​พัฒนาการศึกษาของบุคลากรสุขภาพ


ระบบการศึกษาของบุคลากรสุขภาพมีเป้าหมายเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทั้งมวล ไม่ใช่แค่ให้ได้นักวิชาชีพที่มีคุณภาพระดับสากล เป้าหมายหลักไม่ใช่คุณภาพเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่เพื่อการออกไปทำหน้าที่ในระบบสุขภาพของประเทศไทย ผมจำได้ว่า เมื่อ ๔๐ - ๕๐ ปีก่อนเราเถียงกันมาก ระหว่างพวกยึดมาตรฐานสากลกับพวกยึดผลประโยชน์ของสังคม

เวลานี้เราตกลงกันได้ ว่าต้องเอาผลประโยชน์สังคมเป็นเป้าหมายหลัก มาตรฐานสากลเป็นเป้ารอง

เพื่อให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่ประสานงานพัฒนาการศึกษาของบุคลากรสุขภาพ เราจึงตั้ง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพ ขึ้นมาทำหน้าที่นี้ทำงานมาสองปีครึ่ง สนองมติของสมัชชา สุขภาพแห่งชาติเฉพาะประเด็น ซึ่งลงมติเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ได้จัดการประชุมประจำปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ สองครั้งตามบันทึก , , , ,

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ มีการประชุม การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษา บุคลากรสุขภาพ (ศสช) โดยท่านเลขาธิการ (ศ. พญ. วณิชา ชื่นกองแก้ว) ได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุมอย่างเหมาะสม มาก และเนื่องจากผมได้รับเชิญให้กล่าวเปิด ผมจึงได้เตรียม ppt นี้ สำหรับไปชี้ให้เห็นว่า เป้าหมายที่แท้จริงคือสุขภาวะของคนไทย และแม้ว่าคณะผู้สนใจ ร่วมกันที่ไป ประชุม จะเน้นที่การศึกษา แต่ก็จะต้องดำเนินการเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาระบบสุขภาพ และการพัฒนาสุขภาวะของคนไทย

การประชุมในช่วงสายแบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม ตามกำหนดการประชุม ที่นี่ โดยผมเลือกไปฟังกลุ่ม DHS

การประชุมนี้ มีผู้แทนของ WHO และ JICA เข้าร่วมด้วย

หลังการนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และการอภิปราย ผมได้รับเชิญให้กล่าวสรุป จึงได้เสนอความ ประทับใจว่า ผลของการทำงานประสานงานในช่วงสองปีครึ่งเกิดผลชัดเจนมาก ในด้านการสร้าง awareness ต่อความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษาของบุคลากรสุขภาพ และได้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ในหลากหลายบริบท หลายองค์กร หลายวิชาชีพ หลายพื้นที่

ดังนั้น แผนยุทธศาสตร์ที่เราช่วยกันคิด จึงไม่น่าจะเป็นของ ศสช แต่น่าจะเป็นของประเทศไทย และเป็นของฝ่ายปฏิบัติ คือ สถาบัน วิชาชีพ และพื้นที่ โดย ศสช ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่าย หรือประสานงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา และการปฏิรูประบบสุขภาพ ระหว่างสถาบัน วิชาชีพ และพื้นที่

ประเด็นหนึ่งที่เห็นพ้องกันว่าต้องเพิ่มเข้ามา คือการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจ หรือสร้างการเรียนรู้ จากการปฏิบัติปฏิรูปการศึกษา ทั้งในระดับสถาบัน วิชาชีพ และพื้นที่ โดยที่ในการประชุม ศ. นพ. พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ได้ตั้งข้อสงสัยมากมาย ที่ผมมองว่าเป็นโจทย์วิจัยทั้งสิ้น และผมได้ยุให้ นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ดำเนินการตั้งโจทย์วิจัย และเสนอขอทุนวิจัยจาก วช.

การวิจัยอีกแบบหนึ่งคือ วิจัย mapping เพื่อเก็บข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งผมเห็นว่ามีการดำเนินการในบริบทอื่นอีกด้วย ได้แก่ การวิจัย University – Communiy Engagement ซึ่งรวมการเรียนการสอนที่ผูกพันกับสังคม การวิจัย 21st Century Learning เป็นต้น

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๙

download ppt นี้



กำหนดการประชุม


download กำหนดการประชุม


หมายเลขบันทึก: 612860เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2016 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท