บทบาทสมมุติ Dementia กับการใช้ wheelchair


Dementia กับการใช้ wheelchair




เมื่อวันที่8กันยายน2559 ในวิชากภกก 333 กิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสรรถภาพ ดิฉันและเพื่อนๆได้ทำLAPเกี่ยวกับการใช้Wheelchair ซึ้งทำเป็นคู่โดยแต่ละคู่จะได้รับบทบาทเป็นผู้รับบริการที่นั่งWheelchairที่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ และดิฉันกับเพื่อนอีกหนึ่งคนได้รับให้ทำบทบาทสมมุติให้เป็นผู้รับบริการDementia(โรคสมองเสื่อม) โดยสถานที่ที่ต้องไปคือสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อไปติดต่อเกี่ยวกับเรื่องเรียนให้ลูก โดยสลับกับเพื่อนเป็นผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัด ดิฉันได้ลองเป็นผู้รับบริการก่อน เริ่มจากการนั่งwheelchair และเริ่มเดินทางโดยใช้wheelchair จากบทบาทผู้ป่วยโรคสอมงเสื่อมก็กลายเป็นคุณแม่ที่ต้องไปติดต่อสถานที่เรียนที่ใกล้กับสถานที่พักให้กับลูกด้วยตัวเอง ความรู้สึกตอนนั้นคือ เหนื่อย สับสน ท้อไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเนื่องด้วยอาการของDementia

ระหว่างทางดิฉันและนักกิจกรรมบำบัด(ซึ่งเป็นเพื่อนของดิฉัน)ได้มีการพูดคุยกันมีการสอบถามระหว่างทางว่า “เหนื่อยไหม?” “ไหวไหม?” มีการตกลงเส้นทางที่จะไป มีการมองรถขณะกำลังที่จะข้ามถนน ระหว่างที่กำลังเดินทางไป เราสองคนได้เจออ.อ้อม อ.อ้อมถามว่า “ทำอะไรกัน?”ด้วยท่าทางและสีหน้าที่กำลังดูด้วยความสนใจ อ.อ้อมได้เดิมมาพร้อมพูดคุยกับเรา อ.อ้อมเห็นดิฉันเข็นwheelchairก็ถามว่า “เข็นยังงั้นไม่เหนื่อยหรอ?” เราสองคนก็ยิ้มและหัวเราะ เพราะเราสองคนเข็นwheelchairไม่เป็น อ.อ้อมได้สอนเทคนิคการเข็นทำให้เราไม่เหนื่อยมากจนเกินไป (ขอขอบคุณอ.อ้อมค่ะ) เราพบปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความจำความรู้เกี่ยวกับเส้นทาง(เพราะเป็นโรคสมองเสื่อม) ล้อและเบรคของwheelchairเบรคไม่อยู่





ทางที่ไปมีรถจักรยานจอดขวางทางเรียบทำให้wheelchairไปได้ลำบาก ทางข้ามถนนที่จะไปฝั่งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวไม่มีสัญญาณไฟบอก และพอข้ามฝั่งไปไม่มีทางสำหรับwheelchairมีแต่ทางของรถยนต์ และทางที่เข้าสำหรับwheelchair ไม่มีชานพักสำหรับทางลาด6เมตรขึ้นไป พอไปถึงที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวเราได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่นั้น เจ้าหน้าที่ทำสีหน้าแบบงงแล้วถามว่า"มาทำอะไรกัน?" เราก็อธิบายแล้วบอกกับเจ้าหน้าที่ไป เขาได้แนะนำให้เราไปติดต่อยังส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดดิฉันคิดว่าเราควรแก้ไขโดยการ 1.จัดระเบียบที่จอดรถจักรยานเพื่อนให้wheelchair เดินทางได้สะดวก

2.ควรประสานงานกับแพทย์เพื่อขอใบรับรองแพทย์ไปยื่นกับทางสถาบันเพื่อความสะดวกและติดต่อที่เรียนให้กับลูก

3.แนะนำให้ทำทางลาดควรมีชานพักกว้าง1.5เมตร


ขอขอบคุณ อ.วินัย ฉัตรทอง ที่ทำให้ดิฉันได้ลองฝึกเป็นผู้รับบริการในสถานที่จริง และขอบคุณเพื่อนรวมทาง น.ส ปลายฟ้า ศรีสุงวค์ ค่ะ


น.ส กฤติยาภรณ์ ใจกระเสน 5723002

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3

คำสำคัญ (Tags): #ผู้ป่วย Dementia#wheelchair
หมายเลขบันทึก: 613740เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2016 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2016 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Congratulations! You have my "bravo" and salute for your learning!

Now we know there are problems in "accessibility" for people with disability. What is your next step -- to change the world?

Yes we are change agents, not whingers to get government to do everything when they feel like it. We have to campaign and start the change ourselves.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท