยู่ที่บ้านก็ให้จัดของ ทำงานบ้าน ทำงานอดิเรกที่ตนเองสนใจ จะได้ไม่คิดฟุ้งซ่าน

ปัญหาไม่มีงานทำ : เมื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าให้ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่งแล้ว ทัศนคติการมองโลก และบุคลิกต่างๆจะดีขึ้นตามมา คือเมื่อคิดแต่สิ่งดีๆมีความสุขจากภายใน ภายนอกก็จะแสดงออกมา ก็ให้เริ่มไปสมัครงานในสิ่งที่เขาทำได้หรือเรียนมา หากยังหาได้ไม่ตรงกับสายที่เรียนมานั้น ก็ให้ทดลองทำงานร่วมกับผู้อื่นอาจจะเป็นในร้านเล็กๆที่ได้เงินเดือนไม่สูง ชี้ให้เขาเห็นว่าอย่างน้อยการทำงานหาเงินได้แม้ไม่มากแต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ได้ พ่อแม่จะได้ภูมิใจและเหนื่อยน้อยลง ในเวลาว่างอาจจะให้ไปเป็นอาสาสมัครมองดูโลกให้กว้างขึ้นว่ามีอีกตั้งหลายคนที่โชคร้ายกว่าตน และพอได้ช่วยเหลือคนเหล่านั้นก็จะรู้สึกว่าชีวิตตนเองมีคุณค่า และตั้งใจพยายามเต็มความสามารถเพื่อที่จะได้งานที่ดีๆจะได้สามารถดูแลคนที่เขารัก และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่กลับมาคิดเรื่องๆเศร้าอีก

3.วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผัดวันประกันพรุ่ง และติดเกม

ตอบ ปัญหาการไม่ไปโรงเรียน : การไม่อยากไปโรงเรียนเกิดขึ้นได้ในหลายๆคน อาจมีปัจจัยที่แตกต่างกันไป ต้องสร้างแรงจูงใจให้เด็กหันกลับไปเรียน คือบอกข้อดีของการเรียนหนังสือ ให้รางวัลเมื่อเรียนได้คะแนนสูงขึ้น แนะนำให้พ่อแม่ไปปรึกษากับคุณครูที่โรงเรียนเพื่อร่วมกันหาสาเหตุที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนจะได้แก้ไขปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น

ปัญหาหารย้ำคิดย้ำทำ : รักษาได้โดย พฤติกรรมบำบัด ให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่ตนกังวลใจ ให้อยู่กับสิ่งนั้นให้นานขึ้น ตามลำดับจากน้อยไปมาก เมื่อบำบัดบ่อยขึ้น ก็จะเริ่มคลายกังวลลงได้ และไม่ย้ำคิดย้ำทำ การบำบัดนี้ ควรให้ครอบครัวช่วยด้วยอีกแรง เราควรแนะนำแนวทางการแก้ปัญหาและระหว่างการบำบัด ไม่ควรต่อว่า หรือดุ เพราะอาจจะทำให้มีอาการที่รุนแรงขึ้นได้

ปัญหาผัดวันประกันพรุ่ง : ควรชี้ให้เห็นความสำคัญของเวลา ให้ใช้เวลาทุกนาทีให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนะนำให้จัดตารางและพยายามทำให้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อมีเวลาเหลือก็จะได้ทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ และผ่อนคลายตามความชอบได้

ปัญหาการติดเกม : เห็นได้ว่าการติดเกมนั้นอาจจะเป็นบ่อเกิดปัญหาต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แก้ไขตรงจุดนี้ ก็อาจจะคลายปมปัญหาอื่นๆได้ การติดเกม ถ้าพ่อแม่จะห้ามเด็ดขาดไม่ให้ยุ่งกับเกมเลย ยิ่งจะทำให้เด็กต่อต้าน และเครียดได้ จึงควรแนะนำให้พ่อแม่สอนลูกให้แบ่งเวลาหรือจัดตาราง ถ้าลูกทำความดีหรือตั้งใจเรียนมากขึ้นก็ให้เล่นเกมตามความชอบได้ในระยะเวลาที่มากกว่ากำหนดเล็กน้อย นอกเหนือเวลาเล่นเกมนั้น พ่อแม่อาจจะให้ลูกทำกิจกรรมต่างๆ และให้ค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบด้านกีฬาเพื่อเพิ่มความแข็งแรง (ถ้าลูกชอบกีฬาเป็นทีมก็ส่งเสริมให้เล่นกับเพื่อนที่โรงเรียนจะได้อยากไปโรงเรียนมากขึ้นเป็นผลพลอยได้อีกด้วย) เมื่อมีเวลาว่างพาลูกออกไปนอกบ้าน ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันก็จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพจิตดีทั้งครอบครัว และจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและมีคุณภาพในสังคม

4.วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

ตอบ ปัญหาสมาธิสั้น : ให้ค้นหาสิ่งที่เด็กให้ความสนใจและพร้อมที่จะอยู่กับมันได้นานๆ เมื่อหาได้แล้วเพื่อให้เด็กจดจ่อ ต้องลดสิ่งเร้ารอบนอก ให้เด็กมีสมาธิและสติอยู่กับตัวให้มากที่สุด นอกจากพ่อแม่จะเป็นผู้ช่วยดูแลแล้ว ต้องให้คุณครูช่วยด้วยอีกแรงหนึ่ง เพราะถ้าหากทำกับที่บ้านแล้วที่อื่นยังเป้นแบบเดิมก็จะรักษาได้ยากขึ้น แนะนำให้พ่อแม่ชวนลูกทำสมาธิก่อนนอนพูดดีๆ ให้ใจกับลูก เมื่อสมาธิดี จิตก็จะมั่นคงมากยิ่งขึ้น

ปัญหาก้าวร้าว : ต้องดูปัจจัยหลายๆอย่างอาจจะมาจากคนรอบด้วยของเด็ก เช่น พ่อแม่หรือเพื่อน ถ้าเป็นพ่อแม่ที่ชอบใช้ความรุนแรงหรือพูดจาไม่ดี ก็อาจจะขอให้ไม่ทำต่อหน้าของลูกเพื่อไม่ให้เกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ในส่วนของเพื่อน ก็พยายามไม่ให้เด็กที่ก้าวร้าวมาอยู่รวมกันหรือเล่นกันตามลำพัง เพราะจะชวนกันก้าวร้าวหรือเกเรหนักว่าเดิมได้ เราต้องพูดจาดีๆและแสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจเค้า และพยายามเตือนเมื่อเวลาเด็กก้าวร้าว สั่งสอนด้วยน้ำเสียงจริงจังแต่ไม่ดุเด็กจะเกิดการเรียนรู้และไม่ทำซ้ำ

ปัญหาการตีคนแปลกหน้า : เมื่อพาลูกออกไปในที่ชุมชน ควรอุ้มหรือจูงให้อยู่ใกล้ๆตัว เมื่อเด็กมีท่าทีที่จะตีคนที่เข้ามาเล่นด้วย ให้พ่อแม่ยับยั้งอาจจะเป็นการจับมือแล้วสั่งสอนว่าทำแบบนี้ไม่ดีนะลูก การตีหรือทำร้ายเป็นสิ่งที่ไม่ดี อาจจะยกตัวอย่างว่าถ้าแม่ตีหนูหนูก็จะเจ็บและร้องไห้ คนอื่นก็เหมือนกัน เด็กจะเกิดการเรียนรู้และเข้าอกเข้าคนอื่นมากขึ้น

ปัญหาการไม่ชอบออกจากบ้าน : ค้นหากิจกรรมที่ลูกชอบทำ และพาไปเปลี่ยนบรรยากาศ อาจจะเป็นที่รมรื่นและอากาศถ่ายเทได้ดี สร้างแรงจูงใจในการออกไปเล่นข้างนอก ถ้ามีสัตว์เลี้ยงก็ให้พาออกไปเดินเล่นกับพ่อแม่ ทำให้กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

น.ส.ปุณยาพร เกิดสมจิตร 5823011 PTOT ปี 2

อ้างอิง

http://health.haijai.com/3715/

http://health.kapook.com/view3241.html

http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowled...

http://www.cumentalhealth.com/รอบรู้เรื่องสุขภาพจิ...

หมายเลขบันทึก: 616337เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท