Take home examination 1


บันทึกนี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ทางกิจกรรมบำบัดในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ด้านการทำงาน ซึ่งดิฉันได้เลือกมา 2 กรณีศึกษา มีรายละเอียดดังนี้


กรณีศึกษาที่1 : เคสวัย 65 ปีเป็นรูมาตอยด์มา 5 ปี แล้วต้องดูแลแม่วัย 97 ปี ไม่ได้ทำงานประจำ เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ และชอบทำอาหารไทย กำลังกลุ้มใจเพราะมีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาท

เมื่อนำมาวิเคราะห์ตาม PEOP ได้ดังนี้



Diagnostic clinical reasoning = ผู้รับบริการมีปัญหาด้าน work แบบ occupational imbalance

Narrative clinical reasoning = ผู้รับบริการ ชอบทำอาหารไทยและมีความกลุ้มใจเรื่องหนี้สองล้าน(ต้องการรายได้เพื่อมาใช้หนี้) จึงเลือกเป็นการทำอาหารไทยขาย



Job analysis : การทำต้มยำกุ้ง เลือกวิเคราะห็การทำต้มยำกุ้งเพราะเป็นอาหารไทยที่โด่งดังสามารถขายคนต่างชาติเพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้ ได้มากขึ้น (ผู้บำบัดเลือกเองจากข้อมูลที่มีเนื่องจากไม่มีข้อมูลในส่วนนี้)


กิจกรรมที่ทำในงาน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรม

ความสามารถที่ช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการทำงาน

แกะเปลือกกุ้ง

body structure

ROM

Strength

energy

sensory

Coordination

Visual perception

cognition

ส่งเสริม

  • sensory
  • Coordination
  • Visual perception
  • Cognition

ขัดขวาง

  • pain
  • ROM
  • Strength
  • Swan-neck or Boutonniere deformity(อาจจะมี)
  • Fatigue

ล้างกุ้ง

หั่นเครื่องต้มยำ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชี และเห็ด

เปิดเตาและต้มน้ำร้อน

ใส่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด รอเดือดแล้วใส่กุ้งตาม ในหม้อ

ปรุงรสโดยใส่น้ำตาล น้ำปลา พริกขี้หนู พริกเผา

ใส่เห็ดฟาง

ปิดเตา

ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว

จัดใส่ชาม

นำผักชีโรยหน้า

จากการวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมการทำต้มยำกุ้งและการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการโรคและปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของผู้รับบริการ ที่เป็น Rheumatoid พบว่า อาการปวด ความล้า และขั้นตอนที่ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นปัจจัยที่ลดความสามารถในการทำงานของ ผู้รับบริการ ที่เป็น Rheumatoid (1) โดยขั้นตอนที่ผู้รับบริการ ที่เป็น Rheumatoid จะไม่ค่อยสามารถทำได้ คือขั้นตอนที่ต้องใช้แรงจับกำมือและขั้นตอนที่ต้องใช้การ เคลื่อนไหวของมือและนิ้วมือ เป็นส่วนใหญ่เนื่องมาจากอาการปวด (2)

Problem list

  1. มีความกลุ้มใจ เครียดเรื่องหนี้สิน
  2. มีอาการปวดบริเวณข้อต่างๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ
  3. มีอาการเหนื่อยง่าย
  4. มีปัญหาในเรื่องการวางแผนจัดการเงิน
  5. ไม่ได้ทำงานไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง


Short term goal

  1. สามารถจัดการความเครียดเมื่อเกิดขึ้นและมีความคิดริเริ่มในการทำงานภายใน 1 วัน
  2. รู้และเข้าใจวิธีและสามารถการจัดการอาการปวดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์
  3. สามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่รู้สึกล้า ภายใน 1 สัปดาห์
  4. สามารถวางแผนการใช้เงินรายรับรายจ่ายได้ ภายใน 1 สัปดาห์
  5. สามารถประกอบอาชีพค้าขายต้มยำกุ้งได้ ภายใน 2 สัปดาห์

Long term goal

ผู้รับบริการสามารถทำงานหารายได้ ได้เพียงพอต่อรายจ่ายจากการgเปิดร้านอาหารไทย


Intervention Program 4 สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 1

Goal1 : สามารถจัดการความเครียดเมื่อเกิดขึ้นและมีความคิดริเริ่มในการทำงา

FoR : Psychosocial rehabilitation

Therapeutic : Progressive muscle relaxation, imagination, counseling

Activity : เมื่อเกิดความเครียดโดยพลันต้องจัดการผ่อนคลายตนเองสามารถทำได้ดังนี้

1.หลับตาแล้วเกร็งแล้วคลายกลุ่มกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากส่วนบนไปส่วนล่างของร่างกาย

2.การจินตนาการถึงสถานที่ที่ชอบ สงบ อาจเปิดเพลงที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายฟังไปด้วย

เมื่อผ่อนคลายความเครียดเบื้องต้นได้แล้วก็ต้องมาหาปัณหาที่แท้จริงเพื่อการแก้ไขความเครียดอย่างยั้งยืน พร้อมวางแผนการแก้ไข โดยใช้การตระหนักรู้ในตัวเอง ผ่านคำถาม อะไร ทำไม และอย่างไร ตัวอย่างเช่นในกรณีศึกษานี้

เป็นอะไร กลุ้มใจ เครียดเรื่องหนี้สิน

ทำไมถึงเครียด ไม่มีรายได้ ไม่มีเงินมาจ่าย

แล้วจะทำอย่างไร ต้องทำงานหาเงิน


Goal2 : รู้และเข้าใจวิธีและสามารถการจัดการอาการปวดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์

FoR : Ergonomic and biomechanical , Occupational adaptation

Therapeutic : joint protection , teaching and learning process , graded activity

Activity : สอนหลักการ joint protection ด้วยการอธิบายและให้แผ่นพับหรือจดวิธีการไว้ให้ผู้รับบริการ รายละเอียดมีดังนี้

      • เมื่อเริ่มรู้สึกปวดให้เปลี่ยนกิจกรรม
      • กระจายน้ำหนักสิ่งของต่างๆไปที่หลายๆข้อต่อ
      • ลดกิจกรรมและขั้นตอนที่ต้องใช้กำลังเยอะโดยอาจปรับขั้นตอน ใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำกิจกรรมหรือลดน้ำหนักของอุปกรณ์
      • ให้ข้อต่ออยู่ในสภาวะที่มั่นคงในการทำงาน
      • ลดการให้แรงที่มากระทำโดยตรง
      • ใช้ข้อต่อที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง
      • หลีกเลี่ยงการอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
      • หลีกเลี่ยงการถือของที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เราจะถือหรือยกไหว
      • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การเอี้ยวตัว บิดตัว
      • คงไว้ซึ่งกำลังกล้ามเนื้อและองศาการเคลื่อนไหว (3)

ประเมินความเข้าใจและความมั่นใจในการจัดการอาการปวดโดยให้ผู้รับบริการบอกเป็นคะแนนจาก1-10 โดย 10 หมายถึง เข้าใจและมั่นใจว่าทำได้ และ 1 คือไม่เข้าใจและไม่มั่นใจว่าทำได้


Goal 3 : สามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่รู้สึกล้าภายใน 1 สัปดาห์

FoR : Ergonomic and biomechanical , Physical rehabilitation, Occupational adaptation

Therapeutic : energy conservation, teaching and learning process , graded activity

Activity : สอนหลักการ energy conservation ด้วยการอธิบายและให้แผ่นพับหรือจดวิธีการไว้ให้ผู้รับบริการ รายละเอียดมีดังนี้

      • แบ่งช่วงการทำกิจกรรมและช่วงพักให้สมดุลกัน
      • เลือกวิธีการทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อยที่สุดและเดินก้าวช้าๆ
      • วางแผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวันโดยเรียงลำดับก่อนหลังตามความสำคัญ
      • เมื่อรู้สึกเหนื่อยห้ามทำกิจกรรมที่ไม่สามารถเลิกทำได้ในทันที
      • ปรับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับ joint protection และ ergonomic (3)

ประเมินความเข้าใจและความมั่นใจในการ จัดการความล้า โดยให้ผู้รับบริการบอกเป็นคะแนนจาก1-10 โดย 10 หมายถึง เข้าใจและมั่นใจว่าจัดการได้ และ 1 คือไม่เข้าใจและไม่มั่นใจว่าจัดการได้

ถ้ายังไม่เข้าใจให้สอนอีกครั้งอาจใช้ภาพประกอบ หรือวิดิโอร่วม


สัปดาห์ที่ 2

Goal 4 : สามารถวางแผนการใช้เงินรายรับรายจ่ายได้ ภายใน 1 สัปดาห์

FoR : Psychosocial rehabilitation

Therapeutic : counseling, therapeutic use of self , therapeutic use of relationship

Activity : ผู้รับบริการจะเป็นคนตัดสินใจเองผู้บำบัดจะช่วยให้ข้อเสนอแนะเท่านั้น โดยเริ่มจาก

      • ให้ผู้รับบริการนึกและเขียน ยอดเงินที่คงอยู่ในปัจจุบัน ภาระหนี้สิน รายรับที่เข้ามา และรายจ่ายที่ออกไปในทุกๆวันและทุกๆเดือน
      • ตั้งเป้าจำนวนเงินและระยะเวลาในการผ่อนจ่ายหนี้
      • วางแผนว่าควรได้กำไรเท่าไหร่ในการขายอาหาร
      • แนะนำให้ผู้รับบริการทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกวัน


สัปดาห์ที่ 3-4

Goal 5 : สามารถประกอบอาชีพค้าขายต้มยำกุ้งได้ ภายใน 2 สัปดาห์

FoR : Occupational adaptation, physical rehabilitation, biomechanical

Therapeutic : work modification , environmental modification , assistive device

Activity : จากไม่ได้ทำงานเปลี่ยนเป็น work paid

มีการปรับขั้นตอนการทำต้มยำกุ้ง ดังนี้

    • จากการแกะเปลือกกุ้งให้เปลี่ยนเป็นไม่แกะเปลือกุ้งเลย
    • เปลี่ยนการหยิบของที่หั่นใส่ชามเปลี่ยนป็นการใช้มือปัดลงชาม
    • เริ่มจากขายจำนวนน้อยๆก่อนแล้วค่อยเพิ่มจำนวน แต่ต้องจัดเวลาพักอย่างเหมาะสม

มีการให้อุปกรณ์ช่วย ดังนี้

    • อุปกรณ์ช่วยยกจับชาม หม้อโดยใช้บริเวณข้อมือ
    • มีดที่มีลักษณะที่จับใหญ่ ด้ามจับสูงขึ้นด้านบนและ ใบมีดอยู่ด้านล่างความสูงน้อยกว่าด้ามจับ
    • อุปกรณ์เสริมด้านต่างๆ เช่น เสริมด้านช้อน เสริมด้ามทัพพี

ปรับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

    • อาจมีคนช่วยในบางขั้นตอน เช่น การไปส่งอาหาร และอาจต้องการคนช่วยเป็นจำนวนมากขึ้นในกรณีเปิดร้านหลายสาขา
    • เริ่มจากเปิดขายหน้าบ้าน ขายออนไลน์ ขายแบบเปิดร้าน

Work hardening จำลองสถานการณ์ทำต้มยำกุ้งขาย อาจเริ่มจากในบริบทคลินิกก่อนแล้วค่อยไปทำที่บ้าน


Procedural clinical reasoning =



Reference

1. McWilliams DF, Varughese S, Young A, Kiely PD, Walsh DA. Work disability and state benefit claims in early rheumatoid arthritis: the ERAN cohort. Rheumatology. 2014;53(3):473-81.

2. Andrade JA, Brandão MB, Pinto MRC, Lanna CCD. Factors Associated With Activity Limitations in People With Rheumatoid Arthritis. American Journal of Occupational Therapy. 2016;70(4):7004290030p1-p7.

3. de Almeida PHTQ, Pontes TB, Matheus JPC, Muniz LF, da Mota LMH. Occupational therapy in rheumatoid arthritis: what rheumatologists need to know? Revista Brasileira de Reumatologia (English Edition). 2015;55(3):272-80.

หมายเลขบันทึก: 616279เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท