จากการที่ทีมงานได้นำเสนอโครงการพัฒนางานเรื่องตามรอย reticulocyte ...มีคำถามบางคำถามว่าได้เก็บข้อมูลการรักษาสภาพไว้กี่รายหากจำไม่ผิด ซึ่งในรายงานที่ส่งวันที่ 30 ต.ค. 49 นั้นได้ระบุไว้จำนวน 30 ราย จากการดูค่าคร่าวๆ ค่าที่นับได้ใกล้เคียงกัน แต่ทีมงานยังไม่ได้รวบรวมทำการวิเคราะห์ทางสถิติ และเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ถึงแม้ว่าได้ส่งรายงานและนำเสนอไปแล้ว จึงต้องดำเนินงานต่อ ตาได้ค้นหาเอกสารซึ่งเป็นเพียงเศษกระดาษเนื่องจากเป็นรอยฉีกขาดแต่มีความสำคัญมากๆ เพราะหัวกระดาษด้านขวาเขียนว่า "เปรียบเทียบการเก็บสเมียร์ Retic. โดยใช้ immersion Oil เป็นตัว preservative ดีใจจังที่มันยังอยู่ คิดว่าคงต้องจัดระเบียบตัวเองใหม่โดยลอกใส่ในสมุด แต่ในเศษกระดาษก็ดูขลังดี...ขอเก็บเป็นต้นฉบับต่อไป
ซึ่งตาได้นำสเมียร์ reticulocyte รายเดียวกันและแผ่นเดียวกันมาทำการนับ 4 ครั้งในเวลาที่ต่างกันซึ่งครั้งแรกเป็นค่าที่นับได้ภายใน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเก็บตามปกติ ถือเป็นค่ามาตรฐาน จากนั้นใช้ cover slid ปิดทับรอย Oil และทำการนับที่ระยะเวลา 8 ชั่วโมง(เพื่อเก็บสเมียร์ไว้นับตอนเที่ยง ในยามว่างและหลังเลิกงาน), 1 สัปดาห์(เก็บไว้นับวันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์) และ 2 เดือน(เพื่อการเรียนรู้)
ตาคิดว่าคงใช้วิธี paired t-test มาจัดการกับข้อมูลแน่นอน วิธีนี้ตาทำได้ค่ะ...เพราะ... อ. เม่ย(คุณ ชวดี นพรัตน์) สอนแล้วค่ะ...และตาขอทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนค่ะ