วิพากษ์การวิจัยด้านการศึกษา


ผมเปิดเอกสาร การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ ๑ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ ๒๑ หนา ๑,๑๑๒ หน้า ที่ได้รับแจกมาจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ และหาเรื่องอ่านเพื่อทำความเข้าใจว่า วงการศึกษาของไทยเขาทำวิจัย เรื่องอะไรกัน และงานวิจัยมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านการศึกษาแค่ไหน


ผมเลือกสาขาวิชาบริหารการศึกษา และเข้าไปอ่านผ่านๆ เพื่อทำความเข้าใจว่ามีการทำวิจัยเรื่องอะไรโจทย์วิจัย และ research methodology เป็นไปในแนวไหนและที่สำคัญโจทย์วิจัยเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนหรือไม่


ผมผิดหวัง ที่การวิจัยในสาขาบริหารการศึกษา ไม่มีเป้าหมายที่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนเลยและไม่เอ่ยถึงการเรียนรู้ (PLC – Professional Learning Community) ของครูด้วย ผมแปลกใจว่าการวิจัยด้านการบริหารการศึกษาไทย ไม่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ไม่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ทั้งของศิษย์และของครู


ลองพลิกๆ ไปที่วิทยานิพนธ์ปริญญาโทในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาครูพยายามหาที่เอ่ยถึงการรวมตัวเป็นชุมชนเรียนรู้ของครู (PLC) ก็ไม่มี มีแต่วิธีการพัฒนารูปแบบเดิมๆ ที่เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์


น่าจะพอสรุปได้ว่า การวิจัยทางบริหารการศึกษาของไทยล้าหลังมาก ไม่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา ผลลัพธ์การเรียนรู้ ไม่มีเป้าหมายการพัฒนาการเรียนรู้จากการปฏิบัติของครูประจำการ



วิจารณ์ พานิช

๖ ส.ค. ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 613759เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2016 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2016 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องจริงครับ อาจารย์หมอ ;(

Many still have not realized we are in 21st century - now.

We have not 'learned enough" about where we are. We have not imagined enough about where we go.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท