ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


>>ผู้ป่วยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนเเรง และไม่มีคนดูเเล<<

ผู้ป่วยควรได้รับการพัฒนาศักยภาพการกลืนอาหาร ให้สามารถรับประทานอาหารได้ ทำให้สุขภาวะดีขึ้น ควรได้รับการบำบัดในเรื่องหลัง ให้อาการปวดดีขึ้น ควรได้รับการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งควรได้รับการพัฒนาด้านจิตใจให้มีความสุข สบาย รู้ตัว ไม่ทุกข์กับตัวเอง และควรได้รับการดูแลอีกด้วย ผู้ดูแลอาจเป็นจิตอาสา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด หรือ คนรอบข้าง เช่น เพื่อนบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน คนในชุมชน ช่วยกันดูเเล ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในหลายๆด้าน ควรได้รับคำแนะนำ ด้านการดูแล เช่น การดูแลขั้นพื้นฐานในเรื่องการกลืน จากหนังสือคู่มือจิตอาสากิจกรรมบำบัด ของสำนักพิมพ์แสงดาว โดย ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง กล่าวว่า ให้ฝึกออกกำลัง3ข้อ ทุกวัน คือ

ออกกำลังใจ คือ ไม่ต้องเคร่งเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมาก ระวังการตอบคำถามระวังทาน พูดคุยให้ตื่นตัวเสมอ ฝึกยิ้มกว้างทำ3ครั้ง

ออกกำลังคิด คือ ปรับเตียง45-90องศา จับลุกให้นั่งบนเตียง ฝึกหายใจเข้าทางจมูก เป่าออกทางปาก3ครั้ง ฝึกหายใจเข้าทำท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ 3ครั้ง

ออกกำลังกาย ปรับเตียง45-90องศา จับให้นั่งบนเตียง ให้หลับตา ขมวดคิ้ว ย่นจมูก ฝึกทำ3ครั้ง ให้ทำปากจู๋ สบฟัน 3ครั้ง ให้ก้มคอเล็กน้อยกลืนน้ำลาย ไอ 1 ครั้ง ร้องเสียงอา อู โอ ต่อกันดังๆ 1 ครั้ง แล้วทำการกิจกรรมบำบัดการฝึกกลืนอาหาร

เมื่อผู้ป่วยได้รับการบำบัดจน มีการกลืนที่ดีขึ้น อาการปวดหลังดีขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น ก็จะทำให้จิตเป็นสุขมากขึ้น มีสุขภาวะที่ดีมากขึ้นได้


>>วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้า ไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อเเม่สูงวัยดูแล<<

ในคนวัยทำงานที่มีภาวะซึมเศร้า เป็นอาการทางจิต ควรมีการพัฒนาศักยภาพโดยควรรักษาอาการภาวะซึมเศร้าให้ดีขึ้น อาจด้วยวิธีจิตบำบัด หรือ การรักษาทางกิจกรรมบำบัด โดยเริ่มจากการประเมินทั้งทางด้านจิตสังคม และ การประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ เพื่อดูว่ามีความบกพร่องด้านไหนบ้าง เเละวางเเผนการบำบัดเพื่อให้ทักษะทางจิตสังคมดีขึ้น ทำให้ภาวะซึมเศร้าลดลง เมื่อภาวะจิตที่มีอาการซึมเศร้าดีขึ้นก็ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และ พัฒนาศักยภาพให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ก็จะทำให้อาการของโรคซึมเศร้าลดน้อยลงอีกด้วย การทำให้อาการภาวะซึมเศร้าลดลงจะช่วยทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น ภาวะจิตดีขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้

นอกจากนี้พ่อแม่ ควรได้รับคำเเนะนำเพื่อดูแลลูกวัยทำงานอย่างถูกต้อง ให้กำลังใจ คอยสอดส่องดูแล ปรับสภาพแวดล้อม รวมทั้งควรดูแลตัวเอง ไม่ควรเครียดหรือกังวล เพื่อสุขภาวะที่ดีของพ่อเเละเเม่ที่ต้องเลี้ยงดู

(กิจกรรมบำบัดกับการรักษาโรคซึมเศร้า https://www.gotoknow.org/posts/56677)


>>วัยรุ่น ไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม<<

วัยรุ่นที่มีอาการเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ

ควรได้รับการบำบัดลดอาการวิตกกังวล เพราะการไม่ไปโรงเรียน และอาการย้ำคิดย้ำทำ อาจเกิดจากความวิตกกังวล หากมีความวิตกกังวล ควรพบเเพทย๋เพื่อรับยา หรือ ทำพฤติบำบัด ให้ผู้ป่วยรู้สึก ผ่อนคลาย สบาย คลายกังวล ทำให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

ควรได้รับการพัฒนาcognition ฝึกการรู้คิด สร้างแรงจูงใจในการกิจกรรม และ การไปโรงเรียน เพื่อทำให้อยากไปโรงเรียน และทำให้ลดการผัดวันปะกันพรุ่ง

ควรได้รับการแก้ไขเรื่องอาการติดเกมส์ จากเว็บไซต์ งานพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงแนวทางแก้ไขการติดเกม คือ สร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว ควรให้ครอบครัวเข้าใจ รับฟัง และ กระตุ้นให้แสดงความรู้สึกและผลกระทบของเกมส์ต่อตนเอง พูดคุยถึงปัญหา หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนเเรง

ควรฝึกวินัยให้กับวัยรุ่น มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครอง มีข้อตกลงในการเล่นเกม

ครอบครัว และ โรงเรียน ควรได้รับความรู้ความเข้าใจในอาการของวัยรุ่นเพื่อจะได้เข้าใจ และให้กำลังใจ และควรได้รับคำแนะนำในการดูแลรักษา จัดสิ่งเเวดล้อม รวมทั้งรู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรกับผู้รับบริการ

เมื่ออาการต่างๆลดลง สุขภาพจิตดีขึ้น ก็จะทำให้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเป็นปกติขึ้น ชีวิตก็จะมีความสุขขึ้น ทำให้สุขภาวะดี

(โรคย้ำคิดย้ำทำ http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05012014-1443)

(ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/09042014-1218)


>>เด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ยอมออกจากบ้าน<<

ควรประเมินการรับรู้ และ สัมภาษณ์ผู้ปกครองโรงเรียน เพื่อทำมาวางเเผนการบำบัดให้เหมาะสมกับเด็ก

ควรได้รับการพัฒนาด้านattention การควบคุมตนเอง และการรู้ตัว รู้คิด เพื่อให้มีสมาธิดีขึ่น ทำกิจกรรมต่างๆได้ดี มีการจดจ่อในกิจกรรมต่างๆให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตได้ดีขึ้น รวมทั้งทำให้ไม่ทำร้ายผู้อื่น และ ช่วยลดความก้าวร้าวต่างๆที่จะเกิดขึ้น

ส่งเสริมสร้างแรงจูงใจในการออกจากบ้าน เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือภายในบ้านได้ เช่น สามารถไปโรงเรียนได้

ควรส่งเสริมให้ พ่อแม่เเละครู ได้รับความรู้ เเละ การเเนะนำเพื่อที่จะเข้าใจเด็ก เข้าใจวิธีการรักษา ดูแล รวมถึงข้อจำกัดของเด็ก นอกจากนี้ยังควรปรับสภาพเเวดล้อมและพฤติกรรมของคนในครอบครัวให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น สร้างบรรยากาศที่เข้าใจ เป็นกำลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัว ให้คำชมเมื่อเด็กทำดี และ ควรปรับกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสมเช่น การเพิ่มความน่าสนใจของกิจกรรมเพื่อลดความก้าวร้าวเมื่อห่างจากแม่ การลดระยะเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลง ควรให้เอื้อต่อการฝึกฝนและเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนี้พ่อเเม่ยังไม่ควรเครียดมากเกิดไปเพราะอาจทำให้พ่อเเม่ไม่มีความสุขได้

เมื่อเด็กมีอาการสมาธิสั้นลดน้อยลง ก็จะสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เด็กก็มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ไม่ทำร้ายผู้อื่น ผู้อื่นก็จะมีสุขภาวะดีขึ้น แล้วพ่อเเม่ก็จะมีความสุขขึ้น สุขภาวะดีขึ้นด้วยเช่นกัน

(กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น http://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=171)

หมายเลขบันทึก: 616281เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท