ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


1. ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

การติดเตียงของผู้สูงอายุอาจจะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทของผู้สูงอายุถูกกดทับได้ เราต้องทำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่ทำให้เขาติดเตียง ได้ขยับร่างกาย เช่น อาจจะสอบถามว่าเขามีความสนใจ หรือมีงานอดิเรกอะไรที่ชอบทำมั้ย เพื่อให้เขาทำกิจกรรมนั้น หรือให้นักกายภาพบำบัดจัดท่าออกกำลังกายหรือท่าบริหารข้อให้ เพื่อให้เขาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง (เอกสารอ้างอิง : http://medinfo.psu.ac.th/pr/ortho/know4.html)

ในวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่เกิดภาวะกลืนลำบากง่ายเพราะผู้สูงอายุจะมีการหยุดหายใจขณะกลืนเร็วและนานขึ้น โดยจะเริ่มหยุดหายใจตั้งแต่หายใจเข้า ทำให้เมื่อกลืนแล้วต้องรีบหายใจทันที ทำให้เมื่อรับประทานอาหารต่อเนื่องกัน ผู้สูงอายุจึงมีโอกาสเกิดการสำลักอาหารได้ รวมถึงReflexการกลืนที่คอหอยจะเกิดช้า ส่งผลให้อาหารอยู่ใน ระยะคอหอยนาน จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจ หากปล่อยไปอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ นักกิจกรรมจึงเข้ามามีบทบาทในการรักษานี้ โดยใช้การกระตุ้นกลืนในการรักษา (เอกสารอ้างอิง : http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2014...)

การหกล้มจนปวดหลังรุนแรง เราควรให้รู้ท่าที่เขาควรพึงระวัง ไม่ให้กระทบกับหลัง ไม่ให้ทำ พร้อมกับให้ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง

ผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแล ควรให้หน่วยงานเข้ามาจัดการและรับช่วงดูแล หากผู้สูงอายุอยู่คนเดียว ไม่มีใครดูแล อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุเองได้

2. วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

การมีภาวะซึมเศร้าอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่มีงานทำได้ เพราะผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความสนใจและสมาธิลดลง ไม่สามารถตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆได้ดีนัก การบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายวิธีและแนวทาง เช่น การเข้าสังคม ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด นอกเหนือจากวิธีในการบำบัดรักษา กำลังใจ แรงใจนั้นก็สำคัญ หากผู้ป่วยไม่มีแรงใจสู้ในการรักษาก็จะไม่สามารถหายจากภาวะซึมเศร้าได้ หากผู้ป่วยหายจากภาวะซึมเศร้า หรือมีอาการดีขึ้นจนมีความสนใจหรือมีสมาธิที่จะทำงานได้ ก็จะทำให้สามารถหางานทำและเลี้ยงดูตัวเองได้โดยไม่ต้องให้พ่อแม่เลี้ยงดู รวมถึงผู้ป่วยสามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้ด้วย (เอกสารอ้างอิง : http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id...)

3. วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

หาสาเหตุว่าเพราะอะไรเขาถึงไม่อยากไปโรงเรียน และให้วัยรุ่นได้เห็นถึงความสำคัญของการไปโรงเรียน บอกถึงข้อเสียของการผลัดวันปะกันพรุ่งว่าเป็นอย่างไร การผลัดวันปะกันพรุ่ง ถ้าเรามีการวางแผนงาน จัดตารางเวลา เพื่อกระตุ้นว่าต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การให้รางวัลตัวเองหากทำสำเร็จ รวมถึงการลงมือทำทันที ก็สามารถลดการผลัดวันปะกันพรุ่งได้ ให้จัดตารางในแต่ละวันเพื่อลดการติดเกม บอกข้อเสียของการติดเกม

การย้ำคิดย้ำทำ คือการที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำได้ การรักษาที่ได้ผลดีคือพฤติกรรมบำบัดโดยการให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและเราต้องไปป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมย้ำทำ เช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือ ก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามาก และระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมืออาจเริ่มจาก 10-15 นาที ไปจนเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อยๆ จนสามารถจับสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือดังก่อน

(เอกสารอ้างอิง : http://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowled...)

(เอกสารอ้างอิง : http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?News...)

4. วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมที่อาจจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว บางรายอาจถึงขึ้นทำร้ายร่างกาย มีอาการซน อารมณ์ที่มีอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม และส่งผลการเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ บางคนอาจจะไม่กล้าออกจากบ้านมาพบปะผู้คน ไม่กล้าพูดคุยด้วย แต่ว่าอาการที่เด็กแสดงนั้นอาจจะไม่ได้มาจากการเป็นสมาธิสั้นก็ได้ แต่มาจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อตัวเด็ก ทำให้เด็กแสดงอาการเหล่านั้นออกไปได้ เช่นเด็กสมาธิสั้นมักจะทำงานไม่ค่อยสำเร็จ ทำให้ถูกดุถูกว่าเป็นประจำ ทำให้เด็กหมดความมั่นใจ มองตัวเองว่าเป็นคนไม่ดี พยายามหาทางที่ทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งเป็นทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การแกล้งเพื่อน เถียงพ่อแม่ จนทำให้เป็นเด็กก้าวร้าว ดังนั้นการสร้างเสริมความภูมิใจให้เด็กมีความสำคัญมาก การให้กำลังใจ ให้คำชม และให้รางวัลตามความเหมาะสม ถ้าเห็นว่าควรทำโทษ ก็ทำโทษอย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง ก็สามารถลดความรุนแรง ความก้าวร้าวของเด็กลงได้ นอกเหนือจากการสร้างเสริมความภูมิใจให้เด็ก การฝึกฝนการควบคุมตัวเองและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรเสริมสร้างให้กับเด็ก การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป ควรจัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กวอกแวก หรือเปลี่ยนความสนใจง่าย

(เอกสารอ้างอิง : http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiat...)

(เอกสารอ้างอิง : http://www.happyhomeclinic.com/a05-ADHD%20care.htm)

หมายเลขบันทึก: 616266เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท