​มวลสารและการสร้างพระรอดมหาวัน (หินอัคนีเผา+แร่รัตนชาติ)


มวลสารและการสร้างพระรอด (หินอัคนีเผา+แร่รัตนชาติ)

***********************
หลังจากได้พระรอดเนื้อดำ (แบบหิน Basalt เป็นหลัก) มาหลายองค์ ที่ถือว่าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างดูยาก เพราะความเป็นสีดำ แต่ก็กลับดูมวลสารประกอบได้ง่าย โดยเฉพาะ กลุ่มแร่รัตนชาติ หรือ อัญญมณี ตระกูลแร่ Quartz ที่เป็นองค์ประกอบเข้ามา เช่น Amethyst (สีม่วง) Citrine (สีเหลืองส้ม) ผลึกหินเขี้ยวหนุมานธรรมดา ใสๆ (แบบโป่งขาม) Agate (หลากสี) และ Spinel (สีดำ) ฯลฯ ที่ยังคงอยู่ในพระรอดที่ผ่านไฟไม่แรงนัก


ลักษณะเม็ดอัญญมณีกึ่งมีค่าเหล่านี้ ทำให้เราสามารถเข้าใจ ระบบคิด ในการใช้มวลสารต่างๆ อุณหภูมิ และชุดความรู้ในการสร้างพระรอด เพิ่มเติมจากมวลสารพื้นฐาน

ดังที่เคยทบทวนไว้แล้วในเรื่องก่อนหน้านี้ว่า มวลสารพื้นฐาน น่าจะเป็น หินอัคนี ในกลุ่ม Basalt (สีดำ) Andesite (สีเขียว) Diorite (สีขาว) และ Pumice (สีน้ำตาลอมแดง) ที่มีการละลายตัวประสานกันจากความร้อนที่เผา โดยที่ยังรักษาโครงสร้างโมเลกุลของหินไว้ได้แบบหินอัคนี

(ที่แตกต่างจาก "ดินเผา" ที่เป็นการสลายตัวของโมเลกุลดินเหนียว จนกลายเป็นก้อนสนิมเหล็กมาเกาะกันอย่างหลวมๆ)

ดังนั้น เมื่อมีการผสมมวลสารพื้นฐานแล้ว ก็น่าจะผสมอัญญมณีเหล่านี้เข้าไปก่อนการหาสารเชื่อมเพื่อปั้นเป็นรูป สิ่งที่เป็นสารเชื่อมได้ดี ก็น่าจะเป็นดินเหนียว (ที่โมเลกุลน่าจะถูกทำลายและเปลี่ยนไปจากความร้อนสูง จนไม่เหลือให้เห็นในเนื้อ แต่ก็ยังเหลือบ้างในองค์ที่โดนไฟอ่อน เป็นสีแดงๆ ยุ่ยๆ)

สำหรับเทคนิคการเผา น่าจะใช้ความร้อนแบบสองระดับ เพื่อลดปริมาณการแตกหักลง เช่น การเผาที่ความร้อนต่ำให้เนื้อแห้งเสียก่อน แบบเผาอิฐ ที่ 400-500 องศา แล้วจึงเผาที่ความร้อนสูง 600-800 องศา เพื่อทำให้เนื้อแกร่ง (โดยอนุมานจากการละลายตัวของหินและแร่ในองค์พระเป็นหลัก)

องค์ไหนที่โดนความร้อนมาก ทั้งมวลสารพื้นฐานและแร่รัตนชาติ ก็จะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ที่มักจะมีฟอง ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดๆ แบบ "หมัดไฟ"

องค์ที่ได้รับความร้อนกลางๆ ก็จะประสานเนื้อหินได้ดี แต่เม็ดแร่รัตนชาติยังคงปรากฏชัดเจน

องค์ใดที่โดนความร้อนน้อย จะยังมีเนื้อสีแดงยุ่ยๆให้เห็น ที่สนับสนุนหลักการใช้ดินเหนียวเป็นตัวประสานในเบื้องต้น

ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับสัดส่วนของมวลสารพื้นฐานอีกด้วย
-------------------------------------------------
นี่คือข้อสรุปองค์ความรู้แบบสามเส้า (ก) จากการสืบค้นข้อมูล (ข) สนทนากับนักวิชาการด้านอัญญมณี และ (ค) นั่งส่องพระรอดเนื้อต่างๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 611780เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2016 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2016 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท