ฟื้นคืนสุขภาวะและศักยภาพการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม1


สวัสดีทุกท่านค่ะ วันนี้มีโจทย์ที่น่าสนใจและท้าทายศักยภาพของนักศึกษากิจกรรมบำบัดจากอาจารย์ป๊อบมาแชร์ให้ทุกคนได้ลองอ่านกันค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องราวของกรณีศึกษา 2 รายที่แตกต่างกัน โดยให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดตั้งเป้าหมายทางด้าน Return to work หรือ Work modification ด้วยสุขภาวะและศักยภาพการทำงานที่เป็นรูปธรรมใน 4 สัปดาห์ น่าสนใจใช่ไหมคะ เรามาเริ่มกันที่กรณีศึกษารายแรกกันเลยดีกว่าค่ะ

กรณีศึกษาที่ 1 เคสวัย 65 ปีที่เป็นรูมาตอยด์มา 5 ปี แล้วต้องดูแลแม่วัย 97 ปีไม่ได้ทำงานประจำ เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ และชอบทำอาหารไทย กำลังกลุ้มใจเพราะมีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาท

ก่อนอื่นเรามาวิเคราะห์ตาม PEOP กันก่อนนะคะ


ผู้รับบริการมีความชอบในการทำอาหารไทย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถเปลี่ยนบทบาทของผู้รับบริการจากคนที่มีความกังวล ไม่มีงานประจำ จนเกิด Positive role transformation เป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงบทบาทเป็นผู้สอนทำอาหารไทยสู่ลูกหลานและมีการสื่อสารออกไปสู่สังคม ทำให้ผู้รับบริการเกิด Successful aging และมีการพัฒนาภาวะผู้นำอีกด้วย

วิเคราะห์การสอนทำอาหารไทยของผู้รับบริการ


สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดควรประเมินเพิ่มเติม

- ปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อจำกัดในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ

- การลดลงของกำลังกล้ามเนื้อและช่วงการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อข้อจำกัดในการทำกิจกรรม

- ประเมินด้าน Mental function (Psychological+cognitive process)

- สิ่งแวดล้อม

การตั้งเป้าหมายทางด้าน Return to work ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด

Problem lists

  • ผู้รับบริการมีโรคประจำตัว (รูมาตอยด์) และต้องดูแลคุณแม่
  • ผู้รับบริการมีความกังวลเรื่องหนี้สิน
  • ผู้รับบริการไม่มีงานประจำ (ไม่มีรายได้ดังเดิม)

Goal : ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเจ็บป่วยและความเครียดในการทำงานและดูแลคุณแม่ รวมทั้งมีรายได้จากการสอนทำอาหารไทย

FoR/Model: Occupational transtheoretical model (MOHO+PEOP), Ergonomic

Approach: Relaxation technique, Energy conservation, Stress management, CBT

Therapeutic activity:

Occupational transtheoretical model

Volition Subsystem : P+E ให้ผู้รับบริการรับรู้ปัญหาของตนเองทั้งด้านการดำเนินโรค ความเครียดที่มาจากการดูแลแม่และหนี้สิน และผู้รับบริการรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและพึงพอใจก็คือการทำอาหารไทย นำมาซึ่งการเปลี่ยนบทบาทเป็นคนสอนทำอาหารไทยทำให้เกิดคุณค่าในตนเองและมีรายได้

Habituation Subsystem : รับรู้นิสัยและบุคลิกภาพของตนเอง

Performance Subsystem : รับรู้จุดแข็ง/ข้อดี จุดด้อย/ข้อเสีย ของตนเองและยอมรับได้รวมถึงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีส่วนร่มกับครอบครัวและสังคมเพื่อลด Occupational Imbalance และเพิ่ม Work-Leisure balance performance

การจัดการกับโรครูมาตอยด์โดยใช้ Energy conservation and Joint protection technique

  • รับรู้ความปวดที่เป็นสัญญาณเตือนให้หยุดทำกิจกรรม
  • ทำตารางเวลากิจวัตรประจำวัน เขียนเมื่อมีอาการปวดหรือล้าเกิดขึ้นและพักเมื่อจำเป็น
  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ผิดปกติและลดแรงที่มากระทำโดยตรง
  • ใช้ข้อที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าในการทำงาน เก็บข้อเล็กไว้ใช้กับงานที่เฉพาะเจาะจง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป
  • ปรับขั้นตอนการทำกิจกรรมให้ง่ายขึ้น
  • แบ่งเวลาในการทำงาน พักทุก 2 ชั่วโมงหากเป็นไปได้

การจัดการความเครียดและผ่อนคลาย

  • Progressive muscle relaxation โดยการให้หลับตา เกร็งแล้วคลายกลุ่มกล้ามเนื้อจากส่วนบนไปส่วนล่างของร่างกาย พยายามตั้งสมาธิไปที่บริเวณที่เกร็ง รับรู้ว่ากำลังเกร็งและให้รู้สึกถึงความผ่อนคลายเมื่อปล่อย
  • Meditation & Breathing exercise ฝึกนั่งสมาธิและฝึกหายใจ โดยให้หายใจเข้าออกยาวๆ หายใจเข้าท้องป่องหายใจออกท้องแฟบ
  • Cognitive Behavioral Therapy ฝึกรับรู้ความคิดด้านลบและความคิดที่ไม่เป็นจริงที่ตนเองกังวล และแทนที่ด้วยความคิดที่เป็นจริง มีเหตุผล

การหารายได้จากการสอนทำอาหารไทย

  • เริ่มจากการสอนลูกหลานตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างคุณค่าให้ตนเอง
  • เปิดรับสอนทำอาหารไทยให้คนในสังคมโดยประชาสัมพันธ์จากที่ต่างๆ เช่น ที่ทำงานเก่าของตนเอง ชาวต่างชาติที่เคยเป็นลูกค้าของบริษัทิ เป็นต้น

Clinical Reasoning

- Scientific reasoning ผู้สูงอายุวัย 65 และเป็นโรครูมาตอยด์มา 5 ปี จากการดำเนินโรคส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดบวมตามข้อ โดยพบที่ข้อขนาดเล็ก เป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อนั้นๆและเมื่อพักการใช้ข้อนานๆ ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันและการทำงานของผู้รับบริการ

- Narrative reasoning ในอดีตเคยเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทเป็น Negative role transformation เป็นปัจจุบันไม่ได้ทำงานประจำ อาจมีสาเหตุมาจากการเกษียณอายุ หรือการดำเนินโรคที่ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ หรือการที่ต้องดูแลคุณแม่อายุ 97 ปี ซึ่งการเปลี่ยนบทบาทนี้มีผลกระทบอย่างมากทางด้านรายได้ ทำให้ผู้รับบริการมีความกังวลในหนี้สินที่ตนเองมีอยู่

- Procedural reasoning ส่งเสริมการกลับไปทำงานและเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้รับบริการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต มีวิธีการจัดการกับโรครูมาตอยด์ การลดความเครียดและแนวทางในการหารายได้

- Pragmatic reasoning จากหลักฐานเชิงประจักษ์ การนำเทคนิคนั่งสมาธิ ผ่อนคลายและการฝึกหายใจ ช่วยลดความเครียดได้จริง และการใช้เทคนิค Cognitive Behavioral Therapy ช่วยทำให้ผู้รับบริการจัดการกับความคิดตัวเองได้และมีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น

Reference

1. Andrade, J. A., Branda˜o, M. B., Pinto, M. R. C., & Lanna. Factors associated with activity limitations in people with rheumatoid arthritis. American Journal of Occupational Therapy. 2016;70:7004290030.

2. Katherine M. Richardson and Hannah R. Rothstein. Effects of Occupational Stress Management Intervention Programs. Journal of Occupational Health Psychology.2008;Vol. 13, No. 1, 69–93

3. Risa Kimura, Makiko Mori, Miyuki Tajima, Hironori Somemura, Norio Sasaki, et al. differEffect of a brief training program based on cognitive behavioral therapy in improving work performance: A randomized controlled trial. Journal of Occupational Health.2015; 57: 169–178


หมายเลขบันทึก: 616274เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท