​ที่มาและการใช้งานของ "หลักวิทยาศาสตร์พระเครื่อง"


ที่มาและการใช้งานของ "หลักวิทยาศาสตร์พระเครื่อง"

------------------------------------------------------
ความจำเป็นของหลักการ: ...................
ระดับตลาดพระ คำพูดคำรับรองของเจ้าของพระ หรือแม้แต่ใบรับรอง มิได้เป็นตัวชี้บ่ง หรือยืนยัน "ความแท้หรือเก๊" ของพระแต่ละองค์
......................................................
คำสำคัญของหลักการ: ...........................
ความแท้หรือเก๊ อยู่ที่ลักษณะมวลสารและพัฒนาการที่เป็นไปตามความจริงของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เท่านั้น
************************************
สาระสำคัญ: ที่มาของการใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อการพิจารณา "ความแท้" นั้น พัฒนามาจากหลักการของการใช้และพัฒนาการของวัสดุธรรมชาติ
.................................................
อันได้แก่ หินอัคนี ทราย ดิน ปูน สนิมโลหะต่างๆ ยางไม้ และน้ำมัน
ที่ผ่านทั้งการดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม ความร้อน งานศิลปะ และระยะเวลามาในรูปแบบแตกต่างกัน
.........................................................
โดยอาศัย ทั้งตามหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา สังคมวิทยา และมวลสารวิทยา เป็นหลักการพื้นฐานในการพิจารณา

ถ้ามีข้อสงสัยในประเด็นใด ก็จะต้องหันกลับไปตรวจสอบกับวัสดุต้นกำเนิด และการพัฒนาการที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วย้อนกลับมาหาวัสดุที่เราสงสัย จนเข้าใจได้ชัดเจน โดยลำดับ
...............................................
ด้วยหลักการนี้ เราจึงจำเป็นต้องมีวัสดุเนื้อครู และองค์ครูแบบหลากหลาย จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และครอบคลุมความหลากหลายที่เกิดขึ้น ทั้งโดยธรรมชาติ และการจัดการของคนในแต่ละยุค แต่ละสมัย ตามความรู้ ความเข้าใจที่พัฒนามาโดยลำดับ
*************************************************
บทสรุป: การใช้หลักวิทยาศาตร์ จะช่วยให้เราสามาถแบ่งแยกแท้ เก๊ ด้วยความรู้และความเข้าใจของตัวเอง โดยไม่ไขว้เขวสับสน ด้วยคำพูดของใคร หรือเหตุการณ์แวดล้อมใดๆ ทั้งระบบตลาด และระบบสังคม
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 616273เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถูกต้องด้วยประการทั่งปวงที่อาจารย์กล่าวมา ผมก็เริ่มเข้าใจวิวัฒนาการสร้างพระเครื่องยุคเก่ากับยุคใหม่แล้ว ด้านแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท