I read, you share.


วิธีการหาความรู้ที่ดีที่สุด คือการได้อ่านหนังสือดี ๆ ของโลก แล้วนำมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเรา แต่สำหรับคนที่ยังไม่มีโอกาสได้อ่านเองในวันนี้ คอลัมน์นี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับท่านเพราะท่านจะได้รับความรู้รวมทั้งการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อท่านมากทีเดียว

สวัสดีค่ะชาว Blog ทุกท่าน

           ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ให้เป็นผู้ดูแล Blog : I read, you share. ซึ่งจะเป็น Blog ที่นำความรู้จากการอ่านหนังสือ อ่านข่าวจาก website ชั้นนำของโลกต่าง ๆ มาวิเคราะห์ให้ทุกท่านได้ติดตามเป็นระยะ ๆ

           ท่านอาจารย์จีระมักจะสอนดิฉันเสมอ ๆ ว่า "เราต้องถามตัวเองทุกวันว่าเราได้ความรู้ใหม่ ๆ มาโดยวิธีอะไร?" สำหรับตัวท่านแล้วท่านหาความรู้ทุกวัน ทั้งจากการอ่านหนังสือดี ๆ การหาข้อมูลจาก website การได้เจอคนเก่ง ๆ ทุกวัน เพราะในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การมีความรู้ที่สด ข้ามศาสตร์คือข้อได้เปรียบ เพราะการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้เท่านั้นจึงทำให้เรามีทุนทางปัญญาที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไปได้

            ดิฉันหวังว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน และขอให้ทุกท่านติดตาม Blog นี้อย่างสม่ำเสมอ การมีความรู้ที่สดและข้ามศาสตร์ก็คงไม่ยากสำหรับดิฉันและท่านอีกต่อไปค่ะ

                                                        วราพร  ชูภักดี          

คำสำคัญ (Tags): #i#read#you#share
หมายเลขบันทึก: 61552เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 Turkey Wave ยินดีครับ

รบกวน "นำTacit Knowledge ของท่านอาจารย์จีระ มาบันทึกด้วยครับ" ท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงมากครับ





ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำคุณวราพรว่าเป็นลูกศิษย์ผมตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ปี 2 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และก็ได้ช่วยงานผมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่า... MFT  และตอนนี้ผมก็พยายามฝึกให้เขาเป็นผู้นำซึ่งก็จะทำหน้าที่ดูแลบล็อกนี้ต่อไป

และขอสวัสดีคุณ JJ ที่มักจะส่งรูปประหลาด ๆ มาให้ผมดูพร้อมกับคำคม ๆ ที่น่าสนใจมาถึงผมเสมอ ๆ ผมเดาว่าคุณ JJ น่าจะเป็นหมออยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ต้องขอขอบคุณที่ท่านมักจะให้กำลังใจผมเสมอ

สำหรับเรื่อง Tacit Knowledge ที่คุณ JJ พูดถึงนั้น ผมขออธิบายว่า มันหมายถึงความรู้ที่อยู่ข้างในของแต่ละคน โดยทั่ว ๆ ไปความสำเร็จของคนมาจากข้างในและข้างนอก สำหรับบางคนซึ่งไม่ค่อยได้เขียน หรือนำเสนอความคิดของตัวเองออกมาก็ถือว่าไม่ได้เอาความรู้ข้างในมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 

สำหรับผมนั้นหลายท่านอาจจะมองว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ มีปัญญา ข้ามศาสตร์ หิวความรู้ นั้นเพราะผมได้สะสมความรู้มาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี  

เวลาที่ผมสอนหนังสือผมชอบให้สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ความรู้จากข้างในจะถูกนำเสนอออกมาเพราะเกิดจากความกระตือรือร้นในปัญญาของเราที่อยากแสดงออกมากขึ้น

คนส่วนใหญ่ถ้าจบมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องดังนั้นสมองของเราทั้งซีกซ้ายและซีกขวาก็จะไม่ทำงาน การที่จะเค้นความเป็นเลิศให้ออกมานั้นประสบการณ์จะช่วยได้ จะช่วยให้สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในความคิดของผมหากจะเปรียบเทียบ Tacit Knowledge กับทฤษฎีทุนของทรัพยากรมนุษย์ของผมก็เปรียบได้กับทุน 3 ชนิด คือ 1) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ซึ่งเกิดจากการที่เรามีความรู้อยู่ข้างใน ตัวอย่างเช่นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผมไปบรรยายเรื่องภาวะผู้นำให้แก่นักการธนาคารที่ธนชาติก่อนผมจะไปผมถามตัวเองว่าวันนี้เราจะมีความสุขหรือไม่ เพราะผู้ฟังที่เป็นนักการธนาคารอาจจะไม่สนใจเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) แต่บรรยากาศในวันนั้นทุกคนกับสนใจเรื่องที่ผมได้นำประสบการณ์จากตัวผมในเรื่องคุณลักษณะและบทบาทของผู้นำมาแลกเปลี่ยนกัน

2) ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)ซึ่งเกิดจากการสะสมประสบการณ์ของเรามาเป็นเวลานาน และการหาทางออกที่มากกว่า 1 หรือ 2 ทาง

3) ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ซึ่งคนไม่เข้าใจ แต่หากจะอธิบายง่าย ๆ ก็คือการที่เราเห็นความเจ็บปวดและเอาความเจ็บปวดนั้นมาเป็นประสบการณ์และสร้างความสำเร็จ

ทั้งหมดนี้จะฝากความรู้ไว้สำหรับคุณ JJ และหวังว่าคุณ JJ จะประกาศตัวซะทีว่าเป็นใครนะครับ

                                     จีระ  หงส์ลดารมภ์

จะแวะเข้ามาอ่านและแลกเปลี่ยนบ่อย ๆ ครับ

สวัสดีครับชาว Blog ที่รักทุกท่าน         
ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณคุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สำหรับ Comment เกี่ยวกับหนังสือ พ๊อคเก็ต บุ๊คส์ เล่มแรกของผม "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ซึ่งผมได้มอบให้ท่านเมื่อครั้งมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมคารวะและสัมภาษณ์ท่านเพื่อออกรายการ สารคดี เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์    ตอน วัฒนธรรมไทยในยุคโลกาภิวัตน์   สำหรับ Comment ของท่านนั้น ผมคิดว่ามีประโยชน์มากและจะนำมาปรับปรุงสำหรับการจัดพิมพ์ในครั้งต่อไป ผมก็เลยถือโอกาสนำข้อความของท่านถึงผมมาเล่าให้ชาว Blog ได้ติดตามกันด้วย

..................................................

เรียน อาจารย์ ดร.จีระ ที่เคารพ        
ดิฉันได้รับจดหมายจากอาจารย์พร้อมสำเนาบทความที่อาจารย์เขียนลงหนังสือพิมพ์แนวหน้าแล้วด้วยความขอบคุณยิ่ง  ดิฉันอ่านหนังสือที่อาจารย์ให้เกือบจบแล้ว ที่อ่านช้าเพราะมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในเชิงบริหารมาก เลยอ่านผ่าน ๆ ไม่ได้ แต่ที่อยากจะ Comment มีในเรื่องของการจัดพิมพ์ การเว้นวรรค การย่อหน้า และตัวสะกดการันต์ค่ะ อย่างไรก็ตามเป็นหนังสือที่เนื้อหาให้ความรู้ด้าน HR มากที่สุด                                    
ด้วยความเคารพ                                     
(ไขศรี  ศรีอรุณ) 
สวัสดีปีใหม่ครับชาว Blog           
เช้าวันนี้ (30 ธันวาคม) ผมเปิดเว็บไซต์ของ yahoo.com กับ google.com เหมือนเช่นเคยเพื่อติดตามสถานการณ์โลก และวันนี้ก็ได้ความรู้ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ ได้ทราบข้อมูลจากการทำวิจัยจากกว่า 47 ประเทศทั่วโลกทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา พบว่าปัจจุบันสิ่งที่คนทำงานส่วนใหญ่ปรารถนานั้นไม่ใช่การทำงานเพื่อเงินเท่านั้น หากแต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น o     การทำงานที่สร้างความสมดุลให้กับชีวิต (Work life balance)o     การมีความสุขจากการทำงานที่มีเพื่อนร่วมงานที่ดีo     การทำงานควบคู่ไปกับการมีสุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับผลงานวิจัยชิ้นนี้ และคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ ที่ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม งานที่เราทำนั้นมันสร้างความสุข ความสมดุลให้แก่ตัวเรา ซึ่งก็ตรงกับวงกลมที่ 3 ในทฤษฎี 3 วงกลมของผมซึ่งหากใครสนใจก็สามารถเปิดดูได้ที่ www.chiraacademy.com ของผมนะครับ                               
                               จีระ  หงส์ลดารมภ์
สวัสดีค่ะชาว Blog            
ก่อนอื่นต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่หายไปนานเลยไม่ได้นำบทความดี ๆ หรือหนังสือดี ๆ มาเล่าให้ทุกท่านได้ติดตามกัน แต่ต่อไปสัญญาว่าจะพยายามสรรหาเรื่องราวดี ๆ จากการอ่านมาเล่าให้ทุกท่านได้ฟังกันที่นี่อย่างสม่ำเสมอค่ะ สำหรับในวันนี้บังเอิญว่าไปอ่านเจอบทความของท่านอาจารย์จีระ ซึ่งท่านได้เคยเขียนไว้ในวารสารของท่านถึงแม้ว่าจะเป็นบทความตั้งแต่ปี 2002 แต่ดิฉันว่าแนวคิดอันนี้ยังทันสมัย และใช้ได้ดีทีเดียวในยุคนี้ และก็เป็นเรื่องที่ท่านอาจารย์จีระยังใช้บรรยายให้แก่ลูกศิษย์กลุ่มต่าง ๆ อยู่เสมอ ๆ เลยคิดว่าน่าจะได้นำบทความนี้มานำเสนอให้ทุกท่านได้คิด วิเคราะห์ และนำไปประยุกต์ใช้กันต่อไปก็คงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยทีเดียว
ปฏิรูปข้าราชการ ด้วยทฤษฎี 3 วงกลม
ทฤษฎี 3 วงกลมเป็นทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญเพราะในปัจจุบันจากการวิเคราะห์นักวิชาการทุกๆ สำนักมีความเห็นพ้องต้องกันว่าการจะปรับปรุงยกระดับองค์กรมให้พัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มและประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจจะต้องทำให้ครบวงจร ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ทฤษฎีวงกลมที่ 1 :Context หรือบริบท              ในวงกลมที่ 1 พิจารณา Context หรือบริบท โดยจะพิจารณาจากบริบทภายนอกและภายใน - ภายนอกได้แก่ระบบโลกาภิวัตน์ - ภายใน ได้แก่การนำระบบ IT , Process.การนำ Data และ Knowledge ฯลฯ การพัฒนาและการเสริมหลักสูตรที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสามารถทำได้ดังนี้
1.1 การปรับองค์กรให้เหมาะสม มีความทันสมัยทั้งด้านเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมในการทำงานในองค์กรสร้างให้ องค์กรมีบรรยากาศของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกาภิวัตน์ ตลอดจนความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงานในองค์กร
1.2 การทำงานเป็นกระบวนการ (Process) ที่รวดเร็ว และมีคุณภาพ (Job Design) หรือ Re- engineering 1.3 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเอาองค์ความรู้ (Knowledge) ที่มีอยู่มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม การลดต้นทุนทั้งทางด้านการบริหารจัดการ และการผลิต
ทฤษฎีวงกลมที่ 2 : คือ Competencies หรือ ความสามารถของบุคลากร            
ในวงกลมที่ 2 ต้องสร้างบุคคลากรให้มีความสามารถหรือมี Competencies โดยการวิเคราะห์จาก Gap Analysis ว่ามี Skills และ Competencies อะไรและขาดอะไร แล้วพยายามเติมช่องว่างนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรพัฒนาศักยภาพ ทักษะและความสามารถ ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง เพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มทักษะ และประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของระบบราชการ จึงควรพิจารณาถึงหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นประการสำคัญ แต่ก็ควรพิจารณาถึงหน้าที่ และ ความรับผิดชอบของส่วนอื่นๆ ของระบบราชการด้วย เนื่องจากทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายในระบบราชการจะต้องดำเนินการให้มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน Skills และ Competencies ที่จำเป็นสำหรับระบบราชการอาจ จัดแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
1. Skills และ Competencies สำหรับผู้บริหารระดับสูง           
ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ซึ่งได้แก่ข้าราชการระดับ10 และ 11 ดังนั้น Skills และ Competencies ในระดับนี้ ควรจะให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
  • การบริหารจัดการ
  • ภาวะผู้นะ
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • การคิดอย่างเป็นระบบ
  • การเจรจาต่อรอง
  • การเข้าใจวัฒนธรรมข้ามชาติ
  • การวางแผนอย่างเป็นยุทธศาสตร์
  • การสร้างและการบริหารเครือข่าย
  • การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง
  • การวางโครงสร้าง และ reengineering
  • การสื่อสารความคิด
  • การประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ฯลฯ               

2. Skills และ Competencies สำหรับข้าราชการระดับกลาง                                                             ข้าราชการระดับกลาง ได้แก่ ข้าราชการระดับ 8-9 ดังนั้น Skills และ Competencies ระดับนี้ ควรจะให้ความสำคัญในด้าน

  • การมีความคิดและทัศนคติที่ดี
  • การวิเคราะห์
  • การตัดสินใจ
  • การมีส่วนร่วม
  • การเจรจาต่อรอง
  • การรับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ภาวะผู้นำ,การจัดกำลังคน
  • การแก้ปัญหา
  • การบริหารความรู้ และวัฒนธรรมการเรียนรู้
  • การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร
  • การบริหารจัดการด้านคุณภาพการ
  • การวางโครงสร้าง และ re-engineering
  • การสื่อสารความคิด และการสื่อสารภายในองค์กร
  • การใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสาร
  • การบริหารเวลา
  • การบริการลูกค้า เน้นเรื่องความพอใจสูงสุด
  • การอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางการเงิน
  • การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและงานขององค์กร
  • ฯลฯ

3. Skills และ Competencies สำหรับกลุ่มคลื่นลูกใหม่            

ข้าราชการที่เป็นกลุ่มคลื่นลูกใหม่ ได้แก่ ข้าราชการรับ 5-7 ซึ่งจะเป็นผู้นำพาการเปลี่ยนแปลงมาสู้ระบบราชการในระยะยาว ดังนั้น Skills และ Competencies ระดับนี้ควรจะให้ความสำคัญในด้าน

  • การมีส่วนร่วม
  • การรับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการฟัง
  • การทำงานร่วมกบผู้อื่นและทีม
  • การสร้างนวัตกรรมทางผลงาน
  • การบริหารความรู้และวัฒนธรรมการเรียนรู้
  • การเป็นผู้มีความรู้ในขอบข่ายงานของตน
  • การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
  • การบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรม
  • การใช้เทคโนโลยี โยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศฯลฯ

ทฤษฎีวงกลมที่ 3 :คือ Motivation หรือ แรงจูงใจในระบบการทำงาน            

ทฤษฎีวงกลมที่ 3: คือเมื่อมีวงกลมที่ 1 และวงกลมที่ 2 แล้ว ในระบบราชการจะต้องแน่ใจว่าการบริหารจัดการขององค์กรกระตุ้น หรือ Motivation ข้าราชการให้ทำงานอย่างเต็มที่ซึ่งมีการวิเคราะห์เรื่องโครงสร้างเงินเดือน สวัสดิการที่จะต้องสอดคล้องกับ Performance หรือระบบจูงใจอื่นๆ เช่นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การให้ empowerment และวัฒนธรรมองค์กร (corporate culture) ที่ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมการทำงานให้มีประสิทธิภาพโดยการใช้ Motivation ซึงควรพิจารณาจาก

1. ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กร

2. ความสามารถและผลงาน

 3. ระยะเวลาการทำงาน

4. สิ่งที่บุคลากรในองค์กรคาดหวังในการทำงาน             นอกจากการพิจารณาถึงตัวข้าราชการแล้ว ควรพิจารณาถึงสภาแวดล้อมในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กรและเพื่อนร่วมงานด้วย การให้ Motivation สำหรับข้าราชการในการทำงานนั้น สามารถทำได้หลายวิธี โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ค่าตอบแทนที่เป็นไปได้

2. การให้อำนาจในการตัดสินใจ/ การให้มีส่วนร่วมบุคคลบางประเภทจะรู้สึกพอใจที่จะได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และส่วนร่วมตัดสินใจโดยเขาจะ รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรให้อยู่รอด การพยายามให้เห็นว่าคือเจ้าขององค์กรเหมือนกัน

3. การสร้างบรรยากาศการทำงานให้มีการทำงานร่วมกันและการสร้างทีมในการทำงาน เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยกันคิดเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

4. การมอบงานที่ท้าทาย และงานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจการมอบหมายงานลักษณะนี้จะเหมาะสำหรับบุคคลที่ไม่ชอบการทำงานประจำ และงานอยู่กับที่ ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ จะพอใจที่ได้ทำงานที่แปลกใหม่ และท้าทายความสามารถของตนเอง

5. การสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้เกิดสังคมการเรียนรู้ เพื่อที่ข้าราชการจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีการเพิ่มทักษะในการพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน

6. การให้ความเป็นธรรมและการประเมินผลอย่างโปร่งใส การทำงานใดๆ ก็ตาม บุคคลที่ตั้งใจและการรับผิดชอบในการทำงาน น่าจะได้รับผลตอบแทน สมควรกับความตั้งใจของเขา คนที่ทำงานดี มีความตั้งใจในการทำงาน น่าจะได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม คนที่ทำงานไม่รับผิดชอบและไม่ตั้งใจในการทำงานควรได้รับการพิจารณาผลงาน ดังนั้น การทำงานใยทุกกระทรวง ทบวง กรม ลงไปถึงระดับกองและแผนก จึงควรมีการประเมินผลอย่างใกล้ชิดและ ยุติธรรมเพื่อที่จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาองค์กรในระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ

7. การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้น่าอยู่มีสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการทำงาน ฯลฯ กล่าวโดยสรุปแล้ว นอกจากข้าราชการมีความรู้ความสามารถ และทักษะที่ดี ประกอบกับการมีสถานที่ทำงานที่มีความพร้อมแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่ น้อยกว่าก็คือข้าราชการ จะต้องมีกำลังใจ มีความพึงพอใจ มีความตั้งใจ และ ทัศนคติที่ดีในการทำงาน ฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจสำหรับข้าราชการเป็นสิ่งที่จำเป็น

บทความจาก วารสาร เส้นทางสู่ศตวรรษใหม่ ฉบับประจำเดือน กรกฎาคม -สิงหาคม 2002

                                    วราพร ชูภักดี  

                                      ทีมงาน Chira Academy 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท