ประเทศไทย: วัฒนธรรมการทรมานภายใต้ระบบทหาร ตอนที่ 3 (ตอนสุดท้าย)


ความเย้ายวนใจทางกฎหมายเพื่อการทรมาน

ถึงแม้ว่าจะอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ (UN Convention) ที่ต่อต้านการทรมาน และต้องเคารพต่อกฎเกณฑ์ของมัน แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีกฎหมายฉบับที่เห็นว่าการทรมานเป็นอาชญากรรม กฎหมายไทยให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการหลักฐานที่เกิดจากการทรมานมาใช้ในศาลได้ มีการบ่นว่าการสำรวจตรวจสอบเป็นสิ่งยาก และการฟ้องร้องในเรื่องการทรมานยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เรื่องราวภายในรัฐยิ่งมีความเลวร้ายมากขึ้นหลังมีกรอบความคิดเชิงกฎหมายหลังยึดอำนาจ เช่น การให้เจ้าหน้าที่ทหารมีอำนาจในการจับกุมใครก็ได้อย่างที่ต้องการ และทำให้คนที่จับเสียเวลาไป 7 วัน ในที่ที่ไม่มีใครรู้จัก ซึ่งเราสามารถพบเห็นการทรมาน และความทุกข์ของเหยื่อ แต่การพบเห็นและความทุกข์ของเหยื่อต้องถูกปิดเงียบ

กฎอัยการศึก ซึ่งนำมาใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ตั้งแต่ปี 2006 (2549) และคำสั่งหลังรัฐประหารที่เกิดจากคสช.ได้ยกเลิกเครื่องมือที่มีอยู่ ทำให้ไม่สามารถกันการทรมานได้ Amnesty พบว่าการทรมาน และการรักษาโรคร้ายอื่นๆจะถูกใช้โดยการสอบปากคำทางทหาร ในช่วงการจับกุมที่ไม่สามารถอธิบายได้ ที่สร้างขึ้นโดยกฎหมายเหล่านี้

Rafendi Djamin กล่าวว่า “เหยื่อส่วนใหญ่กลัวจนไม่กล้าพูดออกมา เมื่อพวกเขมาร้องเรียน ศาลมักจะไม่สนใจพวกเขา ผู้ทรมานจะไม่ถูกทำโทษในการประกอบอาชญากรรม แต่เหยื่อต้องพบเจอกับความอยุติธรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า”

หลังจากการรัฐประหาร เลิศ (Lert นามสมมติ) ต้องถูกสอบปากคำมากกว่า 10 ชั่วโมงขึ้นไปในแต่ละวันเป็นเวลามากกว่า 4 วันขึ้นไป ระหว่างการสอบสวนนั้น เขาไม่ได้รับน้ำเลย ชาย 3 คนฟาดเขาระหว่างการสอบปากคำ การฟาดทำโดยใช้กำปั้น, เท้า, และปีน

เลิศกล่าวว่า การทุบตีทำให้เขาหรือผลักดันให้เขาสารภาพ ในวันที่ 2 ของการสอบปากคำ ทหารคนหนึ่งกล่าวกับเขาว่า “วันนี้แกต้องพูด หรือไม่ก็ครอบครัวต้องเดือนร้อน กูรู้ว่าพวกมันอยู่ที่ไหน”

การไปสู่ประเทศไทยที่ปราศจากการทรมาน

รายงานของ Amnesty International แนะนำขั้นตอนง่ายๆที่เจ้าหน้าที่ไทสามารถที่จะออกกฎหมาย และข้อบกพร่องเชิงสถาบันที่ก่อให้เกิดการทรมาน

สิ่งนี้ได้แก่การยกเลิกการจับกุมที่ไม่สามารถอธิบายได้, การทำให้การทรมานเป็นอาชญากรรม, เพิกเฉยต่อหลักฐานที่ได้จากการทรมานและการรักษาโรคร้ายๆ, สำรวนรายงานที่เกี่ยวกับการทรมาน และนำความรับผิดชอบมาสู่ความยุติธรรม, สร้างคณะในการตรวจสอบการจับกุมที่ต้องข้ามคืน, และนำเสนอทางแก้ให้กับพวกเหยื่อ

Rafendi Djamin กล่าวว่า “การทรมานไม่เพียงแต่ทำให้เหยื่อได้อายเท่านั้น แต่ยังลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้กระทำผิดด้วย เครื่องป้องกันการทรมานไม่ใช่เพียงแค่คุ้มครองผู้ถูกจับกุมเท่านั้น แต่ยังป้องกันเจ้าหน้าที่ที่กำลังควบคุมตัวอยู่ และรัฐที่พวกเจ้าหน้าที่เป็นตัวแทนอยู่ด้วย”

ประเทศไทยกำลังเตรียมร่างการป้องกัน และการกดทับของการทรมาน และกฎหมายการทำให้หายไปโดยการใช้กำลังอยู่ ซึ่งจะทำให้การทรมานเป็นอาชญากรรม และสร้างเครื่องป้องกันในการต่อสู้กับการทรมาน

Rafendi Djamin กล่าวว่า “หากกฎหมายใหม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ UN ที่ต่อต้านการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อให้เกิดการตรวจสอบที่เป็นอิสระจนปราศจากการทรมานได้ออกมา มันคือขั้นตอนที่สำคัญในการทำให้ประเทศไทยปราศจากการกระทำผิดๆนี้เสียที”

แปลและเรียบเรียงจาก

Amnesty International. Thailand : A culture of torture under the military

http://prachatai.org/english/node/6598 :p> http://prachatai.org/english/node/6598

หมายเลขบันทึก: 616249เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2016 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2016 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท