หลักการสังคมสงเคราะห์ตามแนวพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนามองว่ามนุษย์และสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งหลายเป็นทุกข์ หรือปัญหา และปัญหานั้นมนุษย์สามารถแก้ไขได้

ในทางปฏิบัติ พระพุทธศาสนามุ่งไปสู่การแก้ไข สังคมสงเคราะห์ นำหลักการสงเคราะห์ตามแนวพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ ประมวลได้ 7 ประการ

  • ต้องคำนึงถึงหลักเหตุผลเป็นสำคัญ เพราะสิ่งต่างๆดำเนินไปอย่างมีเหตุมีผล ดังเช่นหลักธรรมอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
  • ต้องยึดหลักทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา ดำเนินทางสายกลาง ไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก) พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด 2 ประการ คือ
    • กามสุขัลลิกานโยค คือการหมกหมุ่นในความสุขทางกาม (ตามใจตัวเองมากเกินไป)
    • อัตตกิลมัตถานุโยค คือ การทรมานตนให้ลำบาก
  • ต้องยึดหลักพึ่งตนเอง การสงเคราะห์นั้นต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติด้วยตนเอง
  • ต้องเป็นไปอย่างสมดุล เน้นทางสายกลางเป็นหลัก ให้ปฏิบัติให้พอเหมาะพอดี ไม่เคร่งเกินไป ดังเช่นหลักธรรม อริยมรรค 8 (หนทางแห่งการดับทุกข์) ได้แก่
  • ต้องค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสม
  • ต้องสอดคล้องกับจุดหมายหลักของชีวิต กล่าวคือ ต้องมีจุดประสงค์เพื่อดับทุกข์
  • ต้องไม่ก่อทุกข์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น คือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ความทุกข์เพิ่มขึ้นทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นไปเพื่อการป้องกัน แก้ไข ส่งเสริมพัฒนา ทั้งบุคคล กลุ่มชน และการพัฒนาสังคม
  • สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความรู้ - ปัญญา หรือมุมมอง ที่ถูกต้องตรงกับความจริง
  • สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกต้อง หมายถึง ความคิดที่ต้องละเว้นจากความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน
  • สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกต้อง หมายถึง การพูดที่ต้องละเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียดและเพ้อเจ้อ
  • สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง การกระทำที่ต้องละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และประพฤติผิดในกาม
  • สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง หมายถึง การทำมาหากินอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีการทุจริตและเอาเปรียบผู้อื่น
  • สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความพยายามที่อยู่ในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
  • สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยกำจัดความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัย และลังเล เป็นต้น
  • สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกต้อง หมายถึง การฝึกกายและอารมณ์ให้สงบ โดยกำจัดความคิดความจำและอารมณ์ออกไปชั่วขณะหนึ่ง
หมายเลขบันทึก: 613890เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2016 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2016 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พระอธิการเสงี่ยม ธนปาโล.

การสังคมสงเคราะห์แนวพุทธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท