การปฏิรูประบบงานวิจัยของประเทศไทย (ตอนที่ ๑๒)


มหาวิทยาลัยควรมีบทบาททำงานวิจัยในด้านต้นน้ำและกลางน้ำ เพื่อสร้างรากแก้วของนวัตกรรม แต่ร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้ภาคเอกชนมีบทบาทด้านปลายน้ำในการนำนวัตกรรมไปสร้างมูลค่าและธุรกิจ และร่วมกับภาครัฐและท้องถิ่นเพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์และบริการ

มหาวิทยาลัยไทยแลนด์ 4.0

ขอแสดงความชื่นชมยินดีที่มหาวิทยาลัย 27 แห่ง ตอบรับนโยบายและยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล และจะปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัยไทยแลนด์ 4.0 ด้วย คงมีหลายอย่างที่มหาวิทยาลัยจะต้องปฏิรูปเปลี่ยนแปลง เช่น

1. เปลี่ยนการเรียนการสอนแบบ lecture-based ที่ให้ผลสัมฤทธิ์น้อย เป็นรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะ project-based และ research-based teaching เพื่อให้นักศึกษาคิดเป็น ทำเป็น พูดเป็น แก้ปัญหาเป็น และสร้างนวัตกรรมเป็น

2. ปฏิรูประบบบริหารจัดการงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ มีงบประมาณและทุนวิจัยไปถึงนักวิจัยที่ทำงานจริงๆ

3. สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ หน่วย ศูนย์ สถาบันวิจัย เพิ่ม

4. เพิ่มสัดส่วนและจำนวนอาจารย์ที่จะทำงานวิจัย หากคิดแบบ full-time equivalent ให้มากกว่า 50% ของอาจารย์ทั้งหมด และผลักดันให้อาจารย์ทำงานวิจัยเป็นกลุ่มและสร้างกลุ่มวิจัยที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ

5. สร้างระบบนักวิจัยประจำที่ทำงานวิจัยเต็มเวลา (full-time professional researcher) และระบบผู้ช่วยวิจัย (research assistant) ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทำงานร่วมกับอาจารย์และช่วยอาจารย์ทำงานวิจัยและดูแลนักศึกษาทำงานวิจัย

6. สร้างระบบนักวิจัยหลังปริญญาเอก (post-doctoral research fellow) เพื่อทำงานร่วมกับอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ ฝึกการทำวิจัยเพิ่มและฝึกการบริหารจัดการกลุ่มวิจัย ซึ่งต่อไปอาจจะเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยที่ทำงานเต็มเวลา

7. เพิ่มสัดส่วนและจำนวนนักศึกษาบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและเอก) ให้มากขึ้น

8. เพิ่มความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน ภาครัฐและท้องถิ่น อาจจะทำในรูปแบบประชารัฐวิจัย

9. เพิ่มความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ เพื่อเร่งการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม

มหาวิทยาลัยควรมีบทบาททำงานวิจัยในด้านต้นน้ำและกลางน้ำ เพื่อสร้างรากแก้วของนวัตกรรม แต่ร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้ภาคเอกชนมีบทบาทด้านปลายน้ำในการนำนวัตกรรมไปสร้างมูลค่าและธุรกิจ และร่วมกับภาครัฐและท้องถิ่นเพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์และบริการ

หมายเลขบันทึก: 612701เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2016 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2016 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท