กิจกรรมบำบัดการรู้คิดจิตสร้างสรรค์


ขอบพระคุณพื้นที่การเรียนรู้นอกชั้นเรียนผ่าน G2K สำหรับการทำรายงานส่งของนศ.กิจกรรมบำบัดในรายวิชา กภกก 222 การประเมินขั้นพื้นฐานสำหรับนักกิจกรรมบำบัด หัวข้อ "Self-Study Handout: Mata-Cognitive Evaluation" ใช้เวลา 3 ชม. เวลา 13.00-16.00 น. ของวันที่ 31 ส.ค. 2559

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทมากมายในการประะเมินและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการรู้คิดหรือความรู้ความเข้าใจ หรือ Cognitive Rehabilitation ในผู้รับบริการทุกเพศวัยที่มีความบกพร่องทางการรู้คิดหรือ Cognitive Impairment คลิกอ่านงานวิจัยเพิ่มเติมที่นี่ [Acknowledgment of Citation at http://ajot.aota.org]

จนปัจจุบันนักกิจกรรมบำบัดนำไปฟื้นคืนสุขภาวะกระบวนการรู้คิดได้หลากหลายในรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพปรับพฤติกรรมสุขภาวะรายบุคคลกับการสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มประชากร เช่น กระบวนการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะ [Acknowledgement of Citation at YOUTUBE.COM] และคลิกอ่านเพิ่มเติมที่บันทึกเรียนรู้หัวใจนักบำบัด จนถึงการออกแบบโปรแกรมการฝึกสมองเด็กด้วยทักษะการเขียน การออกแบบโปรแกรมการฝึกจำขณะทำงานสองอย่างพร้อมกันและการเพิ่มความสนใจในผู้ที่มีสมองบาดเจ็บ เป็นต้น

Cognitive Rehabilitation คือ กระบวนการเรียนรู้ซ้ำ (Relearning) ของความสามารถทางการรู้คิดเฉพาะด้าน ประกอบด้วย การซ่อมแซมหน้าที่ของสมองส่วนที่บกพร่อง หรือ Restoration กับ การใช้สื่อการเรียนรู้และปรับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตวิทยา หรือ Adaptation ผสมผสานกันในระดับการแสดงความสามารถทางการรู้คิดร่วมกับกาย ใจ สังคม หรือ Functional Approach

กรอบอ้างอิงที่นักกิจกรรมบำบัดนิยมใช้ คือ The Functional Model of Cognitive Rehabilitation ตั้งแต่ Coma Care จนถึง Independent Community โดยบูรณาการการรู้คิดหลายด้านหรือ Metacognition ขณะทำงานหลายขั้นตอน (Functional Tasks) เพื่อให้เกิดคุณภาพ/ประสิทธิผลของงานและประสิทธิภาพของคน ได้แก่ การแสดงบทบาททำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความหมาย ด้วยองค์ประกอบที่สมดุลของบุคลิกภาพ คุณค่า วัฒนธรรมพื้นฐาน ประสบการณ์ส่วนบุคคล และแรงจูงใจ เช่น ขณะเตรียมฝึกสหสัมพันธ์ของจิตใจกับร่างกายเพื่อสวมบทบาทตัวละครใดๆ เรากำลังตระหนักรู้ว่า "การแสดงนี้มีความหมายต่อผู้แสดงร่วมกัน/ผู้ชมละครอย่างไร มีความพึงพอใจอย่างไร และมีความแตกต่างจากบทบาทในชีวิตจริงของเราอย่างไร"

โดยกระบวนการประเมินทางกิจกรรมบำบัด เริ่มจากการวัดระดับการรู้คิดก่อนและหลังทำกิจกรรมบำบัด จากนั้นทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาในด้านการรู้คิด รวมทั้งการวางแผนเพิ่มความสามารถทางการรู้คิดสูงสุดของผู้รับบริการ โดยเน้นการคาดการณ์นำทักษะการรู้คิดไปประยุกต์ใช้ให้เป็นรูปธรรม (เรียนรู้ผ่านการลงมือทำกิจกรรมในสถานการณ์จริงและบริบทเหมาะสม) ในกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การศึกษา การใช้เวลาว่าง การนอนหลับพักผ่อน และการเป็นพลเมืองดีของสังคม

การประเมินการรู้คิดเบื้องต้น เช่น การใช้ MMSE หรือ Mini-Mental State Examination ร่วมกับ LOTCA หรือ Loewenstein Occupational Therapy Cognitive Assessment ต่อด้วยขั้นสูงแบบการประเมินปฏิสัมพันธ์พลวัติ หรือ Dynamic Interactional Assessment (DIA) [Acknowledgement of Citation at https://quizlet.com] เช่น การถามผู้รับบริการว่า "กำลังทำกิจกรรมอะไร คุณทำกิจกรรมในขั้นตอนนี้ไม่สำเร็จเพราะอะไร แล้วจะแก้ไขปัญหาให้ทำกิจกรรมนี้ได้สำเร็จอย่างไร เป็นต้น หรือบางครั้งอาจประเมินทักษะการบริหารจัดการต่างๆ หรือ Performance-based Measures of Executive Functioning เช่น การถามผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมที่ซับซ้อนและท้าทายมากขึ้นว่า "จะทำกิจกรรมนี้ได้หรือไม่ ทำได้อย่างไร" ตัวอย่างแบบประเมินของ Baum และคณะในปี 2008 ชื่อ EFPT หรือดาวน์โหลดได้ที่ Executive Function Performance Test ก็น่าสนใจในการศึกษาครับ [Acknowledgement of Citation at http://www.practicechangefellows.org]

สำหรับการฝึกทักษะการรู้คิดเชิงบูรณาการการบริหารจัดการกิจกรรมที่ซับซ้อนท้าทาย นั้น นักกิจกรรมบำบัดควรใช้เทคนิคชดเชยให้ผู้รับบริการรู้สึกทำได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น แม้จะไม่สมบูรณ์มากนัก ด้วยการบันทึกวิดีโอสะท้อนการเรียนรู้ การสอนให้ทำแต่ละขั้นตอนให้ทำได้เองด้วยความปลอดภัย (แต่เป็นขั้นตอนที่วิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วชัดเจน) การจัดสถานการณ์ให้ท้าทายแก้ปัญหาชีวิตให้ราบรื่น และการฝึกทักษะการรู้คิดในกิจวัตรประจำวัน โดยตั้งเป้าหมายชัดเจนพร้อมประเมินคุณภาพการแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงด้วยการวางแผน ลงมือทำ และตรวจสอบว่าทำได้จริง (Goal-Plan-Do-Check) เน้นการวิเคราะห์กิจกรรมร่วมกันระหว่างนักกิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการ แบบ Cognitive Orientation to Daily Occupational Performance หรือ CO-OP

เอกสารอ้างอิง

Lee SS, Powell NJ, Esdaile S. A functional model of cognitive rehabilitation in occupational therapy. Can J Occup Ther 2001;68(1):41-50.

Radomski MV, Latham CAT. Occupational therapy for physical dysfunction. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Wiliams & Wilkins; 2014.


หมายเลขบันทึก: 613076เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2016 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

-สวัสดีครับอาจารย์

-ที่บ้านไร่นำกิจกรรมการเกษตรมาช่วยบำบัดจิตใจด้วยขอรับ..

-ไม่มีใครที่ไม่รู้อะไรเลย และก็ไม่มีใครจะรู้ไปหมดทุกอย่าง..นะครับ

-เรียนรู้เพื่อแบ่งปันจากผู้มีจิตใจดี...ดังเช่น"ปุ๋ย(อัน)ประเสริฐ"ครับ

-ขอบคุณครับ


ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง ทุกชีวิตย่อมตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม ตามทำดี มีมิตรแท้ แลสุขเอย

ขอบพระคุณมากครับคุณภาณุพงษ์ จันทะพันธ์

ครับอาจารย์คิดช่วยผมหน่อยครับทำอย่างไร คนเป็นออทิสติกอย่างผมจะสุขโดยไม่เบื่อ

ยินดีและขอบคุณครับคุณ Mootee หากมีอะไรให้ช่วยสามารถติดต่ออีเมล์พี่ได้ครับ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท