​ธรรมชาติของมนุษย์


ธรรมชาติได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยมีการคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะสามารถอยู่รอด และถ่ายทอดลักษณะเด่นนั้นๆ ออกมาให้แก่ลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธ์ และสามารถดำรงเผ่าพันธ์ตนเองไว้ได้ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดียิ่ง มนุษย์จึงยังสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน

แนวคิดมนุษยนิยม

นักจิตวิทยากลุ่มนี้ เช่น มาสโลว์ (Abraham H. Maslow) และโรเจอร์ ( Carl R. Rogers ) มีความเชื่อว่ามนุษย์เป็น “Men of play” แต่ละคนมีชีวิตอยู่ในความเปลี่ยนแปลงในโลก มีตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง และปฏิสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง และประสบการณ์ต่างๆ และการรับรู้ของเขาจะสร้าง “ตน” ของเขาให้แตกต่างกัน และมนุษย์ทุกคนจะต้องมีคุณค่าและความต้องการความพึงพอใจในตนเอง

นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า ธรรมชาติแท้จริงของมนุษย์นั้นดี ถ้าความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ได้รับการตอบสนองมนุษย์ก็จะทำแต่ความดี มนุษย์ทุกคนต้องดิ้นรนหาหนทางตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งกลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคน มีชีวิตอยู่กับความเปลี่ยนแปลงในโลก ที่มีตนเป็นศูนย์กลางและมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์โดยพื้นฐานแล้วเป็นผู้มีเหตุผลสามารถที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ มนุษย์มีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความดี เชื่อถือและไว้วางใจได้ มนุษย์ยังมีความเฉลียวฉลาดในการปรับตัว และต้องการความเป็นอิสระในการที่จะพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า

แนวคิดพฤติกรรมนิยม

นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า มนุษย์จะเติบโตขึ้นมาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการจัดกระทำและสภาพแวดล้อม ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาการของมนุษย์ และสร้างพฤติกรรมหรือลดพฤติกรรมมนุษย์ได้นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า “พฤติกรรมมนุษย์ย่อมมีสาเหตุ” (Caused Behavior) พฤติกรรมและพัฒนาการของมนุษย์สามารถควบคุมและกำหนดได้ตามที่นักปรับพฤติกรรมต้องการได้ เพราะเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น “Mechanical man” นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Watson , Hull , Skinner, Bandura

Skinner กล่าวว่า “ถ้าหากว่าเขาสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ เขาก็จะสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ให้เป็นไปตามที่เขาต้องการได้ทุกประการ” เขามีความเห็นว่ามนุษย์มีพฤติกรรมตามสิ่งแวดล้อม ถ้าสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ก็สามารถกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ Skinner ที่ได้ทดลองเรื่องการเรียนรู้ด้วยการวางเงื่อนไขแบบแสดงการกระทำ เขามีความเชื่อว่า พฤติกรรมของบุคคลถูกควบคุมจากผลที่ได้รับ นั่นคือการกระทำใดๆ ก็ตามถ้าได้รับแรงเสริมหรือการเสริมแรง จะมีแนวโน้มให้เกิดการกระทำนั้นอีก

แนวคิดนิยัตินิยม

เชื่อว่ามนุษย์ไม่มีอิสรภาพที่แท้จริง การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากเหตุปัจจัยก่อนหน้า เพราะฉะนั้นหากได้ศึกษาจากเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ก็จะสามารถทำนายการกระทำที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ แนวความคิดนี้เชื่อว่ามนุษย์ไม่จำเป็นจะต้องรับผิดชอบในผลของการกระทำของตน เพราะมนุษย์ "ถูกกำหนด" โดยปัจจัยบางอย่างให้เป็นหรือให้กระทำสิ่งต่างๆ

สรุปแนวคิดในการอธิบายธรรมชาติของมนุษย์กับการทำงานสังคมสงเคราะห์

อันที่จริงนั้นมนุษย์เรามีทั้ง 3 แนวคิดอยู่ในตัว เพียงแต่ว่าเราไม่รู้ตัว ถ้าเรามีสติอยู่ตลอดเวลาเราจะมีความ ข่มใจ ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง มีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขากับคนรอบตัวเราได้ แต่เพราะเราเป็นมนุษย์ เราจึงต้องยอมรับความไม่สมบูรณ์ของตัวเราเองด้วย ปรัชญาพื้นฐานของนักสังคมสงเคราะห์ “ช่วยเขาให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้” พื้นฐานของงานสังคมสงเคราะห์คือแนวคิดมนุษย์นิยม อันได้แก่หลักการ 7 ข้อ ดังนี้

  • หลักความแตกต่างของบุคคล
  • หลักการยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • หลักการแสดงความรู้สึกอย่างมีเป้าหมาย
  • หลักการควบคุมอารมณ์
  • หลักการไม่ตำหนิติเตียน
  • หลักการให้ผู้ใช้บริการติดสินใจได้ด้วยตนเอง
  • หลักการรักษาความลับ

ดังนั้นพื้นฐานของงานสังคมสงเคราะห์คือแนวคิดมนุษย์นิยม เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่าที่เท่าเทียมกัน มีความดี เชื่อถือและไว้วางใจได้ มนุษย์ยังมีความเฉลียวฉลาดในการปรับตัว และต้องการความเป็นอิสระในการที่จะพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า

หมายเลขบันทึก: 616118เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2016 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2016 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท