​ชีวิตที่พอเพียง : 2741. ตอบก่อนอธิบาย



ในการพูดคุยกับ ศาสตราพิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ เพื่อขอคำแนะนำยุทธศาสตร์การดำเนินการของ สคส. ยุค KM 3.0 เราคุยกันได้ทั้งสาระของงานทำประโยชน์แก่ สังคมไทย ในเรื่องการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายมุ่งมั่นในมิติขององค์กร และได้ทั้งปัญญาในลักษณะความรู้รอบตัว และในลักษณะยุทธศาสตร์การทำงานในชีวิตประจำวัน


เรื่องหนึ่งที่ยังติดใจผมคือแนวทางการตอบคำถาม อ. ไกรฤทธิ์วิจารณ์คนบางคนว่า มีนิสัยตอบคำถาม แบบยกคำอธิบายเชิงเหตุผลหรือยกเอาสภาพแวดล้อมมาบรรยายยืดยาว คนฟังฟังตั้งห้านาทีแล้วยังไม่ได้คำตอบ อย่างนี้ผู้ฟังบางกลุ่มอาชีพจะรำคาญมาก และจะทำให้ไม่ได้ใจ เสียบรรยากาศของการประชุม


อ. ไกรฤทธิ์บอกว่า ในกลุ่มคนอาชีพที่เรากำลังกล่าวถึง ต้องตอบคำถามทันที ตามด้วยคำอธิบายสั้นๆ ซึ่งผมขอเสนอวิธีสร้างความประทับใจในที่ประชุม ลงบันทึกนี้ ว่าวิธีหนึ่งคือตอบในทำนอง “ผมมีความเห็นว่าควร.... ด้วยเหตุผล ๓ ข้อ คือ ๑. .... ๒. .... ๓. .... ”


หากเป็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ ผมนิยมตอบว่า “yes and no” เพื่อสร้างความสนใจเหตุผล ว่าทำไมจึง yes, ทำไมจึง no ทำให้การสนทนาเข้าเป้า และประเทืองปัญญา “yes and no” เป็นคำตอบที่เร้า ความสนใจ ช่วยให้การสนทนาไม่จืดชืด


ในวงประชุมเพื่อขอคำแนะนำหรือข้อคิดเห็น ผมนิยมเสนอโดยเริ่มต้นด้วย “ผมมีความเห็น ๓ ข้อ แต่ก่อนไปถึงความเห็น ขอแสดงความขื่นชม ที่วาระนี้มีการศึกษาข้อมูลมานำเสนออย่างครบถ้วนดีมาก ความเห็นข้อที่ ๑ ....” จะเห็นว่า ผมเสนอเชิงสรุปหรือให้คำตอบก่อนอธิบายเสมอ



วิจารณ์ พานิช

๔ ส.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 613423เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2016 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2016 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท