แนวความคิดตามแนวพุทธศาสนา


แนวความคิดตามแนวพุทธศาสนา

ในทางพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่

10.1 รูปขันธ์ คือ ลักษณะทางกาย ได้แก่ อวัยวะต่างๆ ที่เป็นกระดูก เนื้อหนัง โลหิต และประสารทสัมผัส รูปขันธ์เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม

10.2 นามขันธ์ หมายถึงจิตใจ เปฝ้นลักษณะที่แสดงถึงความมีชีวิตของมนุษย์ เกิดขึ้นพร้อมกับสภาพทางกาย จิตมีกระบวนการ 4 ด้าน คือ

1. เวทนา หมายถึง การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ

2. สัญญา หมายถึง ความจำ ความสามารถจำแนกแยกแยะ

3. สังขาร หมายถึง ความนึกคิด ปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลางๆ

4. วิญญาณ หมายถึง สภาวะที่จิตรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบ

บุคลิกภาพของบุคคลตามแนวพุทธศาสนาจึงเป็นลักษณะกานทำงานประสานสัมพันธ์ทั้งกายและจิตใจของมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลโดยยึดจริตเป็นหลักจริตพื้นเพของจิตใจแต่แยกอธิบายในรายละเอียดของพฤติกรรมให้เด่นชัด จริตแบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังนี้

1. ราคจริต ประเภทรักสวยรักงามมากกว่าสิ่งอื่นใด ชอบแต่งตัวหลงใหลความงามของธรรมชาติ ไม่ชอบสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้า เป็นตนโอ้อวด มีความโลภ ไม่รู้จักพอ อ่อนแอ ขี้ขนาด ขี้อาย

2. โทสจริต ประเภทมักจะขี้หงุดหงิด ใจร้อน ตัดสินใจเร็ว ทำงานสะเพร่าจึงผิดพลาดง่าย ชอบต่อสู้ ใจนักเลง ตัดสินใจง่าย ไม่มีเหตุผล อบรมแนะนำได้ยาก

3. โมหจริต ประเภทที่เป็นคนเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น โง่ทึบ ไม่สนใจการศึกษาเล่าเรียน ทำอะไรไม่จริงจัง กิริยาอาการมักจะเหม่อ ใจลอย

4. ศรัทธาจริต ประที่ทำอะไรตามความเชื่อ เชื่ออย่างงมงาย เป็นคนมีความประพฤติดี ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม

5. วิตกจริต ประเภทคนคิดมาก กังวลมาก จู้จี้ละเอียดลออ จะทำอะไรคิดแร้วคิดอีก ใจโลเล ไม่กล้าเสี่ยง เป็นคนมีความประพฤติดี แต่พูดพล่ามไม่ชอบทำบุญ

6. พุทธจริต คนประเภทนี้ฉลาดรู้จักใช้ความรู้ใช้เหตุผล ชอบการศึกษาหาความรู้ ชอบค้นหาข้อเท็จจริง ชอบสนทนาวิชาการ ชอบความอิสระในการทำงาน มีความประพฤติดี ว่านอนสอนง่าย รู้จักเลือกคนดีและรู้จักประมาณตน

จากลักษณะบุคลิกภาพดังกล่าวข้างต้นบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบพุทธจริตจึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์เพราะเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง

หมายเลขบันทึก: 615319เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2016 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2016 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท