ทำอย่างไรจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลหรือประชาคมเหล่านี้ให้มีสุขภาวะอยู่เย็นเป็นสุข


1. ผู้สูงวัยติดเตียงยากจน มีปัญหากลืนลำบาก หกล้มจนปวดหลังรุนแรง และไม่มีคนดูแล

- ให้ฝ่ายจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ เข้ามาให้ความรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสภาพ และแนะนำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจมากขึ้น

- นักกายภาพบำบัด/นักกิจกรรมบำบัดฝ่ายชุมชน มาดูแลหรือกระตุ้นกลืน ทำให้ผู้สูงอายุกลืนได้ง่ายมากขึ้น หรือแนะนำให้ผู้สูงอายุนอนยกศีรษะ เพื่อสะดวกต่อการกลืนมากขึ้น

- การพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงวัยสามารถใช้มือในการหยิบจับสิ่งต่างๆ ได้ก็ต้องสนับสนุนให้ผุ้ป่วยได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง ฝึกและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยมีความภูิใจในตนเอง

- สร้างการมีส่วนร่วมในสังคม โดยการใช้ชุมชนเข้ามาช่วย พยายามให้กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดเตียงมีสังคมมากขึ้น โดยอาจจะหากิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวมากภายในชุมชน มาทำร่วมกับผู้สูงวัยในบ้าน

- จัดห้องนอนหรือที่นอนภายในบ้านให้อากาศปลอดโปร่ง มีการถ่ายเทดี เพื่อความสบายของผู้สูงวัย

- สนับสนุนให้มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุประจำครอบครัว


2. วัยทำงานมีภาวะซึมเศร้าและไม่มีงานทำ ต้องให้พ่อแม่ผู้สูงวัยเลี้ยงดู

- ปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยแก้ไขปัญหาที่มีระหว่าง ผู้รับบริการกับคนรอบข้างที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

- แบบปรับความคิดและพฤติกรรมของผู้รับบริการ ช่วยให้ผู้รับบริการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในแง่ลบที่เกี่ยวกับตนเอง

- แนะนำให้ผู้บริการเลิกคิดว่าตัวเองพยายามไม่ดีพอ และสร้างกำลังใจให้ผู้รับบริการมากขึ้น

- หากิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เช่น การออกกำลังกายกับเพื่อน เข้ากิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น

- ให้ความรู้ครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลผู้รับบริการ และควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะเดิมโดยเร็ว เช่น กลับไปทำงาน เพราะจะเป็นการให้ผู้ป่วยสามารถยืนยันได้ว่าตัวเองปกติดีในสังคม

- แนะนำให้ผู้รับบริการหารายได้เพื่อเลี้ยงผู้สูงวัยในครอบครัว อาจจะเริ่มจากการทำงานหารายได้เล็กๆ ที่ทำได้ภายในบ้าน ถ้าผู้รับบริการเริ่มรู้สึกว่า ตนเองมีประโยชน์หารายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ก็จะเป็นตัวช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น


3. วัยรุ่นไม่ไปโรงเรียน ย้ำคิดย้ำทำ ผลัดวันปะกันพรุ่ง และติดเกม

- แนะนำให้ครอบครัวรับฟังพูดคุยถึงปัญหาที่ทำให้ผู้รับบริการ และแนะนำให้ครอบครัวถามถึงเป้าหมายในชีวิตของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย เพื่อลดการผลัดวันปะกันพรุ่ง ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่า ถ้าเราผลัดวันปะกันพรุ่ง มีอะไรบ้างที่เราจะไม่ได้ เราจะต้องสูญเสียเป้าหมายนั้นไปในที่สุด

- สนับสนุนกิจกรรมที่ต้องใข้การเคลื่อนไหวให้ผู้รับบริการ โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ทำภายในครอบครัว หรือร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน เช่น กิจกรรมด้านดนตรี ด้านกีฬา หรือว่าการไปเที่ยวพักผ่อนภายในครอบครัว

- แนะนำให้ครอบครัวจำกัดเวลาในการเล่นเกม อาจจะเริ่มจากให้ลดลงวันละ1-2 ชั่วโมง แล้วถ้าผู้รับบริการทำได้ก็อาจจะมีการชื่นชม หรือให้รางวัลที่ผู้รับบริการสนใจ

- ให้ความรู้กับครอบครัวว่าการที่ผู้รับบริการย้ำคิดย้ำทำนั้นเกิดจากการที่ผู้รับบริการมีความคิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ และต่อยอดมาถึงการตอบสนองทางความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลนั้นให้หายไป

- แนะนำให้ทำ พฤติกรรมบำบัด คือให้เข้าหาสิ่งที่ผู้รับบริการกังวล เมื่อเวลาผ่านไปความกังวลที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ลดลงเอง เพราะเราจะเกิดความชินชาขึ้น


4. วัยเด็กสมาธิสั้น ก้าวร้าว ตีคนแปลกหน้า และไม่ชอบออกจากบ้าน

- ให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่อง สมาธิสั้น

- แนะนำการพูดคุยโดยให้สังเกตว่าเด็กอยู่ในภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูดคุย เช่น การแตะไหล่ สัมผัสมือ เพื่อให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เรากำลังพูดมากขึ้น และให้ทวนให้ฟังอีกครั้งว่าเราบอกอะไร

- ฝึกฝนการควบคุมตนเองของเด็ก พ่อแม่ควรจัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร อาบน้ำ ไปโรงเรียน ทำการบ้าน หรือเข้านอน

- ให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงเหตุผลต่อความก้าวร้าวของเด็กให้มากขึ้น รับฟัง ให้โอกาสผู้รับบริการอธิบายเล่าเหตุการณ์โดยไม่ด่วนสรุปว่าเขาผิด เพราะบางครั้งเด็กต้องการเพียงการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้าง และพูดคุยกับเด็ก โดยหลีกเลี่ยงน้ำเสียงที่ดูตำหนิ แต่เป็นการให้พูดโดยใช้เหตุผล ทำไมเด็กถึงไม่ควรขว้างปาสิ่งของ บอกว่าเรารู้ว่าเขาโกรธ แต่ว่าเขาจะขว้างปาสิ่งของไม่ได้

- ให้ผู้ปกครองหากิจกรรมที่เด็กสนใจภายนอกบ้าน และพาไปทำกิจกรรมนั้น หรือปรับเปลี่ยนไปให้เขาได้ทดลองกิจกรรมใหม่ๆ เมื่อเขารู้สึกว่าออกจากบ้านและเขาได้ทำกิจกรรมสนุกๆ ก็จะทำให้เด็กคุ้นชินกับการออกจากบ้าน และสนุกสนานและคาดเดาไม่ได้ว่าครั้งนี้ที่เขาออกไปจะได้เจอกับความสนุกอะไร


อ้างอิง

1. http://www.thaihealth.or.th/Content/14338-%E0%B8%A...

2. http://pacs.lph.go.th:81/oldman/PDF/%E0%B8%9C%E0%B...

3. https://www.doctor.or.th/article/detail/5967

4. http://health.sanook.com/721/

5. http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E...

6. http://health.kapook.com/view3146.html

7. http://www.happyhomeclinic.com/a05-ADHD%20care.htm

8. http://www.manarom.com/article-detail.php?id=11

คำสำคัญ (Tags): #takehomeexam
หมายเลขบันทึก: 616278เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2016 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2016 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท